รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้ศึกษา นางอุมาภรณ์ ตุงตระกูล

โรงเรียน บ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง)

ปีที่พิมพ์ 2557

บทคัดย่อ

ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก การอ่านและการเขียนเป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้อย่างถูกต้อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยเป็นนวัตกรรมประเภทหนึ่งที่เหมาะสำหรับฝึกเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาไทยได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะพัฒนาด้านการอ่านและการเขียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ให้เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้ทำการเลือก โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน โดยได้เลือกนักเรียน รวม 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ t – test แบบ Dependent ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า

1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.13/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2. คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปรากฏว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6827 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.27

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตะกุย (ค้ำคูณบำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด

โดยสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยมีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะในด้านการอ่านและการเขียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น







ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท