สัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ"การค้าเสรีไทย-ตุรกี


วันนี้ (๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) เข้าร่วมงานรับฟังความเห็นสาธารณะ"การค้าเสรีไทย-ตุรกี :ผลกระทบและนัยสำคัญต่อไทย ตามจดหมายเชิญจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง นางไพรินทร์ ศรีศุภวินิจ

สืบเนื่องจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค) จัดทำโครงการศึกษาเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับตุรกีซึ่งส่วนหนึ่งของโครงการฯคือ การจัดสัมมนารับฟังความเห็นสาธารณะ เพื่อให้ผู้แทนภาครัฐ รวมถึงภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสรับทราบรวมถึงแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ เสนอแนะข้อคิดเห็นในด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจในตลาดตุรกี
กำหนดการ:
กล่าวเปิดงานโดยตัวแทนของกรมเจรจาการค้า
นำเสนอผลการศึกษา "การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับตุรกี : ศักยภาพ โอกาส และความท้าทาย โดย ดร.อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์ ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เอกสารนำเสนอ ๓๙ slides บทสรุป
๑.FTA ไทย-ตุรกี เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งจากมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นและการเข้าถึงตลาดใหม่ผ่านประเทศคู่เจรจา
๒.ผลกระทบในระดับมหภาคเป็นเชิงบวกสำหรับไทยมากกว่า แม้ไม่มาก
๓.บทบาทของสหภาพยุโรปไม่ได้ส่งผลต่อ FTA ไทย-ตุรกีโดยตรง แต่ FTA ไทย-EU มีผลกระทบต่อไทยมากกว่า
๔.ผลกระทบรายสาขาต้องดูประกอบกันหลายด้าน สินค้าที่มีศักยภาพของไทยคือ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางและผลิตภัณฑ์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ ในขณะที่สินค้าอ่อนไหวของไทยคือ พรม สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แต่ข้อมูลการค้าอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเนื่องจากบางสาขาเป็นการตั้งฐานผลิต
๕.ผลกระทบจากการศึกษาความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่า การแข่งขันเพิ่มขึ้นในทุกกิจกรรมของการผลิต ถ้าหากความสามารถเท่ากันก็จะเป็นการแข่งขันโดยตรง ถ้าความสามารถต่างกันอย่างชัดเจน ก็จะเกิดการส่งเสริมกัน แต่เป็นการส่งเสริมในกิจกรรมอื่นๆในการผลิต ไม่ใช่กิจกรรมเดียวกัน
๖.ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือสาขาที่มีความสามารถในการแข่งขันน้อยมีความจำเป็น แต่ละสาขามีทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจไทย
วิจารณืการนำเสนอโดย อ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลังจากพักทานของว่างดื่มชากาแฟ เป็นการนำเสนอผลการศึกษา "การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทย-ตุรกี : ประสบการณ์และนัยสำคัญต่อประเทศไทย" โดย นายวรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์ นักวิจัย สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง วิจารณ์โดย ดร.รัชดา เจียสกุล หุ้นส่วนและผู้อำนวยการ กลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจและธุรกิจ บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) ช่วงบ่ายเป็นการอภิปรายในหัวข้อ "ผลกระทบ และนัยสำคัญต่อไทยจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับตุรกี"โดยผู้แทนจาก ภาคธุรกิจทั้งคนไทยและคนตุรกี
ขอชื่นชมผู้จัดงานทำได้ดีมาก เป็นวิจัยที่ดี ได้รับการชมจากผู้วิจารณ์ทั้งสองท่าน สำหรับผมประทับใจผู้วิจารณ์ทั้ง ๒ ท่าน ได้แก่ อ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม และ ดร.รัชดา เจียสกุล เสียดายที่ลืมเอากล้องถ่ายรูปไป ใช้มือถือถ่ายภาพ แต่ภาพออกมาไม่ดีแม้นแต่ภาพเดียว
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท
๑๘ พ.ย.๒๕๕๗



ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ ..... ตอนนี้บ้านเรา การส่งออก กำลังแย่ นะคะ

แย่ไปหมดทุกอย่างครับ ถ้ากลางปี 2558 ยังไม่ดีขึ้น คงจะลำบากกันไปตามๆกัน แต่ถ้าทุกอย่างเข้ารูปเข้าลอย จะไปเร็วมากครับ อยู่กับว่าช่วยนี้ใครจะปรับกลยุทธ์ได้เหมาะสมแค่ไหน การเตรียมพร้อมเรื่องคน สำคัญมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท