เรียนรู้ด้วยคุณธรรม...ทำนอกห้องเรียน


สมัยดร.ป๊อปเรียนมัธยมสาธิตม.รามคำแหงก็รู้จัก "ความรู้คู่คุณธรรม" จนตอนนี้เป็นอาจารย์กิจกรรมบำบัดม.มหิดลก็ต้องเข้าใจการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียนและรู้จัก "เรียนรู้ด้วยคุณธรรม"

อาทิตย์นี้มีเหตุการณ์การสนทนาสองวาระที่จุดประกายให้ดร.ป๊อปต้องตื่นรู้มากขึ้นและนำมาร้อยเรียงในบันทึกนี้เพื่อเป็นตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหรือการเรียนรู้แบบลงมือทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริงนอกห้องเรียน (Active Learning) โดยผมฝันอยากให้เกิด "การวิจัยและพัฒนากิจกรรมบำบัดศึกษาเพื่อสังคมไทยอย่างเป็นระบบ"

ขอขอบพระคุณภาพที่อ้างอิงจาก Acknowledgement: http://mathsimulationtechnology.wordpress.com/2012...

ผมเองได้รับรู้ เรียนรู้ ตระหนักรู้ในการประยุกต์ใช้ Active Learning ตั้งแต่ไปเรียนจริงจังครบกระบวนการคิดด้วยจิตสังคม ณ ออสเตรเลียและลองผิดลองถูกกับการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ Go to Know จนเข้าใจ Knowledge Management & Translation จากการอ่านงานของพี่พิมพ์ใจ สุดสวัสดิ์ ต้นแบบนักกิจกรรมบำบัดไทยที่ทำงานเป็นระบบ ณ อเมริกา จนมาเรียนรู้ Neuro Linguistic Programming (NLP) และทำงานด้าน KM กับม.มหิดล จนถึงเข้าไปเรียนรู้กับท่านอาจารย์ประเวศ ท่านอาจารย์วิชัย ท่านอาจารย์สุวิทย์ ท่านอาจารย์โกมาตร และท่านปรมาจารย์ที่มีชื่อเสียงใน "การถ่ายทอดความรู้แบบจุดประกายความคิดด้วยใจและจิตวิญญาณ" ในกระบวนการเรียนรู้ของคศน.หรือเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะรุ่นใหม่นาน 1 ปีถึงตลอดชีวิต ณ ปัจจุบันขณะ

ทำให้ผมพยายามเรียนรู้นอกกรอบเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองสม่ำเสมอและคิดเป็นระบบว่า "ทำอย่างไรจะเป็นผู้จุดประกายคนรอบข้างให้มีการเรียนรู้ถึง "ชีวิตคืองาน งานคือชีวิต บันดาลสุข ด้วยการเรียนรู้ด้วยใจและจิตวิญญาณ - สร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความคิดของตนเองด้วยการลดอัตตา ใช้สติมาสร้างสรรค์ปัญหาเพื่อช่วยเหลือให้คนอื่นคิดเป็น ทำเป็น และช่วยเหลือคนอื่นต่อๆไป" ดังจะเห็นจากตัวอย่างการพัฒนา SCORE ให้อาจารย์กิจกรรมบำบัดม.มหิดลปรับกระบวนการสอนจากประสบการณ์ตรงและจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยคุณธรรม กับตัวอย่างการจุดประกายนศ.กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ที่เปลี่ยนบทบาทในการเรียนรู้ตามตารางสอนสู่การลงมือทำโครงงานเพื่อสังคมผ่านโอกาสที่ดีมากจาก SCB

ณ วันนี้ผมพยายามจะเรียนรู้กระบวนการที่จะพัฒนาแนวคิดทางกิจกรรมบำบัดศึกษาแบบนอกกรอบ ลดความเป็นวิชาชีพเพื่อทำงานกับวิชาชีพอื่นๆ เพื่อสุขภาวะของประชาชน และประกอบโรคศิลปะให้ประชาชนมีความสุขในการใช้ชีวิตเต็มความสามารถสูงสุด จึงออกมาเป็นแนวคิดกิจกรรมบำบัดศึกษาที่เรียกสั้นๆว่า SCORE ย่อมาจาก ประเภทของทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning Skills) ที่นักกิจกรรมบำบัดเป็นวิชาชีพการประกอบโรคศิลป์ที่มีทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกมากมาย แต่ต้องใช้อย่างมีสติและเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตและการทำงานให้บริการด้วยใจจริงๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งขอบคุณอ.เอกที่เป็นคู่คิดจนกระทั่งจะนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลับไปที่สถาบันแม่ของกิจกรรมบำบัดที่ม.เชียงใหม่

S คือ นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการเพื่อทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันขณะอย่างมีศิลปะของความสนใจ ความตั้งใจ และความเข้าใจว่าจะดูแลตนเอง ทำงาน เรียนรู้ ใช้เวลาว่าง นอนหลับพักผ่อน และมีส่วนร่วมเป็นพลเมืองดีของสังคม เช่น ผู้รับบริการอยากมีความสุขด้วยการเพิ่มความสามารถสูงสุด (ศักยภาพ) ในกิจกรรมอะไรและได้อย่างไร มีเหตุมีผลอย่างไร มีความมั่นใจในศักยภาพอย่างไร และมีความรู้ในผลกระทบต่อศักยภาพจากภาวะที่เจ็บป่วย/ได้รับการวินิจฉัยโรค/บกพร่องทางร่างกาย-จิตสังคม/และประสบการณ์ที่เป็นทุกข์/ความต้องการอยากเรียนรู้สุขภาวะ

ถ้าในกรณี S ตอบโจทย์ได้ไม่ชัดเจน C คือ นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์ปัจจัยของผู้รับบริการภายใต้เงื่อนไขของกรอบอ้างอิง-แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไร้ชีวิต เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ-สังคมที่ส่งเสริมทักษะการดูแลตนเองและก่อให้เกิดความร่วมมือกับครอบครัวและผู้ดูแลในการปรับความรู้สึกที่่อยากทำกิจกรรมที่ท้าทาย ไม่ซ้ำซาก ไม่น่าเบื่อ และเสริมสร้างชีวิตที่ลึกซึ้งมากขึ้น เช่น คุณค่า ความหมาย ความเป็นได้ ความได้เปรียบ ความพร้อม ความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ ฯลฯ

ถ้าในกรณี S กับ C ตอบโจทย์ได้ไม่ชัดเจน O คือ นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์วิธีการใช้สื่อบำบัดทางกิจกรรมบำบัดโดยเฉพาะ "ฝึกตัวเราหรือผู้อื่นให้เป็นผู้นำ-ต้นแบบของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่มีความสุข" ตลอดจนสื่อบำบัดด้วยการวิเคราะห์มิติของการทำกิจกรรม การสร้างสัมพันธภาพ การปรับสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย และกระบวนการสอนเพื่อเกิดการเรียนรู้อย่างยั้งยืน โดยตั้งเป้าหมายในการเพิ่มผลลัพธ์ในระดับทักษะชีวิตต่างๆที่ทำให้เกิดศักยภาพของมนุษย์ ได้แก่ ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะการรับความรู้สึก ทักษะการรับรู้และการรู้คิด (ความคิดความเข้าใจ) ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการหยั่งรู้-ควบคุมอารมณ์ (จิตวิญญาณ) ทักษะการเข้าสังคม ทักษะการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ทักษะการจัดการตนเอง (เวลา-พลังงาน-ความล้า-ความเครียด-ความกลัว-ความเศร้า) ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการเป็นผู้นำ และทักษะการเป็นพลเมืองดี

ถ้าในกรณี S, C กับ O ตอบโจทย์ได้ไม่ชัดเจน R คือ นักกิจกรรมบำบัดสร้างสรรค์โปรแกรมการฝึกปฏิบัติที่พอเหมาะหรือเหมาะสมต่อคุณลักษณะการแสดงความสามารถหรือรูปแบบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเฉพาะรายบุคคล เช่น ผู้รับบริการมีความเชื่อและความชอบในใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหวมากกว่าทำกิจกรรมที่เพิ่มทักษะการเข้าสังคม ผู้รับบริการมีนิสัยไม่ชอบทำกิจกรรมการเรียนรู้ในตอนเช้าแต่ชอบใช้เวลาตอนเช้ากับกิจกรรมพักผ่อน-ไม่ใช้แรง เป็นต้น

สุดท้ายถ้าในกรณี S, C, O กับ R ตอบโจทย์ได้ไม่ชัดเจน E คือ นักกิจกรรมบำบัดวางแผนการให้บริการตามเหตุผลทางคลินิกที่น่าจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยการปรับบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดความสุขแบบคงไว้หรือเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้เล็กน้อยในระยะยาว เช่น การเพิ่มโอกาสให้ได้รับสิทธิผู้พิการและเพิ่มการประกอบอาชีพแบบได้รับการช่วยเหลือทางระบบสวัสดิการสังคมและทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ (Supported Employment) การเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในระบบบ้านเรียน/การศึกษาพิเศษ/การเรียนร่วม การเพิ่มความเชื่อมั่นในสมรรถนะของครอบครัวและผู้ดูแลในการอยู่ได้อย่างมีสุขภาวะระยะยาวในชุมชน เป็นต้น

จะเห็นว่า นักกิจกรรมบำบัดควรฝึกฝนการใช้ SCORE อย่างมีศิลปะและพยายามดึงประสบการณ์ในการใช้กิจกรรมบำบัดรวมกับศาสตร์ด้านมานุษยวิทยากับสังคมวิทยากับตัวเอง คนที่เรารัก และผู้รับบริการที่หลากหลาย มาถ่ายทอดนักศึกษากิจกรรมบำบัดอย่างมีชีวิตชีวาให้จงได้ด้วยเทคนิคต่างๆ ของ Active Learning ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่หล่อหลอมคุณธรรมจริยธรรมมาตั้งแต่เกิด

และภาคการศึกษาที่ผ่านมาอ.แอนกับผมได้รับทุนจาก G2K และสสส. ในการสร้างชุมชนนักปฏิบัติกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาวะรวม 2 ปีและบูรณาการกับรายวิชากิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิตและการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ... จนวันหนึ่งผมมองไปที่ป้ายประชาสัมพันธ์ของโครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ของ SCB ก็ปิ๊งไอเดียว่า "ถึงเวลาแล้วสำหรับนศ.กิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 ที่ควรฝึกทักษะชีวิตแห่งการเรียนรู้เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมไทยให้เป็นต้นแบบที่ดี" และนี่คือผลลัพธ์ที่ดร.ป๊อปมีความภาคภูมิใจและยังคงจุดประกายความคิดที่ดีและสร้างสรรค์การกระทำและการสื่อสารที่ดีในการช่วยเหลือเด็กสายตาเลือนรางและครอบครัวให้เป็นระบบในสังคมไทยให้จงได้ และภาวนาขอให้นศ.กิจกรรมบำบัดทีมนี้ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศด้วยเถิดครับ

ปล.ศึกษารูปแบบโครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ได้เพิ่มเติมที่ http://www.scbchallenge.com/inspiration/

หมายเลขบันทึก: 580875เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2014 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2014 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่งกับพี่นงนาท

มาชื่นชมและให้กำลังใจคนทำงานเพื่อสร้างสรรค์สังคมครับอาจารย์ สาธุ ๆ ๆ

แนวทางนี้ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดค่ะ
  • การเปลี่ยนแปลงความคิดของตนเองด้วยการลดอัตตา
  • ใช้สติมาสร้างสรรค์ปัญหาเพื่อช่วยเหลือให้คนอื่นคิดเป็น ทำเป็น และช่วยเหลือคนอื่นต่อๆไป
  • เห็นด้วยทุกประการ และทุกอาชีพควรตระหนัก. การเรียนรู้คู่คุณธรรมค่ะ



ตามมาเชียร์

ขอให้ผ่านไปได้ด้วยดีครับ

มีโครงการดีทั้งนั้นเลยนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท