การตรวจสอบคุณภาพความเป็นUniform ของ CR image plate


              ปัจจุบัน เราพบว่า มีการนำ  วิธีการถ่ายภาพระบบดิจิตอลมาใช้ในวงการแพทย์มีใช้อย่างแพร่หลาย  และหลายๆโรงพยาบาลก็ได้ใช้กันแล้ว   และที่ใช้กันมากที่สุดก็เห็นจะเป็น การถ่ายภาพดิจิตอลระบบCR (computed Radiography)  โรงพยาบาลสันป่าตองก็เช่นกัน ปีนี้ก็นับว่าเข้าปีที่ห้าแล้วที่มีการใช้ระบบดิจิตอล  แต่เชื่อไหมว่าเราไม่เคยรู้เลยว่า ระบบถ่ายภาพดิจิตอลระบบ CR และวัสดุอุปกรณ์เรายังใช้งานได้ดีเแกเช่นวันแรกที่เราติดตั้งหรือไม่    จนได้มีโอกาสไปเรียนหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวระบบPACS ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น   จึงทำให้เกิดความรู้เพิ่มเติม  และเริ่มมีการนำวิธีการทดสอบที่ได้เรียนรู้มานำมาใช้ควบตุมคุณภาพเครื่องมือในการสร้างภาพดิจิตอล  เพื่อให้ผู้รับบริการมั่นใจได้ว่าภาพรังสีที่ได้ มีคุณภาพอย่างแท้จริง

วันนี้จะมาคุยกันเรื่องการตรวจสอบคุณภาพความเป็น Uniform ของแผ่น CR image plate   โดยทั่วไปเมื่อเราให้ปริมาณรังสีจำนวนหนึ่งกับ CR image plate ทั่วทั้งแผ่น ผลึกที่อยุ่ psp ควรจะรับรังสีได้เท่ากับ  และเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยแสงเลเชอร์ก็ควรจะเปล่งแสงเท่าๆกัน  ส่งผลให้ภาพรังสีมีความดำเท่าๆกัน  

แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นเราว่าภาพที่ได้ออกมามีความดำไม่เท่ากันทั่วทั้งแผ่น

แล้วเท่าใดจึงยอมรับว่าแผ่นIPนี้ยังมีคุณภาพและอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้  ดูจากรูปเลยนะครับ ความจริงมีหลายเกณฑ์แต่เห็นว่าAAPM ง่ายดีก็เลยเอาให้เล่นกันก่อน   วันหลังจะเอาของIPEM มาให้ลองเล่นกัน

มาเริ่มทดสอบCR image plate ของคุณๆผมๆเลยดีกว่านะครับ

1.สิ่งแรกที่เราต้องทำคือหาโดสที่จะให้กับCR image plate เราเสียก่อน  ซึ่ง aapm กำหนดไว้ 1mR ที่SID 180 cm โดยที่ใช้ 80 kV mas เท่าไหร่ก้ได้ แต่ต้องให้ได้ปริมาณรังสี 1mR

2. เมื่อได้dose ที่ต้องการแล้วทดลองอีก -3 เพื่อให้เชื่อได้ว่าDose ที่ได้ถูกต้องแม่นยำ

3. นำแผ่นเพลสที่เราจะทดลองไปทำการลบสัญญาณก่อนนำไปทดสอบ

4. วางแผ่นCR image plate ในตำแหน่งเดียวกันกันที่เราหาโดสได้ 1 มิลิเรนเกน(1mR)แล้วยิงแสง ตามคู่มือของAAPM กล่าวไว้ว่าตอนหนึ่งว่าถ้าได้ในระยะที่ปัจจัย heel effect ไม่มีผลสามารถ ยิงได้ในครั้งเดียว  แต่ถ้าไม่แน่ใจ ให้ยิงครึ่งหนึ่งของโดสที่หาได้(0.5mR) แล้วหมุนแผ่น IP  ให้ได้180 องศาแล้วยิง ปริมาณอีกครึ่งหนึ่ง (คล้ายกับวิธีการทดสอบของIPEM ฉบับ 32ส่วนที่7 ต่างกันตรงปริมาณรังสีที่ให้ IPEM .ให้10 ไมโครเกย์)

5. นำ CR image plate ไปสร้างภาพที่CR Reader

6. นำภาพที่ได้ไปหาค่าPixel Value ในโปรแกรม ImageJ

7. นำไปเทียบกับเกณฑ์ของแต่ละยี่ห้อ  ของผมใช้  iCRco  เขาว่าPVSD ต้องน้อยกว่า 400 ซึ่งแผ่น CR image plate แม้ดูหน้าตาไม่น่าผ่านแต่ก็ยังพอรับไหว

ลองทำดูนะครับว่าแผ่นCR image plate ของพวกเรายังใช้ได้อยู่ในมาตราฐานกันหรือเปล่า

มือใหม่หัดทำหัดเขียนนะครับ  ยังไงติชมให้กำลังใจกันได้  ยังมีอีกหลายเรื่องครับจะพยายามทำมาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆทุกคน

หมายเลขบันทึก: 579406เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน คุณโสภณ 

ชื่นชมในการนำความรู้ไปใช้ และการเผยแพร่ผลงาน

มีข้อแนะนำดังนี้ ครับ 

1. ในเนื้อหาที่เห็น มีการใช้คำว่า dose โดส บ่อย 

สำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับรังสี จะเข้าใจกันว่า dose ที่กล่าว คือ radiation dose (ปริมาณรังสี) 

เสนอแนะ ต่อไปอยากให้ใช้ radiation dose แทน dose เพื่อสร้างพื้นฐานการเขียนให้ผู้อยู่นอกวงการอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น 

เนื่องจาก dose อาจหมายถึง ปริมาณยา หรือ สารเคมี ที่ใช้ก็ได้ 

2. โอกาสพัฒนา นำงานที่นำเสนอ เขียนเป็นบทความวิชาการ เพิ่มเติม เอกสารอ้าง แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มพูนทักษะ สู่ผู้ชำนาญการพิเศษ หรือเชี่ยวชาญ ได้นะครับ

3. การที่จะช่วยส่งข้อมูลให้แพร่หลายมากขึ้น สามารถ Link เนื้อหาที่เขียน เช่น https://www.gotoknow.org/posts/579406 แล้วขึ้นใน Facebook หรือ E-mail เพื่อน 

เพื่อสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็วขึ้น

4. ขอบคุณ สำหรับการเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชม ในการนำองค์ความรู้ไปใช้และเผยแพร่ 

หาก เราทำ แต่งานปกติทั่วไปๆ แล้วไม่ลงมือสร้างผลงานใหม่ๆ ที่ท้ายทาย เลย

เรา ก็จะไม่รู้ว่า... เราสามารถสร้างผลงานที่สิ่งพิเศษ ได้เหมือนกัน 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท