ความหมายของการจัดการความรู้


"ความรู้เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับองค์การ"


ความหมายของความรู้

วิจารณ์ พานิช (2548, หน้า 5) ได้อธิบายว่าความรู้เป็นสิ่งที่นำไปใช้ไม่หมดไม่สึกหรอ แต่จะยิ่งงอกเงยหรืองอกงามขึ้น ซึ่งเป็นสารสนเทศที่นาไปสู่การปฏิบัติ

ระดับความรู้มี 4 ประเภท

1.ข้อมูล

2.สารสนเทศ

3.ความรู้

4.ภูมิปัญญา

1.ข้อมูล

ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งยังเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลใด

2. สารสนเทศ

ข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้วด้วยวิธีการต่างๆ

3. ความรู้

ความรู้เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ เปรียบเทียบประกอบด้วยสาระ หลักการ และประสบการณ์

4. ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญา เป็นความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงานให้เกิดประโยชน์ บางครั้งเรียกว่า ปัญญาปฏิบัติ

ประเภทของความรู้ มี 2 ประเภท

1 ความรู้ที่อยู่ในตัวคน/ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ

2 ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฏี คู่มือต่างๆ

ระดับความรู้

ตามแนวคิดของ James Brain Quinn (อ้างอิงในสำนักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2548;16)แบ่งระดับความรู้เป็น 4 ระดับ

ระดับที่ 1 Know –what (รู้ว่าคืออะไร)

ระดับที่ 2 Know –how (รู้ว่าเป็นอย่างไร/รู้วิธีการ)

ระดับที่ 3 Know –why (รู้ว่าทาไม/รู้เหตุผล)

ระดับที่ 4 Care –why (ใส่ใจกับเหตุผล)

กระบวนการการสร้างความรู้ มี 7 ขั้นตอน

1 การบ่งชี้ความรู้ เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร

2 การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า

3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบ

4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5 การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก

6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน

7 การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่

สรุป สำหรับการจัดการความรู้นั้นนับว่าสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เราสามารถบริหารจัดการความรู้่ที่มีอยู่ในตนเองได้อย่างเหมาะสม ใช้ความรู้ที่มีอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และอักอย่างยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการพัฒนาองค์กรอีกด้วย


อ้างอิง

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กร และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ มิสเตอร์ก๊อปปี้.

บดินทร์ วิจารยณ์. (2547). การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

บูรชัย สิริมหาสาคร. (2550). การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.

วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, 2548

หมายเลขบันทึก: 581049เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2014 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2014 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท