บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2 เรื่อง ระบบการศึกษาของประเทศต่างๆ


สิ่งที่คาดหวังในการเรียนครั้งนี้

ในการเรียนครั้งนี้ข้าพเจ้าจะได้รู้ความหมายของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงและสามารถจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ และเข้าใจเนื้อหาลึกซึ้งขึ้น

องค์ความรู้ที่ได้ศึกษามา

ความหมายของคำศัพท์ดังต่อไปนี้

สังคม หมายถึง คนที่จำนวนมากพอสมควรที่อยู่ร่วมกันในอาณาบริเวณเดียวกัน มีความสัมพันธ์กันตามวัฒนธรรม และตามวิถีชีวิตที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีระเบียบและกฎเกณฑ์ร่วมกัน

ชุมชน หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่ร่วมกัน ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง มีความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ติดต่อกัน สามารถดำรงชีวิตทางสังคม และอยู่ร่วมกันโดยคนในชุมชนจะมีการปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในลักษณะที่คนส่วนใหญ่ต้องการ

การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการพัฒนาคนที่มุ่งประโยชน์ของคนเป็นหลัก เน้นกระบวนการคิด และปฏิบัติ โดยเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ ผ่านผู้รู้ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

สังคมแห่งการเรียนรู้ หมายถึง ลักษณะของหน่วยงานหรือชุมชนที่ดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆเรื่องพร้อมกัน เกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ บำรุงรักษา ปกป้อง ส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน สืบสาน พัฒนา เผยแพร่และปลูกจิตสำนึก ให้แก่สมาชิก ผ่านผู้รู้ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งทำให้สมาชิก สามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งภายใน และภายนอก ตลอดจนใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการดำรงชีวิตให้มีความเหมาะสมกับสภาพ

บรรยากาศในชั้นเรียน

วันนี้ได้ไปฟังการเสวนาเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาในประเทศอาเซียน บรรยากาศในในการเสวนาน่าสนใจมาก เป็นบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะเราได้ฟังมุมมองการจัดการศึกษาจากหลายๆประเทศ ซึ่งบรรยากาศแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนตรงที่ว่า การฟังเสวนานี้ จะมีทีมงานที่มาอภิปรายโต้ตอบให้ผู้ฟังได้ฟัง โดยที่ผู้ฟังไม่ได้ร่วมอภิปราย แต่ในห้องเรียนจะเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนโดยตัวผู้ฟังกับผู้บรรยาย

ความรู้ที่ได้จากการเรียนวันนี้

ได้ความรู้เกี่ยวกับกับการศึกษาในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และสิงคโปร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine Education)

เป็นที่รู้กันดีว่า ประเทศฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้เองที่เป็นสาเหตุให้ชาวฟิลิปปินส์สามารถพูด และใช้ภาษาอังกฤษได้ดี สมัยก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานของฟิลิปปินส์นั้นถึงแค่อายุ 10 ปี ต่อมารัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ปรับเปลี่ยนให้การศึกษาขั้นพื้นฐานถึงอายุ 12 ปี สาเหตุที่ปรับเนื่องมาจาก รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ในขณะที่ปัจจุบันนี้เป็นโลกแห่งการแข่งขัน ผู้คนมีการแข่งขันกันสูง ซึ่งหลักสูตรที่ใช้คือ K 12 Program

K 12 Program คือการศึกษาตั้งแต่ Kindergarten to 12 years old

-Kindergarten ระดับอนุบาล 1 ปี อายุ (5 ขวบ)

-Primary Education ระดับประถมศึกษา 6 ปี (อายุ 6-11 ปี)

-Junior high school ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี (อายุ 12-15 ปี)

-Senior high school ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี (อายุ 16-17 ปี)

ระดับอนุบาลจะเน้นเรียนเตรียมความพร้อม เรื่องที่เรียน ได้แก่ alphabet, numbers, shapes, color โดยใช้ game, song and dance ด้วย mother tongue

Grade 1 เน้นการพูดอย่างคล่องแคล่ว จะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ และ Philippinoเมื่อเรียนจบ Grade 1 จะสามารถอ่านภาษาแม่ของตนเอง และรู้ภาษาอังกฤษด้วย

Grade 4-6 และ ระดับ Junior high school จะใช้ English และ Phiplippino ในการจัดการเรียนการสอน

ระดับ Senior high school จะเรียน 7 วิชาภายใต้หลักสูตรแกนกลาง ได้แก่ Languages, Literature, Communication, Mathematic s, Philosophy, National Science และ Social

วุฒิการศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จะได้รับวุฒิบัตร National Certificate level 1 หรือ NC 1

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะได้รับวุฒิบัตร National Certificate level 2 หรือ NC 2

ระบบการศึกษาประเทศเวียดนาม

เวียดนามมีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี คือ อนุบาล ถึง ป. 6 มีการจัดการเรียนการสอนที่มีครูประจำชั้นสอนทุกวิชา ครูสอนแบบบรรยาย วิชาหลักๆที่เรียนคือ คณิตพื้นฐาน และ ภาษาเวียดนาม ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจะแบ่งผู้เรียนตามความสามารถ นักเรียนจะได้เรียนทุกวิชา แต่แบ่งเป็นสาย

เวลาเรียน

เวียดนามจะแบ่งเรียนช่วงเช้าหรือบ่ายเท่านั้น ให้เรียนช่วงใดช่วงหนึ่ง แค่ครึ่งวัน

ช่วงเช้าเริ่ม 07.00-11.30 ฤดูหนาวจะเข้าสายกว่าปกติ 15 นาที

ช่วงบ่ายเริ่ม13.00- 17.30 ฤดูหนาวจะเข้าเร็วกว่าปกติ 15 นาที

เรียนวันจันทร์ ถึง วันเสาร์ โดยเรียนวันละ 5 วิชา

การตัดเกรด

ถ้านักเรียนไม่ผ่านวิชาใดวิชาหนึ่งจะต้องเรียนซ้ำ และลงเรียนใหม่ทุกวิชา

กิจกรรม

1. ร้องเพลงชาติ ก่อนเรียนในเช้าวันจันทร์ หรือหลังเลิกเรียนวันจันทร์

2. ทบทวนวิชา ทบทวนทุกวันจันทร์ หลังเลิกเรียน

ระบบการศึกษาของประเทศกัมพูชา

สมัยก่อนกัมพูชาไม่มีโรงเรียน จะได้ไปเรียนที่วัด ซึ่ง ได้เรียนเฉพาะผู้ชาย ผู้หญิงจะได้อยู่บ้าน ไม่ได้เรียนหนังสือ กัมพูชามีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น 6+3+3 หรือ 12 ปี นั่นเอง มีการจัดการศึกษาอยู่ 4ระดับ ดังนี้

1. ชั้นอนุบาล Pre-school education (อายุ 3-5 ปี)

2. ชั้นประถมศึกษา Primary school education (อายุ 6-11 ปี)

3. ชั้น ม.ต้น- ม.ปลาย Secondary school education (อายุ 12-17 ปี)

4. ระดับมหาวิทยาลัย Higher education

มีโรงเรียนอยู่ 2 ประเภท

1. Private School คือ โรงเรียนเอกชน

2. Public School คือ โรงเรียนรัฐบาล

กิจกรรม

-เคารพธงชาติเวลา 07.00 และเวลา 17.00

เวลาเรียน

-ระดับอนุบาลเรียนตั้งแต่ 07.00-10.00

-ระดับประถมศึกษาเรียนตั้งแต่ 07.00-11.00

-ระดับมัธยมศึกษาเรียนตั้งแต่ 07.00-11.00

-ระดับมหาวิทยาลัยเรียนตั้งแต่ บ่าย 2โมง ถึง 4โมงเย็น

ระบบการศึกษาประเทศสิงคโปร์

เนื่องจากประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็ก ทรัพยากรในประเทศมีน้อย รัฐบาลสิงคโปร์จึงเห็นความสำคัญในทรัพยากรมนุษย์ จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาทัพยากรมนุษย์โดยการศึกษา

สิงคโปร์จะเปิดเทอม และเริ่มเรียนในวันที่ 2 มกราคมของทุกปี จะเรียน 4 เทอม ให้เวลาในการเรียนมาก จะมีวันหยุดน้อย จัดการศึกษาอยู่ 4 ระดับ ได้แก่

- Kindergarten 1and 2 (อายุ 5-6 ปี) จะเรียนครึ่งวันเช้า

-Primary 1-6 (อายุ 7-12 ปี) เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อเรียนจบระดับ Primary 6 นักเรียนจะต้องสอบเพื่อเรียนต่อในระดับ Secondary สิ่งที่สอบได้แก่ English, Math, Science and mother tongue เมื่อสอบผ่านจะสามารถเรียนต่อได้

- Secondary 1-5 (อายุ 13-17 ปี) แบ่งเป็น 2 สาย ได้แก่

1. Special stream (1-4)

2.Normal stream (1-5)

ทั้งสองสายนี้จะเรียนทั้งด้านวิชาการและทักษะ สาเหตุที่แบ่งเป็นสายเพราะว่า จะเป็นการชี้ชัดเจนเลยว่าเรียนจบแต่ละสายไปแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไรในอนาคต

-ระดับมหาวิทยาลัย

สิ่งที่ทำให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จในด้านการเรียน

1. รัฐบาลสนับสนุนและเห็นความสำคัญของการศึกษา

2. มีการปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม

3. ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองเอาใจใส่ลูกหลาน และกระตุ้นให้ลูกหลานตั้งใจเรียนจนประสบความสำเร็จ เช่น

-ติวหนังสือให้ลูกหลานที่บ้าน หรือส่งให้ลูกหานไปเรียนเพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชา

-ให้ลูกหลานได้ทำแบบฝึกหัดเยอะๆ หาแบบฝึกหัดมาให้ลูกหลานได้ทำเพิ่มเติม

-ใส่ใจลูกหลานของตนเองอยู่เป็นประจำ เมื่อลูกหลานกลับจากโรงเรียนก็ขอดูการบ้าน ขอดูสิ่งที่ลูกหลานได้เรียนในแต่ละวัน

การวัดและประเมินผล

จะมีการประเมินย่อยหลายๆรอบ อาจจะประเมินจากงานที่ทำ การสอบย่อย การบ้าน แบบฝึกหัด โครงงาน เป็นต้น

ภาษาที่ใช้เรียน คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาแม่ ได้แก่ Chinese, Malay and Tamil เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 580049เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท