AAR4


บันทึก AAR ครั้งที่ 4

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ดร. อดิศร เนาวนนท์

โดย นางสาวธันยพร พงศ์จันทร์ รหัสนักศึกษา 57D0103108 ปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง 4mat

สิ่งที่คาดหวัง

นำความรู้เรื่อง 4 Mat มาใช้ในด้านหลักสูตรและการสอนและใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม จากท่าน ดร. ประพันธ์ศิริ คือ

รูปแบบการสอนแบบ4 mat แมคคาร์ธี (Mc Carthy) ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของคอล์ม (Kolb) ที่ได้เสนอแนวความคิดเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ 2 มิติ คือ การรับรู้ (perception) และกระบวนการจัดการข้อมูล (processing)

การรับรู้ของบุคคลอาจเกิดจากประสบการณ์ตรง เป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูล คือ การลงมือปฏิบัติ ในขณะที่บางคนเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และนำข้อมูลนั้นมาคิดอย่างไตร่ตรอง

แมคคาร์ธีสามารถแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ ดังนี้

1) ผู้เรียนที่ถนัดการเรียนรู้โดยจินตนาการ (Imaginative Learners)

2) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม นำกระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง หรือเรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners)

3) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์แล้วผ่านกระบวนการลงมือทำหรือที่เรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners)

4) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนำสู่ ลักษณะการพัฒนารูปแบบ

แมคคาร์ธี และคณะ นำแนวคิดของคอล์ม มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ

- ผู้เรียนแบบที่ 1 (Imaginative Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์แบบรูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ "ทำไม" (Why?)

- ผู้เรียนแบบที่ 2 (Analytic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ "อะไร" (What ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 3 (Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ มีความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้ว นำสู่การลงมือปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ "อย่างไร" (How ?)

- ผู้เรียนแบบที่ 4 (Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง จากนั้นเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ "ถ้า" (If ?)

จากลักษณะของผู้เรียนทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น Morris และ Mc Cathy ได้ นำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ โฟร์แม็ทซิสเต็ม โดยจัดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็ม ที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหาทั้ง 8 ด้าน

แบ่งขั้นตอนการเรียนรู้ออกเป็น8ขั้นตอน คือ

1. สร้างประสบการณ์เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (ขวา)

2. วิเคราะห์ประสบการณ์กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ (ซ้าย)

3. ปรับปรุงประสบการณ์ให้เป็นความคิดรวบยอด (ขวา)

4. พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล หาองค์ความรู้ใหม่ๆ (ซ้าย)

5. ทำตามแนวคิด (ซ้าย)

6. สร้างชิ้นงานตามความถนัดความสนใจ (ขวา)

7. วิเคราะห์ผลนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ (ซ้าย)

8. เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น (ขวา)

ในการจัดการเรียนสอนแบบ 4 mat ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่เป็น โค้ช

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

จากการเรียนเรื่อง 4 MAT สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยการนำมาปรับแผนการเรียนการสอนสำหรับเนื้อหาที่เหมาะกับรูปแบบการสอน 4 MAT

คำสำคัญ (Tags): #4 matt
หมายเลขบันทึก: 580503เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2014 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2014 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท