ประสบการณ์ดีๆจากการฝึกงาน ในฐานะ "นศ.กิจกรรมบำบัด"


เนื่องจากในวันนี้ วันที่ 27 ตุลาคม ของทุกๆปี เป็นวันกิจกรรมบำบัดสากล ดิฉันในฐานะ นศ.กิจกรรมบำบัด จึงอยากจะเล่าและถ่ายทอดถึงประสบการณ์ดีๆที่ได้จากการไปฝึกงานที่ ตจว. 

หวังว่าเมื่อทุกคนได้อ่านแล้วจะรู้สึกดี เหมือน ที่ฉันรู้สึก นะค่ะ ><

ณ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จ.สุโขทัย ดิฉันและเพื่อนของดิฉัน นศ.กิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ได้มาเป็น นศ.ฝึกงานที่รพ.แห่งนี้ วันแรกของการฝึกงานฉันตื่นเต้นมากทั้งที่ฝึกมาแล้ว 2 ครั้ง “แต่นี่มันเป็นครั้งแรกที่เราฝึก ตจว. นิน่า”“จะเจอคนไข้แบบไหนนะ” “พี่CIหรือพี่ที่คุมพวกเราจะดุมั้ยอ่ะ กลัวจัง” แต่ฉันก็คิดในใจและพูดกับตัวเองว่า “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฉันจะทำให้เต็มที่ที่สุดนำความรู้ประสบการณ์ที่ผ่านมา บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยอย่างดีที่สุด” เมื่อพบกับพี่ CI ก็เป็นไปอย่างที่ฉันหวังไว้ พี่เค้าทั้งใจดี ทั้งเก่ง และเป็นกันเอง คอยห่วงใยเราตลอด

และในวันนี้ เคสแรกที่ฉันได้รับมอบหมายในการตรวจประเมินและบำบัดฟื้นฟู เป็นผู้ป่วยเพศชายนามสมมุติว่า นาย บ. เขานั่งรถเข็นเข้ามาแต่งกายสะอาดเรียบร้อยใส่ผ้าพันช่วยพยุงแขนข้างขวา สีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับผู้หญิงที่เป็นคนเข็นซึ่งก็คือแม่ของเขานั่นเอง จากนั้นฉันจึงเดินไปดูที่แฟ้มประวัติ อ่านและพบว่า เขาอายุ35ปี มีภาวะโรคหลอดเลือดในสมอง CVA ทางสมองฝั่งซ้ายและได้เข้ารับการผ่าตัด จึงส่งผลทำให้ นาย บ. ซึ่งส่งผลทำให้นาย บ. มีความผิดปกติทางร่างกายเกิดขึ้น

เมื่อได้อ่านประวัติแล้วฉันก็เดินเข้าไปหาเขา และพูดว่า “สวัสดีค่ะ” นาย บ. พูดตอบฉันมาว่า “สา หวัด ดี ค๊าบบ” "พร้อมกับพยายามยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นมาไหว้ แถมยังมีน้ำลายไหลออกมาที่มุมปากอีกด้วย” จากนั้นฉันก็เริ่มทำการตรวจประเมินร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งก็พบความผิดปกติหรือปัญหา ได้แก่ อาการเกร็งหรือความคงตัวของกล้ามเนื้อของแขนด้านขวาที่มากกว่าปกติ(Spastic) , ไหล่หลุด ,พูดไม่ชัด, ขยับแขนข้างขวาได้เพียงเล็กน้อย , หรือมีสมาธิในการทำกิจกรรมที่สั้นลง , ไม่สามารถเรียงลำดับขั้นตอนง่ายๆได้ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมา ส่งผลให้นาย บ. ไม่สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันและกลับไปทำงานเดิมคือ เกษตรกรที่ตัวเองเคยทำได้ และจากการสอบถามข้อมูลจากคุณแม่เกี่ยวกับในเรื่องของการจัดสภาพบ้าน คุณแม่นาย บ. พูดว่า “อ่อ!! หมอนนอร์ท (CI) เคยมาเยี่ยมบ้านและแนะนำ แล้วฉันก็เอาไปทำตามแล้ว” และยังพูดอีกว่า “เนี่ย!! นาย บ. เค้าอยากจะหายไวไวจังเลย เขาขยันมากเลยนะอยู่ที่บ้านก็ออกกำลังพยามทำอะไรด้วยตัวเอง”“เมื่อไหรมันจะดีขึ้นล่ะ คุณหมอ อีกนานมั้ย!!!” ขณะนั้น ฉันก็เหลืบไปมอง นาย บ. ฉันเห็น นาย บ. มีสีหน้า “เศร้าๆและมีน้ำตาคลอ” ฉันจึงบอกกับทั้ง 2 คนไปว่า “การฟื้นคืนของอาการมันก็มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง การฟื้นตัวของสมอง สภาพแวดล้อม อาหารการกิน คนรอบข้าง และสิ่งที่สำคัญมากๆ คือ ตัวผู้ป่วยเอง สิ่งแรกที่ต้องมีคือกำลังใจ ความมุ่งมั่นตั้งใจ เมื่อกำลังใจเราดีแล้วร่างกายมันก็จะดีตามมาเอง” เมื่อฉันให้คำแนะนำคำปรึกษาเรียบร้อย เขาทั้งคู่ก็กลับไป เราจะเจอกันใหม่สัปดาห์หน้า โดยเขาจะมาอาทิตย์ล่ะ 1 ครั้ง เย็นวันนั้นฉันก็กลับไปคิดว่า สำหรับเคสนี้มันเป็นเคสที่ “ยากและท้าทาย” สำหรับฉันเหมือนกันด้วยปัญหาที่มีหลายประการประกอบกับสภาพจิตใจของทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล มันจึงทำให้ฉัน “มีแรงฮึด!” อยากที่จะช่วยพัฒนาให้เขาดีขึ้นมากที่สุดในตอนที่ฉันยังฝึกงานอยู่ที่นี่

1 อาทิตย์ผ่านไป นาย บ. และแม่ของเขาก็มาพร้อมกับสีหน้าที่ดูสดชื่นมากขึ้น แม่นาย บ. พูดว่า “พอกลับไปที่บ้าน เขาก็ค่อยๆเริ่มฝึกมีบางอย่างที่เขาทำไม่ได้ก็จะหงุดหงิดเป็นบางครั้ง แต่น้อยลงนะ” ฉันก็ตอบกลับไปว่า “โอเค งั้นดีเลยค่ะ งั้นวันนี้เรามาค่อยๆฝึกกันนะค่ะค่อยๆเป็นค่อยๆไปไม่ต้องรีบ ฝึกบ่อยๆเดี๋ยวมันจะดีขึ้นแน่นอน” ฉันก็เริ่มทำการบำบัดฟื้นฟูตามหลักการทางกิจกรรมบำบัด โดยใช้เทคนิกต่างๆเหล่านี้

  • 1. ลดอาการเกร็ง(Spastic)และลดอาการไหล่หลุด(Shoulder Subluxation) โดยใช้หลักของ Neurodevelopmental FoR
  • -ให้คำแนะนำในการจัดท่า(Positioning) ที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งที่ รพ.และที่บ้าน
  • -ให้ลงน้ำหนัก (Weight bearing) การจัดท่า RIP (RIP คือ การจัดท่าทางส่วนต่างๆของร่างกายให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามกับอาการเกร็งที่เกิดขึ้น) เหยียดแขนและเหยียดนิ้วมือแบมือไปทางด้านข้างเท้าแขนไว้บนเก้าอี้อีก 1ตัวที่วางติดกันจากนั้นนำของหนักๆ1-2 Kg. เช่น ถุงทราย ทิ้งไว้ประมาณ15-20นาที (ขึ้นอยู่กับอาการเกร็ง)
  • -เพิ่มการรับรู้ที่ข้อต่อ(Light joint compression) เป็นการให้แรงกดโดยจับที่ข้อศอกกางประมาน 45 องศา และจับตัว นาย บ. ให้อยู่ในท่าตรง จากนั้นออกแรงดันที่ศอกให้ นาย บ. รู้สึกว่ามีแรงกดที่หัวไหล่ ประมาณ15-20 ครั้ง
  • -Mirror therapy ซึ่งเป็นการบำบัดรักษาอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ นาย บ. สามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวของแขนได้ดีขึ้น
  • 2. เพิ่มการเคลื่อนไหวของแขนข้างขวา (Increase voluntary movement)จากระดับ 3 ไปเป็นระดับ 4 โดยใช้หลักของ Rehabilitation FoR
  • -กิจกรรม Bilateral Activity คือกิจกรรมที่ใช้มือทั้ง 2 ข้างในการทำกิจกรรมร่วมกันประสานมือกัน เช่น หยิบบอลใส่ตะกร้าตามสีที่กำหนด หรืออาจเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจะวัน เช่น การถูเช็ดโต๊ะ รินน้ำใส่แก้วที่ละใบ เป็นต้น
  • -Rest มีการพักขณะทำกิจกรรมเป็นช่วงๆเมื่อ นาย บ. มีอาการเหนื่อยล้าหรือมาอาการเจ็บที่หัวไหล่
  • 3.เพิ่มช่วงความสนใจ (Improve Attention span) จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อาจเลือกกิจกรรมที่มีความหมายหรือสามารถดึงดูดความสนใจได้
  • 4.เพิ่มระดับความคิดความเข้าใจ (Cognition) โดยเน้นในเรื่องของการเรียงลำดับขั้นตอนต่างๆ(Sequencing) เช่น กิจกรรมการเรียงลำดับขั้นตอนการอาบน้ำหรือแต่งตัวจากแผ่นการ์ดรูปภาพเมื่อทำได้แล้วอาจปรับกิจกรรมให้ยากขึ้น เปลี่ยนเป็นตัวอักษรแทนรูปภาพ และสุดท้ายจะเป็นการจำลองสถานการณ์จริง และให้นาย บ. ได้ปฏิบัติ
  • 5.ผู้บำบัดจำทำเครื่องดามมือ(Anti-Spastic Splint) ให้นาย บ. ให้ใส่ตลอดเวลา ยกเว้น การอาบน้ำ เข้าห้องน้ำ การแต่งตัว

ซึ่งการบำบัดรักษาที่ได้กล่าวมาก็ได้ทำสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละอาทิตย์ จนในอาทิตย์สุดท้ายทีฉันต้องอยู่ที่นี่ ฉันก็ “รู้สึกใจหาย”เหมือนกันค่ะ ที่จะต้องไปจากที่นี้แล้ว แม้การรักษา ความพัฒนาความก้าวหน้าของนาย บ. จะยังพัฒนาได้เพียงเล็กน้อย แต่ฉันก็ “ภูมิใจ” ในตัวเองค่ะที่สามารถทำให้เขากลับมาทำกิจวัตรประจำวันของตัวเองได้มากขึ้น เริ่มจดจำขั้นตอนได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนมากขึ้น

วันที่ฉันต้องเดินทางกลับบ้าน ขณะที่รถกำลังแล่นออกจาก รพ. ฉันมองและเก็บภาพทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัว เก็บภาพให้ได้มากที่สุดและจดจำมันไว้ ว่าครั้งหนึ่งเราได้เคยมาที่นี่ ได้มี “ความรู้สึกผูกพัน” กับคนที่นี่กับพี่ๆCIพี่ๆนักกายภาพบำบัดกับผู้ป่วยครอบครัวผู้ป่วย คนที่นี่ “เป็นคนมีน้ำใจ”ใจมากค่ะ มีของติดไม้ติดมือมาให้เราทานได้ตลอด แม้ฉันจะบอกว่า “ไม่เป็นไรค่ะ” แต่พวกเขาก็ยืนยันที่จะให้ ฉันรู้สึกโชคดีมากค่ะ ที่ได้มาที่นี่และจะไม่ลืมสถานที่แห่งนี้ “โรงพยาบาล ศรีสังวรสุโขทัย”

หมายเลขบันทึก: 579312เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2014 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2014 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท