เอกสารเผยแพร่ผลงานวิจัย


ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้รายงาน : นางกรรณิการ์ เนียมชัยภูมิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนขาม
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2556

:: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ::

รายงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รายงานกระบวนการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ประเมินคุณลักษณะความพอเพียงแห่งตนของผู้เรียนโรงเรียนบ้านโนนขาม ซึ่งมีขอบเขตของการพัฒนา ใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วางแผน (Plan) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการ (Act) ขั้นตอนที่ 3 การสังเกต (Observe) ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อน (Reflect)
ผลการพัฒนา พบว่า
1. คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครอง และตัวแทนผู้เรียนโรงเรียนบ้านโนนขาม มีส่วนร่วมในการวางแผน (Plan) การปฏิบัติการ (Act) การสังเกต (Observe) และการสะท้อน (Reflect) การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมหลักที่ 1 ปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน โดย ร่วมกันปรับพื้นที่ภายในโรงเรียนเพื่อทำแปลงเกษตร ร่วมกันขุดลอกบ่อเลี้ยงปลา ร่วมกันจัดทำโรงเรือนเลี้ยงไก่ ร่วมกันสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ร่วมกันจัดทำเล้าหมู ร่วมกันการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องส้วม สนามเด็กเล่น ห้องเรียน ห้องพักครู ร่วมกันซ่อมครุภัณฑ์ จัดหาครุภัณฑ์ ปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคารเรียนร่วมกันปรับปรุงระบบประปา น้ำดื่มน้ำใช้ ติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ร่วมกันปรับปรุงถนนภายใน ร่วมกันจัดทำธนาคารขยะ และร่วมกันจัดทำจุลินทรีย์ชีวภาพ กิจกรรมหลักที่ 2 พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดย ร่วมกันออกแบบวิธีการ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปยังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และในทุกระดับชั้นร่วมกันออกแบบวิธีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปยังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และในทุกระดับชั้น ร่วมกันจัดทำแผ่นพับ ให้ความรู้เพื่อประชาสัมพันธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกันจัดกิจกรรมเสียงตามสายเพื่อประชาสัมพันธ์การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันออกเยี่ยมชุมชน และเป็นวิทยากรให้ความรู้ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. คุณภาพของการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพเป็นรายข้อ ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และในทุกระดับชั้น โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาจัดป้ายนิเทศหรือมุมความรู้ในแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะของความพอเพียง เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ส่งผลให้ คุณลักษณะความพอเพียงแห่งตนของผู้เรียนโรงเรียนบ้านโนนขาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีคุณลักษณะความพอเพียงแห่งตนอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านพฤติกรรมการควบคุมตนเอง เป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านพฤติกรรมความประหยัด ด้านพฤติกรรมความมีวินัยต่อตนเอง และด้านพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเอง ตามลำดับ ตลอดจนผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม เป็นคนตระหนักถึงความอดทน พากเพียร รอบคอบ รู้จักประหยัด เสียสละ ซื่อสัตย์ มุ่งมั่นต่อการเรียน มากขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม
3. เพื่อให้การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนบ้านโนนขาม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความยั่งยืนในการพัฒนา สามารถกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพิ่มเติม ได้ดังนี้
3.1 กำหนดให้มีการประชุมของคณะครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เพื่อติดตามประเมินผลการทำงานของแต่คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม
3.2 กำหนดให้หลังเลิกเรียนทุกวันพฤหัสบดีเป็นวันที่คณะครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมกันทำความสะอาดชุมชนของตนเอง โดยทุกคนที่อาศัยอยู่ในแต่ละบ้านช่วยกันดูแล ความสะอาด พัฒนาชุมชน และครูก็ใช้โอกาสนี้เยี่ยมบ้านผู้เรียน พบปะผู้ปกครองเพื่อพูดคุยเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 กำหนดให้ผู้ปกครองที่มีความรู้ ความสามารถในแต่ละด้าน ช่วยเป็นวิทยากร ให้ความรู้ สอนผู้เรียนในโรงเรียนตามโอกาสที่เหมาะสมตามที่โรงเรียนขอความอนุเคราะห์ เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.4 จัดกิจกรรมเข้าค่ายให้แก่ คณะครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความตระหนัก (Awareness) และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.5 กำหนดให้ผู้ปกครองร่วมปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา
3.6 กำหนดให้คณะครู และผู้ปกครองร่วมกันสังเกต ติดตาม ประเมินผลพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ของผู้เรียนขณะปฏิบัติกิจกรรมและหลังปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสิ้นสุดลง
3.7 กำหนดให้ชุมชน หาวิธีการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้พยายามนำองค์กรข้างนอก เข้ามาช่วยเหลือทั้งทางด้านเงินทุน กิจกรรมเสริม เพื่อสร้างองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักให้แก่ผู้เรียนและเยาวชน ให้มีความประพฤติไปในแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.8 ผู้บริหารทำหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อช่วยเหลือ เสนอแนะการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.9 โรงเรียนควรจัดประชาสัมพันธ์ผลงานการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบ เป็นระยะ ๆ
3.10 กำหนดให้นำกิจกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เป็น แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปไว้ในหลักสูตร โดยบูรณาการการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

3.11 กำหนดให้ผู้เรียนทำโครงงานภาคเรียนละ 1 เรื่อง จากแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งที่มีอยู่ในโรงเรียน และที่บ้าน เพื่อให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน

หมายเลขบันทึก: 579271เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท