การวิเคราะห์และออกแบบระบบ


ความหมายของระบบ

ระบบ หมายถึง กลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และขึ้นต่อกัน โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ร่วมกันทำงานอย่างผสมผสานกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

ระบบงานทางคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วนด้วยกัน คือ

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

ซอฟต์แวร์ (Software)

บุคลากร (People ware)

ระบบที่ดี ควรมีระบบย่อยต่างๆ ที่มีความสมบูรณ์ในตัวแต่ละระบบย่อยจะมีการสื่อสารด้วยการส่งข่าวสารและส่งผลย้อนกลับ (Feedback) ระหว่างกัน รวมถึงการตรวจสอบ (Monitoring) เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการสู่เป้าหมาย (Goal) ที่ต้องการ

ประเภทของระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ระบบปิด (Closed system) ระบบปิดเป็นระบบที่อิสระจากสภาพแวดล้อมภายนอก มีลักษณะการทำงานที่ไม่ยุ่งกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ระบบปิด-เปิดหลอดไฟฟ้าอัตโนมัติตามถนน

2. ระบบเปิด (Open system) มีลักษณะการทำงานที่ตรงข้ามกับระบบปิด นั่นคือการให้สภาพแวดล้อมภายนอกมาเป็นตัวแปรในการกำหนดการทางานภายในของระบบ เช่น ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินที่จ่ายไฟฟ้าอัตโนมันติเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับหรือไฟฟ้าตก( รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล , พ.ศ.2552 , หน้า 5 )

ระบบสารสนเทศ

คือ กลุ่มของระบบงานที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาจัดการกับข้อมูลโดยการรวบรวม (Input) ประมวลผล (Process) ผลลัพธ์ (Output) เพื่อจัดเก็บและแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร


ชนิดของระบบสารสนเทศ

1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System : TPS) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำที่ต้องทำให้องค์การ เช่น การบันทึกยอดขายแต่ละวัน

2. ระบบจัดทารายงานเพื่อการจัดการ(Management Reporting System : MRS) จัดทำรายงานที่ช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ซึ่งข้อมูลในรายงานจะเป็นในลักษณะของการสรุปผลที่ได้จากข้อมูลต่างๆ

3. ระบบงานสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) สนับสนุนการทางานผู้บริหารระดับล่างและระดับกลางในการนาเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้าน และข้อมูลในอดีต เน้นความต้องการของบุคคลภายในองค์กรมากกว่าบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก

4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System : DSS) ตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร ด้วยการจัดทารายงานเพื่อให้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่างๆ ด้วยการสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา

5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนา สำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น

6. ระบบสารสนเทศสานักงาน (Office Information System : OIS) เป็นระบบสารสนเทศใน สำนักงานที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและเครือข่าย รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานออฟฟิศมาใช้ในสำนักงาน เช่น MS-Office

นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst : SA)

นักวิเคราะห์ระบบ คือ บุคคลที่ศึกษาปัญหาซับซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบและแยกแยะปัญหาเหล่านั้นอย่างมีหลักเกณฑ์ เป็นผู้ที่ประสานการติดต่อบุคคลต่างๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการ (Requirements) ในองค์การที่ประสบกับปัญหาการดำเนินงาน เพื่อทำการสร้างระบบใหม่


คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ

1. ประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม

2. มีความรู้ทางด้านธุรกิจ

3. มีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่าย

4. มีความรู้ทางด้านฐานข้อมูล

โปรแกรมเมอร์

โปรแกรมเมอร์ คือ คนที่ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมที่ทำให้เกิดระบบ ตามวัตถุประสงค์ของนักวิเคราะห์ระบบที่ได้วิเคราะห์และออกแบบมา

ความแตกต่างของนักววิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์

สรูปได้สั้นๆง่ายคือ นักวิเคราะห์ระบบ จะทำหน้าที่ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเดิม เก็บรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นก็วิเคราะห์และออกแบบระบบใหม่ ส่วน โปรแกรมเมอร์ ก็นำข้อมูลที่นักวิเคราห์ระบบเก็บรวบรวมมาเขียนเป็นโปรแกรมหรือตัวระบบ

หมายเลขบันทึก: 581069เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท