บันทึก After Action Review (AAR) ครั้งที่ 1


บันทึก After Action Review (AAR) ครั้งที่ 1

รายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์

โดยนายวัชระ เทียนทิพย์การุณย์ รหัสนักศึกษา 57D0103128 เลขที่ 28 ภาคพิเศษ หมู่ 1

สาขา หลักสูตรและการสอน เบอร์โทร 088-4700094 e-mail : [email protected]

วันที่ 7 สิงหาคม 2557

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

เรื่อง การทัศนศึกษาศึกษาดูงานโรงเรียนสัตยาไส

1.ได้เรียนรู้อะไรในวันนี้

โรงเรียนสัตยาไส อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยาโรงเรียนแห่งนี้ไม่ต้องการสอนให้เด็กเป็นคนเก่ง มีความรู้ มีความสามารถ เพียงแต่ทุกเรื่องที่กล่าวมานั้น ถูกจัดให้เป็นเรื่องรอง เพราะเรื่องหลักที่นักเรียนจะได้รับจากโรงเรียนแห่งนี้ นั่นคือ การเป็นคนดี โดยใช้หลักการวิถีพุทธ เช่น ให้เด็กนักเรียนนั่งสมาธิ สวดมนต์ พร้อมสอนหลักคุณธรรม ควบคู่ไปกับการเรียน ทำให้ให้โรงเรียนสัตยาไสกลายเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่พ่อแม่จำนวนมากต้องการส่งลูกให้เข้ามาเรียน โดยมีการเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยคุณธรรมพื้นฐานที่จะปลูกฝังให้เด็ก ๆ รู้จัก 5 ประการ คือ ความรักความเมตตา ความจริง ความประพฤติชอบ ความสงบสุข และอหิงสา เด็ก ๆ ที่โรงเรียนแห่งนี้ จะต้องนั่งสมาธิ เรียนรู้ที่จะสวดมนต์ขอบคุณอาหาร ขอบคุณธรรมชาติ ดูแลช่วยเหลือตัวเอง โดยที่มีความสุขไปกับการกระทำนั้น ๆ ด้วยการเข้าเรียนที่โรงเรียนสัตยาไสแห่งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครมีเงินก็จะสามารถเข้าเรียนได้ เพราะ ดร.อาจอง ผู้อำนวยการของโรงเรียน กำหนดให้ต้องมีการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าเรียนถึง 2 ครั้ง เริ่มต้นจากการคัดเลือกในรอบแรก หนึ่งในขั้นตอนการคัดเลือกก็คือการให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก ๆ มาเข้าค่ายร่วมกันที่โรงเรียน ทำกิจวัตรประจำวันและให้ผู้ปกครองดูว่าลูกหลานของตนสามารถใช้ชีวิตแบบนั้นได้หรือไม่ เนื่องจากนักเรียนชั้นประถมและมัธยมของโรงเรียนสัตยาไสแห่งนี้ จะต้องอยู่ประจำ เมื่อผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้ว จะมีการสอบสัมภาษณ์และวัดทัศนคติผู้ปกครอง ถ้าผ่านจึงจะสามารถเข้าได้ตามจำนวนที่เปิดรับ

2.รู้แล้วคิดอย่างไรคิดอะไรต่อ

การพัฒนาคนหรือการสร้างคนที่ดีนั่นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะคนดีย้อมส่งเสริมในการพัฒนาประเทศชาติของเราซึ่งขาดบุคลากรที่ดี ส่วนคนเก่งนั่นย่อมสร้างได้ แต่ต้องการคนที่ดีนำหน้าความเก่งปลูกฝั่งจิตสำนึกในการรู้จักช่วยเหลือคนอื่นโดยนึกถึงประโยชน์ร่วมมากกว่าส่วนตนเสมอ

3.จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

ควรส่งเสริมคุณธรรมในการเรียนการสอนเด็กนักเรียน โดยการแทรกคุณธรรมในการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกในการสร้างคนดี ต่อสังคม และต่อครอบครัว โดยการสอดแทรกคุณธรรม และฝึกการนั่งสมาธิก่อนเรียนหนังสือทุกครั้งเพื่อฝึกให้มีจิตใจที่สงบเตรียมพร้อมที่จะเรียนอย่างมีความมุ่งมัน สนใจในการเรียนอย่างเต็มที่

หมายเลขบันทึก: 580044เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท