บันทึก After Action Review (AAR) ครั้งที่ 2


บันทึก After Action Review (AAR) ครั้งที่ 2

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดยนายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่ 9 สิงหาคม 2557

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

เรื่อง Flip Classroom ( ห้องเรียนกลับทาง )

สรุปความรู้ที่ได้รับ

Flip Classroom ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนของครู จากบรรยายหน้าชั้น หรือเป็น

ครูสอน ไปเป็นครูฝึก ฝึกการทำแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมอื่นในชั้นเรียนให้แก่ศิษย์เป็นรายคน หรืออาจเรียกว่า เป็นครูติวเตอร์ วิธีเรียนรู้แบบกลับทาง คือเรียนวิชาที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน หรือรับถ่ายทอดความรู้ที่บ้าน แล้วมาสร้างความรู้ต่อยอดจากวิชาที่รับถ่ายทอดมา ให้เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับชีวิต ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลัง เกิดทักษะ ที่เรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง เริ่มจากการทำงานในหน้าที่ครูสอนหนังสือ Flip Your Classroom : Reach Every Student in Every Class Every Day บอกเราว่า ห้องเรียนกลับทางมีกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๕ ปี มาแล้ว เกิดขึ้นจากจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อศิษย์ของครูบ้านนอกในสหรัฐอเมริกา ๒ คน คือJonathan Bergman และ Aaron Sams ที่ต้องการช่วยนักเรียนที่มีปัญหาตามชั้นเรียนไม่ทัน เพราะต้องขาดเรียนไปเล่นกีฬาหรือไปทำกิจกรรม หรือเพราะเขาเรียนรู้ได้ช้าICT ช่วยให้ครูทำวิดีโอสอนวิชาได้โดยง่าย และเอาไปแขวนไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ฟรี ให้ศิษย์ที่ขาดเรียนเข้าไปเรียนได้ ศิษย์ที่เรียนช้าก็เข้าไปทบทวนได้อีก ไม่ต้องพึ่งการจดผิดๆ ถูกๆ ตกๆ หล่นๆ อีกต่อไป ครูก็สบาย ไม่ต้องสอนซ้ำแก่เด็กที่ขาดเรียนไปทำกิจกรรมแค่คุณค่าของวิดีโอบทเรียนที่แขวนไว้บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น มันนำไปสู่การกลับทางการเรียนรู้ของศิษย์

การนำไปใช้ประโยชน์

มีจุดเน้นที่สำคัญ คือChild Centered คือ "ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ"ครูจึงต้องสอนแต่สิ่งที่สำคัญ แล้วฝึกให้เด็กสามารถไปต่อยอดองค์ความรู้เองได้ เปลี่ยนเป้าหมายจากครูเป็นหลัก ให้เป็นนักเรียนเป็นหลัก โดยครูปรับบทบาทเป็นCoachหรือ Facilitator เพื่อให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบActive learning สอนเพื่อให้เด็กเรียนแล้วสนุก เล่นก็ได้ความรู้

- การใช้โครงงานเป็นฐาน โดยใช้ Post-it Technic นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้เด็กได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ก่อนโยงเข้าสู่บทเรียน ฝึกให้เด็กกำหนดปัญหา โดยต้องใช้ทักษะหลายอย่างในการเรียนรู้จากกิจกรรมนี้ ทั้งเรื่องการจำแนกแยกแยะ การวิเคราะห์ การให้เหตุผล จัดกลุ่มข้อมูล การนำเสนอ การทำงานเป็นทีม เป็นต้น

- กิจกรรม "Briefing" การสรุปใจความจากสิ่งที่อ่าน เช่น การให้ผู้เรียนเลือกอ่านบทความใน Blog หมวดหมู่หลักสูตรและการสอน การให้ผู้เรียนได้เลือกเรื่องที่อ่าน แล้วเสนอชื่อเรื่องที่จะอ่านผ่าน Facebook โดยมีการสื่อสารผ่านช่องทางนี้ตลอดสัปดาห์นอกชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีที่ปรึกษาและไม่หลงประเด็นในการสรุปใจความซึ่งผู้เรียนจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมเชิงรุกในการค้นหาความหมายด้วยตนเองและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของตนเองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นครูได้ประสบการณ์ตรงจากการเรียนในรูปแบบนี้ เขาจะได้เกิดแรงบันดาลใจ และนำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียน

- การเรียนการสอนแบบ Jigsaw model ในชั้นเรียนจะมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ระดมสมองเพื่อช่วยกันหาช่องทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ครูผูกเรื่องราวเอาไว้ และครูจัดผู้เรียนเป็นกลุ่ม โดยมอบหมายให้แต่ละกลุ่มได้ไปศึกษาค้นคว้าปัญหาพิเศษที่มอบหมายให้ ซึ่งการจัดกิจกรรมในการหาคำตอบในรูปแบบนี้จะเหมือนกับการหาคำตอบในลักษณะ Jigsaw model คือ การนำความรู้ในแต่ละเรื่อง ค่อย ๆ มารวมกันเป็นองค์ความรู้ขึ้นมา ซึ่งผู้เรียนต้องรู้จักคิดแบบสังเคราะห์และวิเคราะห์ได้ โดยผู้สอนเป็นเพียง Guide คอยชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนในการค้นหาข้อมูล ซึ่งสุดท้าย ผู้เรียนต้องเขียนสรุปสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ค้นคว้าและสามารถแสดงหรือเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ปกครองและเพื่อนร่วมชั้นฟังได้ เป็นต้น

รู้แล้วคิดอย่างไร คิดอะไรต่อ

คือเรียนวิชาที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน หรือรับถ่ายทอดความรู้ที่บ้าน แล้วมาสร้างความรู้ต่อยอดจากวิชาที่รับถ่ายทอดมา ให้เป็นความรู้ที่สอดคล้องกับชีวิต ทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทักษะ ไม่ใช่นักเรียนเท่านั้นที่เรียนรู้กลับทาง ครูก็สอนกลับทางด้วย ครูเป็นตัวการของห้องเรียนกลับทาง และครูก็ต้องทำงานแบบกลับทางด้วย คือแทนที่จะสอนวิชาหน้าชั้นเรียน กลับสอนหน้ากล้องวิดีทัศน์ แล้วใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนของศิษย์ ทำหน้าที่ ครูฝึก (coach) ให้นักเรียนฝึกแปลงวิชา หรือประยุกต์ใช้วิชา ซึ่งในกระบวนการนั้นนักเรียนต้องสร้างความรู้ความเข้าใจของตนขึ้นมาในสมองและในหัวใจ ก่อนจะประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมหรือโจทย์แบบฝึกหัด เป็นการฝึกฝนเรียนรู้ที่แท้จริง มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ Child Centered คือ "ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ" ว่าต้องทำอย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการศึกษาบ้านเราอยู่ในขณะนี้ โดยวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้สอดรับกับวิถีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ที่เราไม่ได้ต้องการนักเรียนที่ท่องเก่ง เรียนเก่ง แต่เราอยากได้บัณฑิตที่ใฝ่รู้และรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning Skill) ครูจึงต้องสอนแต่สิ่งที่สำคัญ (Essential) แล้วฝึกให้เด็กสามารถไปต่อยอดองค์ความรู้เองได้ เราจึงเปลี่ยนเป้าหมายจากครูเป็นหลัก ให้เป็นนักเรียนเป็นหลัก โดยครูปรับบทบาทเป็น Coach หรือ Facilitator เพื่อให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงและเกิดการเรียนรู้แบบ Active learning

บรรยากาศในห้อง

บรรยากาศในห้องเรียน นักศึกษามีความตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียนรู้ อย่างเห็นได้ชัด และมีความสนใจที่จะร่วมกันอภิปรายในกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นกัน มีการขอคำปรึกษาและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้กัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

อาจารย์ มีรูปแบบการถ่ายทดความรู้ที่ชัดเจน ค่อยเป็นค่อยไป เปิดอาสให้นักษาร่วมซุกถาม หรือแสดงความคิดเห็นได้ และมีการกระตุ้นความใจด้วยเทคนิคต่างๆอยู่เสมอๆ

หมายเลขบันทึก: 580046เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท