​บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดย นายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ที่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน e-mail : [email protected]

วันที่3 สิงหาคม 2557

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

เรื่อง หลักสูตรและการสอนในกลุ่มประเทศอาเซียน

1. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน/ความคาดหวัง

ได้ศึกษาการศึกษาในประเทศไทยเป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยโดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปีซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วยทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียน

การเรียนในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนในกลุ่มประเทศอาเซียน (Educational in Asean) ณ หอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี ซึ่งความรู้ความเข้าใจที่ได้รับสรุปพอเป็นสังเขป ดังนี้ คือ

การศึกษาของฟิลิปปินส์

ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยการศึกษาแบบที่เป็นทางการนั้นมีลำดับขั้นตอนของการเรียนอยู่สามระดับนั่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ในระดับประถมศึกษานั้นจะใช้เวลาศึกษาภาคบังคับหกปีที่โรงเรียนของรัฐบาลหรือเจ็ดปีในโรงเรียนของเอกชนนอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ โดยการศึกษาระดับนี้รวมไปถึงการเรียนชั้นอนุบาลและอาจเป็นหลักสูตรเตรียมประถมศึกษาก็ได้ นักเรียนที่มีอายุระหว่างสามหรือสี่ปีจะเข้าเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนจนกระทั่งมีอายุครบ 5-6 ปี จึงจะเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งการศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาสี่ปีโดยนักเรียนต้องเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลายก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาจะมีอายุ 12 ปีและเรียนจบเมื่ออายุ 15 ปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 16 ปี การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนั้น การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษายังรวมไปถึงหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบสองหรือสามปีที่อาจไม่มีการมอบปริญญาก็ได้

การศึกษาของสิงคโปร์

ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัยอีก 2 ปี การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย) รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)

การศึกษาของเวียดนาม

ปัจจุบันเวียดนามแบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (Pre-School Education)ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
2. การศึกษาสามัญ (5 - 4 – 3)

• ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ 5 ปี ชั้น 1-5
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือชั้น 6-9
• ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12
3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียบเคียงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา (Associate degree) และระดับปริญญา
5. การศึกษาต่อเนื่อง เป็นการศึกษาสำหรับประชาชนที่พลาดโอกาสการศึกษาในระบบสายสามัญและสายอาชีพ การศึกษาสามัญ 12 ปี (General Education) ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะ ให้ประชาชนได้มีวิญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ ในอดีตการศึกษาสามัญของเวียดนามมีเพียง 10 ปีเท่านั้น และไม่มีอนุบาลศึกษามาก่อนจนถึงปีการศึกษา 2532 - 2533 จึงมีการศึกษาถึงชั้นปีที่ 9 ทั้งประเทศ ซึ่งได้เรียกการศึกษาสามัญ 9 ปี ดังกล่าวนี้ว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Basic Education) และเมื่อได้ขยายไปถึงปีที่ 12 แล้วจึงได้เรียกการศึกษาสามัญ 3 ปีสุดท้ายว่า มัธยมชั้นสูง (Upper Secondary School) ปี 2535-2536 ระบบการศึกษาสามัญในเวียดนามจึงกลายเป็นระบบ 12 ชั้นเรียนทั้งประเทศ โดยเด็กที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1

จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 6

ระบบการศึกษาของกัมพูชา

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจสังคม นำไปสู่การปฏิรูปด้านการศึกษาของกัมพูชาก่อนปี พ.ศ.2518 ประเทศไทยยึดระบบการศึกษาแบบฝรั่งเศสซึ่งให้มีการศึกษาภาคบังคับ 13 ปี (6+4+2+1) ภายหลังปี พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาฯใช้ระบบการศึกษาแบบ 10 ปี (4+3+3) และต่อมาได้ขยายเป็นแบบ 11 ปี และใช้สืบเนื่องจากปี พ.ศ.2529 ถึง 2539 กระทรวงศึกษาฯ ยังคงดำเนินการพัฒนาระบบการศึกษา มีการปฏิรูปหลักสูตร มีการพัฒนาตำราเรียนใหม่และนำเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาให้กับครูเพื่อเตรียมสำหรับการนำระบบการศึกษาแบบ 12 ปีมาใช้ (6+3+3) ในปีการศึกษา 2539 – 2540 โดยระบบใหม่นี้ จะแบ่งเป็นการศึกษาก่อนประถมศึกษา 3 ปี ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี และระดับอุดมศึกษา 4 – 7 ปี ส่วนการจัดการศึกษาด้านอาชีวะและเทคนิคจัดให้ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 5 ปีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษานี้ บางสถาบันการศึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสาธารณสุขหรือแรงงาน การจัดการศึกษานอกระบบจะเน้นการฝึกทักษะให้กับประชาชน

3.ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่เรียน

รูปแบบของการศึกษาแต่ละประเทศซึ่งทำให้นักศึกษาเห็นมุมมองที่แต่ต่างกันในลักษณะๆต่างๆของแต่ละประเทศ จึงเกิดความสนใจและมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมการฟังบรรยายโดยบรรยากาศที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการศึกษา ร่วมไปถึงการสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ โดยนักศึกษามีความสนใจและเรียนรู้ตลอดขณะฟังทำให้การบรรยายไม่น่าเบื่อพร้อมกับได้มุมมองและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลาย

4.การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำความรู้ที่ได้รับในครั้งนี้ไปใช้โดยจะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้กับผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ควรให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในภาษาในภาษาที่เป็นภาษาแม่มากขึ้น และภาษาต่างประเทศที่ประเทศไทยยังด้อยกว่าประเทศอื่นๆทำให้การสื่อสารในระดับสากลยังไม่ดีเท่าที่ควร การนำหลักสูตรมาใช้นั้นแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันดังนั้นต้องถึงอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เหมาะสม จึงจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

5.บรรยากาศในชั้นเรียน

นักศึกษาตั้งใจในการเข้ารับการอบรม โดยจดบันทึกข้อมูลลงในสมุดของตัวเองตลอดเวลาพร้อมกับแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆโดยการยกตัวอย่างและเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมกับอภิปรายถึงการนำพัฒนาหลักสูตรในรูปแบบต่างๆ โดยให้ความสนใจและกระตือรือร้นในการฟังการอบรมอย่างดีเยี่ยม

หมายเลขบันทึก: 580042เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท