KM (Knowledge Management )


ชื่อ นางอัมพร นามสกุล นันทะเสนา เลขที่ 57D0103122

รหัสวิชา 102611 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ปริญญาโท ภาคพิเศษ รุ่น 13 หมู่ 1 สาขาวิชาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ผู้สอน ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์

.......................................................................................................................................................................................

วันที่ 17 สิงหาคม 2557

ความคาดหวังในการเรียนรู้เรื่อง KM (Knowledge Management )

เรื่อง Knowledge Management นำไปประยุกค์ใช้ในด้านใดได้บ้าง

ได้เรียนรู้อะไร รู้แล้วคิดอย่างไรต่อ

การจัดการความรู้ (Knowledge Mannagment หรือ KM) คือการจัดการความรู้มีความสำคัญในและมีความจำเป็นในองค์เพราะปัจจุบันโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีการแข่งขันกันมาก ทั้งในด้านภาคอุตสาหกรรมไม่จะขนาดใหญ่หรือขนาดย่อย รวมไปถึงระบบการศึกษาที่ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ และและมีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ล้วนอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นในด้านธุรกิจคือ

1. สภาวะภายนอกองค์กรที่เป็นคู่แข่งในการจัดการเช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ธนาคารและโทรคมนาคม ทำให้เราต้องมีการแข่งขันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ความรู้จะเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วและเศรษฐกิจยุกใหม่จะเน้นทั้งความรู้ (Knowledge) และความรวดเร็ว (Speed) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เราเรียกว่า โลกาภิวัตน์ (Globalization) ฉะนั้นเศรษฐกิจนั้นต้องใช้ความรู้เป็นฐาน(Knowledge-based Society)ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ปฏิบัติงาน องค์กรจะประสบความสำเร็จและมีคุณภาพนั้นจะต้องให้ความสำคัญการพัฒนาบุคลากรและใครที่มีความสามารถต้องสามารถดึงศักยภาพของบุคคลนั้นออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่า

2. สภาวะแวดล้อมภายในองค์กร มีการทำงานผิดพลาดเยอะและไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเมื่อลาออกไป ความรู้ก็ไปพร้อมๆกับบุคคลนั้นด้วยทำให้องค์กรขาดความรู้ในส่วนที่สำคัญไปการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)มีดีอยู่ในองค์กรไม่นำมาจัดการให้เกิดประโยชน์ ความคิดที่เกิดเป็นแต่แบบซ้ำๆไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น

กล่าวโดยสรุปว่า สภาวะแวดล้อมภายนอกและภายในส่งผลทำให้องค์กรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทุกองค์กรจำเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแต่ละองค์กรต้องให้ความสำคัญกับความรู้ (Knowledge)

และการจัดความรู้ (Knowledge Mannagment หรือ KM) นำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization หรือ LO)

ลักษณะของความรู้ ROMER,PAUL เป็นความรู้มีมากไม่มีขีดจำกัด เมื่อนำความรู้ใหม่มาผสมผสานกับความรู้เดิมที่มีอยู่ในตัวคนก็เกิดความรู้ใหม่มา มากขึ้นไปอีก เป็นการสร้างความรู้จากการงานที่ทำและต้องเกิดจากการสังเกต หมุนเวียนกลายเป็นความรู้ไม่จบสิ้น

ประเภทของความรู้ ได้จำแนกความรู้ที่สำคัญเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge ) เป็นความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่อยู่ในหนังสือ ตำรา เช่น หลักวิชาหรือทฤษฎี ได้มาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผ่านกระบวนการพิสูจน์ ผ่านกระบวนการวิจัย เรามักเรียกกันทั่วๆไปว่าเป็น ความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge )

2. คือความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge ) เป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัด เป็นความรู้ที่เกิดจาก

การปฏิบัติ บ้างก็จัดว่าเป็น "เคล็ดวิชา" เป็น "ภูมิปัญญา" เป็นสิ่งที่มาจากการใช้วิจารณญาณ ปฏิภาณไหวพริบ เป็นเทคนิคเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน ถึงแม้ความรู้ประเภทที่สอง นี้จะเห็นไม่ชัดเหมือนความรู้ประเภทแรก แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำงานให้งานบรรลุผลสำเร็จได้เช่นกัน

ผลจากการวิจัยในต่างประเทศเคยสรุปสัดส่วนของความรู้ ที่เป็นหลักวิชาต้องผ่านการพิสูจน์ หรือเขียนออกมาเป็นทฤษฎีนั้น ถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน หากเปรียบกับภูเขาน้ำแข็ง ความรู้ส่วนที่เป็น Explicit Knowledge นั้นจะเห็นได้ง่าย คล้ายกับส่วนยอดกับภูเขาน้ำแข็งที่อยู่พ้นน้ำ แต่ความรู้ส่วนที่เป็น Tacit Knowledge นั้นแฝงอยู่ในตัวคน ทำให้มองไม่เห็น เปรียบได้กับส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งถ้านำมาเทียบกันแล้วจะพบว่ามีปริมาณมากกว่าส่วนที่พ้นน้ำค่อนข้างมากจะเห็นได้ว่าความรู้ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาเอกสารตำราเรียนจะอยู่ที่ 20% ความรู้ที่เกิดจากปฏิบัติตัวบุคคลจะอยู่ที่ 80%

จากการศึกษาต้องการจัด Knowledge Management เพราะปัญหาจากการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชนมีดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ที่ทำงานตรงนี้แล้วย้ายไปทำที่อื่นแล้วคนที่อยู่ทำอะไรต่อไม่ได้

2. ทำงานในส่วนนี้ไม่ได้จะถามใครดี

3. เจ้าหน้าที่ไม่มาตามงานไม่ได้

4. ทำแบบเดิมๆไม่มีการพัฒนา

5. คู่มือไม่มีในการใช้งานแต่จะอยู่ในสมอง

จะเห็นได้ว่าเกิดจากการลาออกของบุคลากรเราจำเป็นต้องนำ KM มาจัดการในองค์กรให้มีการถ่ายทอดงานในหน้าที่ต่างๆเมื่อบุคคลนั้นไม่ได้อยู่หรือย้ายไปที่อื่น

ความหมายของ Knowledge Management RYOKO TOYAMA หมายถึง การจัดการให้เกิดความรู้ใหม่โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กร อย่างมีระบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางการธุรกิจ

ความหมายของ Knowledge Management WORLD BANK ธนาคารโลก หมายถึง การรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กร และกระบวนการที่เกี่ยวกับการสร้าง การนำมาใช้ การเผยแพร่ความรู้ และบริบทต่างที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการธุรกิจ

สรุปความหมายของ Knowledge Managementเป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยกระบวนการ คือ

1. การสร้าง คือ การสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์หรือสร้างสรรค์

2. รวบรวม คือ เมื่อมีงานหรือชิ้นงานแล้วให้มีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ

3. จัดเก็บ คือ จัดการกับเอกสารต่างๆให้เป็นระบบง่ายต่อการนำไปใช้ได้สะดวก

4. แลกเปลี่ยน คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนนำไปพัฒนา

5. การนำไปให้เกิดประโยชน์สูงสูงในองค์กรหรือหน่วยงาน

ความรู้ที่ได้จากการเรียนนำไปคิดทำอะไรต่อ

ถ้ากล่าวถึงในด้านธุรกิจนั้นถ้าในห้างร้านหรือบริษัทนั้นนำเรื่อง Knowledge Managementมาใช้ในองค์กรของตนเองถ้าคิดออกมาเป็นผลกำไรนั้นมีมูลค่ามากส่วนการนำมาใช้ในโรงเรียนคือ เรื่องตัวบุคคลากรที่มีคุณภาพในโรงเรียนที่มีความชำนาญในด้านต่างๆให้มีการถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์ต่างที่ตนเองมีอยู่อาจจะถ่ายทอดในการปฏิบัติร่วมกันหรือจัดทำเป็นเอกสารไว้เผื่อคนที่จะสานงานต่อนั้นจะได้ทำได้อย่างมีคุณภาพงานจะไม่ล่าช้าเป็นผลดีต่อทางโรงเรียน

คำสำคัญ (Tags): #KM (Knowledge Management )
หมายเลขบันทึก: 580020เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2014 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท