การบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ



การบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จสุพาลิตรสมเขาใหญ่<table> <tbody><tr> <td>บทนำ</td> </tr> </tbody></table><p>ปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องของคุณภาพความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์สิ่งที่จะทำให้มนุษย์เราอยู่รอดได้ในสังคมปัจจุบันนั้นคือคุณภาพจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน สถาบันการศึกษาเป็นสถาบันที่สองรองจากสถาบันครอบครัวที่เป็นแหล่งพัฒนาคนให้มีความรู้นำไปใช้ชีวิตในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการโดยจะต้องจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรมรู้จักพึ่งตนเองและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จมีภาวะผู้นำทางวิชาการและมีอุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ</p><p></p><p>กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ</p><p>สถานศึกษาโดยผู้อำนวยการสถานศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้</p><p>1. การวางแผนกลยุทธ์และการประเมินแผนงาน(งานโครงการ)</p><p>การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วย1) ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร2)การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์3)การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้)ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร และ 4) จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)โดยขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ
1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.จัดวางทิศทางขององค์กรโดยกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสมและการสามารถไปปฏิบัติได้จริงจากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฏิบัติตามกลยุทธ์โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กรและวัฒนธรรมขององค์กรเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร</p><p>การประเมินแผนงาน (งานโครงการ)มยุรีอนุมานราชธน(2546 : 286)ได้ให้ความหมายของการประเมินโครงการว่า หมายถึงการออกแบบการวิจัยประเมินผลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งผลสรุปการวิจัยที่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นมากที่สุดในสถานการณ์หนึ่งๆโดยสมหวังพิธิยานุวัฒน์(2537 : 13-19)กล่าวถึงรายละเอียดการประเมินผลโดยแบ่งไว้เป็น4ประเภทคือ1) การประเมินบริบทหรือสภาวะแวดล้อม(ContextEvaluation)2)การประเมินปัจจัยเบื้องต้น(InputEvaluation) 3) การประเมินกระบวนการ(ProcessEvaluation)และ 4)การประเมินผลผลิต(ProductEvaluation)</p><p>2. การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการงานวิชาการของสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนา</p><p>ผู้เรียนหรือกำลังคนสู่ประชาคมอาเซียน</p><p>กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนระดับประถมศึกษากำหนดลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียนไว้ 3ด้านคือด้านความรู้ด้านทักษะ/กระบวนการและด้านเจตคติและกำหนดตัวชี้วัดคุณภาพนักเรียนตัวชี้วัดคุณภาพครูคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นจะต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียนครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายลักษณะ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.2554 : 11-64) ดังนี้</p><p>1) จัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งมีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/สาระการเรียนรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับอาเซียนคือความเป็นมาของกลุ่มอาเซียนโดยสังเขปสมาชิกของอาเซียนในปัจจุบันและความสัมพันธ์ของกลุ่มอาเซียนทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันโดยสังเขป</p><p>2) จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆโดยอาจบูรณาการในแต่ละ</p><p>กลุ่มสาระการเรียนรู้หรือบูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้าด้วยกัน</p><p>3) จัดการเรียนรู้โดยการจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม</p><p>4) จัดการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน</p><p>5) จัดเป็นกิจกรรมเสริมที่เป็นกิจกรรมในสถานศึกษา</p><p>3. การมอบหมายงานการกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน</p><p> การมอบหมายงานการกำกับติดตามงานและการส่งเสริมการพัฒนาครูเพื่อพัฒนาผู้เรียน ควรศึกษาบริบทของบุลากรแต่ละคนและยึดหลัก การบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์(RBM) โดยใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีด้วย ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี พ.ศ.2542 และ RBM : Results เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการบริหาร ได้แก่ (เมธินี จิตติชานนท์. ออนไลน์) Plan ต้องกำหนดวัตถุประสงค์/เป้าหมายชัดเจน (ต้องการผลสัมฤทธิ์อะไร)Do ปฏิบัติมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้</p><p>Check วัดว่าปฏิบัติได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนหรือไม่ (KPI ชัดเจน)และ Act ปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้</p><p>การส่งเสริมพัฒนาครู ควรส่งเสริมและพัฒนาตามสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนคือสมรรถนะหลัก (Core Competency)และสมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency)การกำกับติดตามและการส่งเสริมการพัฒนาเป็นแนวทางช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p><p>4. การนำกฎหมายระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการ</p><p>สถานศึกษาและวิชาชีพ</p><p>การบริหารจัดการสถานศึกษาต้องยึดกฎระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 กำหนดให้สถานศึกษาของรัฐบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคลได้รับอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการงบประมาณการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปในการบริหารงานต้องอาศัยกฎระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา ดังนี้ </p><p> 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550</p><p> 2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม</p><p>3.พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545</p><p>4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546</p><p> 5. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547</p><p>6. กฎกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษา พ.ศ. 2546 </p><p>7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพ.ศ.2546</p><p>8. อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาตามระเบียบ กฎหมายอื่น เช่น ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษาพ.ศ.2547, ระเบียบศธ.ว่าด้วยการชักธง ชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการขอบคุณหรืออนุโมทนา พ.ศ. 254, ระเบียบศธ.ว่าด้วยการแก้ไขวันเดือนปีเกิดของนักเรียนนักศึกษา 2547, ระเบียบศธ.ว่าด้วยใบสุทธิและหนังสือรับรองของสถานศึกษาพ.ศ.2547, ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา พ.ศ.2548, ระเบียบศธ.ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินัก เรียนฯ พ.ศ.2548, กฎกระทรวง ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา</p><p> การนำกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและวิชาชีพผู้บริหารต้องศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกกฎ ระเบียบ</p><p>5. การระดมทรัพยากรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนา</p><p>คุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา</p><p>ทรัพยากรทางการศึกษา สามารถจำแนกได้ 6 ประเภท คือ1)เงินทุน 2)วัสดุอุปกรณ์3) ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง4)บุคลากร 5) แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น6) แหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ</p><p>การระดมทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารต้องอาศัยกระบวนการการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรทางการศึกษา (คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2553 : 32-33) ดังนี้ </p><p>1. การจัดเครือข่ายสถานศึกษา ที่มีบริบทสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน</p><p>2. การมีผู้ประสานงานที่ดี เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนประสานในการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย</p><p>3. สมาชิกในเครือข่ายมีความต้องการร่วมกัน โดยจัดให้สมาชิกของเครือข่ายมีกิจกรรม ร่วมกันทั้งการประชุมในแต่ละเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อการพบปะหารือกันระหว่างผู้ที่มีความต้องการเหมือนกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในเครือข่ายจัดกิจกรรมให้สมาชิกร่วมแสดงความสามารถ ร่วมคิดร่วมวางแผน และร่วมทำงานร่วมกัน หมุนเวียนกันรับผิดชอบในเครือข่ายและ การศึกษาดูงาน หรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน</p><p>4. สมาชิกในเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน สมาชิกในเครือข่ายมีจิตสำนึกร่วมกัน มีความรัก ความเอื้ออาทร มีความสามัคคีกลมเกลียว ช่วยกันคิด ช่วยกันทำจนงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์</p><p>การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งเครือข่ายที่เป็นทางการและเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริหาร</p><p>6. การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้</p><p>การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในโรงเรียนเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนทำได้ดังนี้ (การใช้ระบบไอซีทีในโรงเรียน. 2555 : 1 - 6) 1) การจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ (Hardware & Software)2) การส่งเสริมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) และสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน3) การเตรียมความพร้อมบุคลากร (People)4) การส่งเสริมนักเรียนใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ 5) จัดกิจกรรมพิเศษไอซีทีในโรงเรียน6) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับแหล่งเรียนรู้และ 7) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการบริหารจัดการ </p><p>สรุป</p><p>การบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ ผู้บริหารต้องมีความรู้และสามารถวางแผนกลยุทธ์ เพื่อนำองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างมีระบบและขั้นตอน สามารถนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติได้และมีการติดตามประเมินผลของการดำเนินงานอย่างมีระบบ เพื่อตรวจสอบภาพความสำเร็จเป็นระยะ ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมและจัดหาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับการบริหารจัดการและการจัดเรียนการสอนในการบริหารจัดการสถานศึกษาต้องยึดกฎหมาย ระเบียบ ข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการบริหารงานและเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการต้องคำนึงถึงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถพร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน</p><p>แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา</p><p>1. จัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี แผนงานโครงการ โดยให้ครูเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการวางแผน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจมีกระบวนการติดตาม ประเมินผลอย่างมีระบบต่อเนื่อง</p><p>2. พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจบทบาทสมาชิกของประชาคมอาเซียน โดยสอดแทรกในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ หรือการบูรณาการ</p><p>3. จัดอบรมพัฒนาครูและบุคลากรภายในให้มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมทั้งอบรมพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน </p><p>4. ส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นของครูผู้สอน เพื่อพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอน</p><p>5. จัดอบรมพัฒนาครูในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book),บทเรียนออนไลน์ (Web-based learning), บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นต้น</p><p>6. จัดให้มีเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ เช่น พัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะ (E-Classroom),ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning),โปรแกรมสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) </p><p>ภาวะผู้นำทางวิชาการ</p><p>1. การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา</p><p>การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร 7 ภารกิจ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2550 : 228 - 232)ได้แก่1) การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 2) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา3) การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร4) การดำเนินการบริหารหลักสูตร ดำเนินการใช้หลักสูตร5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล 6) การสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษาสถานศึกษาสรุปผลการดำเนินงาน และเขียนรายงานมีการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ชัดเจน เป็นระบบ ชัดเจนและ 7) การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร</p><p>2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ</p><p>กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหมายถึงการจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดโดยการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีหลายรูปแบบ ดังนี้ (จารุวรรณแดงรัตภาสกร. 2552 : 1-3)</p><p>1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนคิดและดำเนินการเรียนรู้กำหนดวัตถุประสงค์และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ</p><p>2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (individual study) ผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้และความสนใจที่แตกต่างกันจึงจำเป็นที่จะต้องมีเทคนิคหลายวิธีเพื่อช่วยให้การจัดการเรียน เช่น เทคนิคการใช้Concept Mapping เทคนิคLearning Contracts เทคนิคKnow –Want-Learned เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) </p><p>3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) คือ“ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัยประสบการณ์แห่งชีวิตที่ได้รับเพื่อค้นหาความจริงโดยมีรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษา</p><p>4) การเรียนรู้จากการสอนแบบเอสไอพี (SIP)การสอนแบบเอสไอพีเป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะทางการสอนให้กับผู้เรียนระดับอุดมศึกษามีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะการสอน</p><p>5) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเช่นการจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น, การเรียนแบบค้นพบ, การเรียนแบบแก้ปัญหา, การเรียนรู้เชิงประสบการณ์</p><p>6) การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระการฝึกปฏิบัติจริงฝึกฝนทักษะทางสังคมทักษะชีวิตทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง</p><p>7) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือได้ว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษาเพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง</p><p>8) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-Based Approach) การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวมทำความเข้าใจสรุปวิเคราะห์และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง</p><p>3.การสร้างพลังเครือข่ายความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้</p><p>การบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เกิดพลังและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องยึดเงื่อนไขและหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือการมีส่วนร่วม (Participation) กำหนดให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกำกับติดตามดูแลให้ฝ่ายต่างๆสามารถเข้ามาปฏิสัมพันธ์และช่วยกันแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อนร่วมกันโดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน หรือ “All for Education” นั่นเอง ซึ่งการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จต้องยึดหลัก ดังนี้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2543 : 34-35)1) การรับรู้มุมมองร่วมกัน (Common Perception)2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Common Vision)3) การเกิดผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน (Mutual Interests/Benefits)4) การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง (All Stakeholders Participation)5) การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (Complementary Relationship)6) การพึ่งพิงอิงร่วมกัน (Interdependence) และ 7) การมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน (Interaction)</p><p>4. กระบวนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา</p><p>องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ หน่วยงานซึ่งประกอบด้วยบุคลากรทุกระดับที่ต่างร่วมมือร่วมใจกันส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้แก่กันรวมทั้งศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้น ซึ่งมีกระบวนการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ (Senge etal. 1994 :18; อ้างถึงใน สุเทพพงศ์ศรีวัฒน์. 2555 : 2-6)</p><p>1) พัฒนาความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ของสมาชิกหมายความว่าครูทุกคนจะต้องมีพันธะผูกพันต่อการประกอบวิชาชีพครูของตนเยี่ยงมืออาชีพและต้องเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร</p><p>2) มีแบบแผนความคิดอ่าน(Mental model)หมายถึงความเชื่อที่ฝังลึกอยู่ภายในบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆจึงเป็นปทัสถานที่มีลักษณะไม่เป็นคำพูดแต่มีอิทธิพลในการกำหนดว่าโรงเรียนของตนจะดำเนินการต่อภารกิจต่างๆอย่างไร</p><p>3) สร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared vision) ของโรงเรียนหมายถึงภาพในอนาคตของโรงเรียนที่ทุกคนร่วมกันวาดฝันและปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นจริงกับโรงเรียนของตน</p><p>4) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แบบทีม(Team learning)เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับโรงเรียนแห่งการเรียนรู้เพราะผลงานที่เกิดจากการทำงานร่วมกันแบบทีมย่อมมากกว่าผลรวมของงานที่แต่ละคนทำ</p><p>5) พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ(System thinking)หมายถึงความสามารถของสมาชิกในองค์การแห่งการเรียนรู้ที่สามารถมองเห็นองค์การในภาพรวมซึ่งประกอบขึ้นจากองค์ประกอบย่อยต่างๆ</p><p>สรุป</p><p>สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิผลนั้นคือการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำสร้างความรู้ความเข้าใจให้ครูในการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับเหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนชุมชนและใช้หลักสูตรเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งการประเมิลผลตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมพัฒนากระบวนการภายในสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้</p><p>แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา</p><p>1. ประชุมชี้แจงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา</p><p>2. จัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดหลักสูตรและให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงฝึกการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาให้มากขึ้น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ</p><p>3. ทบทวนเกณฑ์การวัดและประเมินผลรวมทั้งปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการที่หลากหลายและจัดหาวิทยากรมาให้ความรู้</p><p>4. อบรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการคิดการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเทคนิคการวัดผลประเมินผล</p><p>5. จัดอบรมครูให้ทำวิจัยในชั้นเรียนให้เป็นและให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างจริงจังเพื่อค้นพบข้อบกพร่องของนักเรียนและช่วยแก้ไขปัญหาทางการเรียน</p><p>6. กำกับ ติดตาม ประเมินและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเป็นระยะ โดยให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา</p><p>อุดมการณ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ</p><p>1. ผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรมและการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี</p><p>คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหารควรยึดเป็นแบบอย่างในการ ครองตน ครองคน และครองงาน ประกอบด้วยหลักธรรม ดังนี้ (สพท.นครสวรรค์ เขต 3. 2553 : 277-283)</p><p>1) โลกบาลธรรม เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลกให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข ประกอบด้วย หิริความละอายในตนเองและโอตตัปปะความเกรงกลัวต่อบาปและความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว</p><p>2) ธรรมที่ทำให้งามเป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งามประกอบด้วยขันติความอดทนและโสรัจจะความสงบเสงี่ยมทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง</p><p>3) อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมทีทำให้งานสำเร็จประกอบด้วย1) ฉันทะ ความพึงพอใจ ในงาน2) วิริยะความขยันมั่นเพียร 3) จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน และ 4) วิมังสา</p><p>ไตร่ตรองหาเหตุผล</p><p>4) สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกัน ประกอบด้วย 1) ทาน ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้ 2) ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน 3) อัตถจริยาประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และ 4) สมานัตตตาวางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน</p><p>5) พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่ (ผู้บังคับบัญชา) ที่ควรถือปฏิบัติประกอบด้วย 1) เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข 2) กรุณา ความสงสารคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์3) มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข และ 4) อุเบกขา วางตนเป็นกลางไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงวิบัติมีทุกข์</p><p>6) ฆราวาสธรรม 4 เป็นธรรมของผู้ครองเรือน ประกอบด้วย1) สัจจะ ความซื่อสัตย์</p><p>2)ทมะ การฝึกตน3) ขันติความอดทนและ 4) จาคะ ความเสียสละ</p><p>7) สัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักธรรมอันเป็นของคนดี (ผู้ประพฤติชอบ) ประกอบด้วย 1) ความเป็นผู้รู้ว่าเป็นเหตุ 2) ความเป็นผู้รู้จักผล 3) ความเป็นผู้รู้จักตน 4) ความเป็นผู้รู้จักประมาณ 5) ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันเหมาะสม6) ความเป็นผู้รู้จักสังคม และ 7) ความเป็นผู้รู้จักคบคน</p><p>8) หลักธรรมาภิบาล คือคุณธรรมของนักบริหารที่ดี (Good Governance) ประกอบด้วย 1) หลักนิติธรรมคือการยึดถือกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาต่างๆ 2)หลักคุณธรรมคือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม3)หลักความโปร่งใสคือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาตรวจสอบได้4)หลักความมีส่วนร่วมคือเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมรับรู้ร่วมคิดและร่วมตัดสินใจ5)หลักความรับผิดชอบคือ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่ที่รับผิดชอบ6)หลักความคุ้มค่าคือ ผู้บริหารต้องตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า</p><p>2. วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา</p><p>วินัยคือกฎหมายกฎข้อบังคับระเบียบและแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ</p><p>จรรยาบรรณในวิชาชีพของผู้บริหารเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของผู้บริหารให้ได้รับการยกย่องเชื่อถือศรัทธาจากสังคมมากจรรยาบรรณของผู้บริหารมีดังนี้</p><p>(จรรยาบรรณผู้บริหาร. 2555 : 1)</p><p>1) จรรยาบรรณต่อตนเองได้แก่ การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและพัฒนาตนให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานอุทิศตนเพื่อหน้าที่มีความเสียสละและมีความกล้าหาญทางจริยธรรมและมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง</p><p>2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพได้แก่ การซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและพึงละเว้นการทำธุรกิจที่อาศัยอำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ในกิจการนั้น</p><p>3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการได้แก่ ความซื่อสัตย์ต่อผู้รับบริการรักษาความลับและผลประโยชน์ในทางที่ถูกของผู้รับบริการละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบและให้บริการด้วยความเสมอภาคให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการบริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ</p><p>4) จรรยาบรรณต่อบุคลากรในองค์การได้แก่ มีความยุติธรรมมีใจเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติบริหารคนด้วยระบบคุณธรรมไม่เล่นพรรคเล่นพวกรักษาความสามัคคีปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยหลักการและเหตุผล</p><p>5) จรรยาบรรณต่อองค์การชุมชนและสังคมได้แก่ ให้ความสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อองค์การดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์การอย่างประหยัดคุ้มค่าสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสร้างสันติภาพสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม</p><p>3. การมีจิตสำนึกความมุ่งมั่นการสร้างศรัทธาและมีอุดมการณ์ในวิชาชีพ</p><p>ผู้บริหารสถานศึกษา ก็คือครูคนหนึ่ง การที่ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักดิ์ศรีและเต็มความภาคภูมิได้นั้นจำเป็นต้องมีหลักยึดเพื่อนำตนไปสู่สิ่งที่สูงสุดหรือเป็นอุดมคติของอาชีพ นั่นก็คือ อุดมการณ์ ซึ่งผู้บริหารก็ยึดหลักอุดมการณ์ครูมาใช้ในการบริหารงานมีหลักอยู่ 5 ประการ ดังนี้ (อุดมการณ์ของความเป็นครู. 2555 : 1-4)</p><p>1) เต็มรู้ คือ มีความรู้บริบูรณ์ อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องถ่ายทอดอธิบายให้ความรู้แก่คนดังนั้นครูทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่ทำให้ตนเองนั้นบริบูรณ์หรือเต็มไปด้วยความรู้ครูควรจะทำให้บริบูรณ์ในตัวครูประกอบด้วยความรู้3 ประการคือ 1) ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ 2) ความรู้เรื่องโลก และ 3) ความรู้เรื่องธรรม</p><p>2) เต็มใจคือ ความมีใจเป็นครู คนจะเป็นครูที่มีอุดมการณ์จำเป็นต้องสร้างใจให้เป็นใจที่เต็มบริบูรณ์ด้วยการมีใจเป็นครูการทำใจให้เต็มนั้นมีมีความหมาย 2 ประการคือ 1) ใจครูได้แก่</p><p>รักอาชีพและรักศิษย์ 2) ใจสูง ครูควรพยายามทำใจให้สูงส่งมีจิตใจที่ดีงามไม่ทำความชั่ว</p><p>3) เต็มเวลา คือ การรับผิดชอบการทุ่มเทเพื่อการสอนครูที่มีอุดมการณ์จะต้องใช้ชีวิตครูอย่างเต็มเวลาทั้ง 3 ส่วน คือ 1) งานสอนครูต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนอย่างเต็มที่ 2) งานครูนอกเหนือไปจากการสอนครูต้องให้เวลาแก่งานด้านต่างๆ 3) งานนักศึกษาให้เวลาให้การอบรมแนะนำสั่งสอนศิษย์เมื่อศิษย์ต้องการคำแนะนำหรือต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าในเวลาทำงานหรือนอกเวลาทำงานครูควรมีเวลาให้ศิษย์</p><p>4) เต็มคนคือการพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยที่ครูเป็นแม่พิมพ์หรือพ่อพิมพ์ที่คนในสังคมคาดหวังไว้สูงและมีอิทธิพลต่อผู้เรียนมากครูจึงจำเป็นที่ต้องมีความบริบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมครูจึงควรสำรวมกายวาจาใจให้มีความมั่นคงเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการแสดงออกทั้งในและนอกห้องเรียน</p><p>5) เต็มพลังคือการทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอนครูจะต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ทุ่มเทไปเพื่อการสอนเพื่อวิชาการเพื่อศิษย์ครูต้องอุทิศตนอย่างเต็มที่ทำงานอย่างไม่คิดออมแรงเพื่อผลงานที่สมบูรณ์นั้นก็คือการปั้นศิษย์ให้มีความรู้ความประพฤติงดงามเป็นที่พึงประสงค์ของสังคม</p><p>สรุป</p><p>ผู้บริหารนับว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรเนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายวางแผนการดำเนินงานแนวการปฏิบัติและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นที่อยู่ภายในองค์กรหากผู้บริหารยึดแนวทางในการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีวินัยและปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ย่อมส่งผลดีมายังองค์กรและสังคมโดยส่วนรวมให้ประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p><p>แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา</p><p>1. ผู้บริหารนำไปเป็นหลักยึดในการปฏิบัติสำหรับตนเองในการครองตน ครองคน และครองงานในสถานศึกษา โดยการประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากรภายในสถานศึกษา</p><p>2. จัดอบรมพัฒนาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้กับครูและบุคลากรภายในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดเป็นโครงการหรือกิจกรรมประจำปี เช่น กิจกรรมเข้าวัดฟังธรรม การเข้าค่ายคุณธรรม เป็นต้น</p><p>3. กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม</p><p>4. ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานด้วยความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เช่น มีการสรรหาให้รางวัลโล่หรือเกียรติบัตร เป็นต้น</p><p>บรรณานุกรม</p><table> <tbody><tr> <td>การใช้ระบบ ICT ในโรงเรียน.(2551). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=6174.0. (4มิถุนายน2555).</td> </tr> <tr> <td>เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย:กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส.</td> </tr> <tr> <td>คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมNetwork Building and Participatory. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</td> </tr> <tr> <td>__. (2553). การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ Strategic Planning and Formulating. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</td> </tr> <tr> <td>จรรยาบรรณผู้บริหาร. (2555).(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://www.okkbkk.net/index.php?mo=3&art=589412.(4 มิถุนายน 2555).</td> </tr> <tr> <td>จารุวรรณ แดง รัตภาสกร. (2552). กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.(ออนไลน์). แหล่งที่มา:http://www.learners.in.th/blogs/posts/258675. (8 เมษายน 2552).</td> </tr> <tr> <td>วิทยา ประชากุล. (2548). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.</td> </tr> <tr> <td>สมคิด พรมจุ้ย.(2552).เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6.นนทบุรี : จตุพร ดีไซน์.</td> </tr> <tr> <td>สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (2553). คู่มือการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา. นครสวรรค์ : ริมปิงการพิมพ์.</td> </tr> <tr> <td>สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2553. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.triamudom.ac.th/uploadfiles/evaluation.rar. (4มิถุนายน2555).</td> </tr> <tr> <td>__. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.</td> </tr> <tr> <td>สุเทพพงศ์ศรีวัฒน์. (2555). ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://suthep.ricr.ac.th. (4 มิถุนายน 2555).</td> </tr> <tr> <td>สุภาพร พิศาลบุตร.(2550).การวางแผนและการบริหารโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร : วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.</td> </tr> <tr> <td>อุดมการณ์ของความเป็นครู. (2555). (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/460008. (4 มิถุนายน 2555).</td> </tr> </tbody></table> <table> <tbody><tr> <td>
</td> </tr> </tbody></table><p>
</p>

หมายเลขบันทึก: 579774เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท