รายงานการวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษา นางอุมาภรณ์ ตุงตระกูล

โรงเรียน บ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง)

ปีที่พิมพ์ 2557

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนจะต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้พูด ฟัง อ่าน และเขียนจึงจะช่วยให้เกิดมีความเข้าใจอย่างชัดเจน แต่บางเนื้อหายากต่อการเข้าใจของนักเรียน และมีเวลาเรียนที่จำกัด ทำให้ผู้เรียนบางส่วนเรียนไม่ทันเวลา จึงจำเป็นต้องนำเอาสื่อบทเรียนสำเร็จรูปเข้ามาช่วยสอน เพื่อใช้ในการแสวงหาความรู้สำหรับนักเรียน หากผู้เรียน มีพื้นฐานดีก็จะช่วยให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ให้เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 13) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 5) เพื่อศึกษาความคงทนในความรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3หลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ทำการเลือก โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน โดยได้เลือกนักเรียน รวม 25 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ สถิติ t – test แบบ Dependent ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.41/81.73 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ชนิดของคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปรากฏว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นหลังการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

3. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6583 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.83

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.33 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด

5. ความคงทนในความรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3หลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ ปรากฏว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์เพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าหลังการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ สามารถจดจำสิ่งที่เรียนผ่านไปได้เป็นอย่างดี มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 E) ผสมผสานกับกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชนิดของคำ…ทำหลายหน้าที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้มีความคงทนในการเรียนรู้ จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำรูปแบบนี้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 580733เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2014 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท