เก็บตกวิทยากร (16) : ทวนซ้ำกระบวนการสู่การเรียนรู้ใหม่


ก่อนนำเข้าสู่เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการนำเข้าสู่ “กระบวนการเรียนรู้” เสมือนการที่ครูคนหนึ่งจะต้องสอนหนังสือ ย่อมต้องมีการนำเข้าสู่การเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งครูอาจทำหน้าที่ด้วยตนเอง หรือมอบหมาย-สร้างกระบวนการให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยตัวของผู้เรียน


เวที “การสัมมนาเสริมทักษะนิสิตนักศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน“ (วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๗) ก็เช่นเดียวกัน ภายหลังพิธีการพบปะอย่างเป็นทางการเสร็จสิ้นยุติลง ทีมกระบวนกรจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็ขยับขึ้นมารับช่วงภารกิจอย่างเต็มตัว หลักๆ เป็นทีมที่บูรณาการจากกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต กลุ่มงานกีฬาและนันทนาการ และงานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศนิสิต - ส่วนผมนั้น นั่งดู นั่งฟัง...(ประเมินผล)

ทีมกระบวนกรมอบหมายคุณสุริยะ สอนสุระ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานกิจกรรมนิสิต ได้รับมอบหมายจากทีมงานฯ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าสู่การเรียนรู้ด้วยการ “สะท้อนผลการเรียนรู้ ครั้งที่ ๑” (วันที่ ๒๑-๒๒ กันยายน ๒๕๕๗)



ครับ-ผมไม่ได้เข้าไปข้องแวะอะไรกับการสังเคราะห์กระบวนการและผลลัพธ์ของกระบวนการที่ผ่านมาในครั้งที่ ๑ ถึงแม้เจ้าตัวจะออกตัวเกริ่นไว้ว่า หากสังเคราะห์เสร็จจะส่งมาให้ผมตรวจทานก่อนการเผยแพร่ ซึ่งผมได้แต่ตอบตรงๆ นิ่งๆ เนียนๆ ว่า “ครับ”

(หากแต่ในความเป็นจริง ผมรู้ดีว่า แม้ส่งมาให้ ก็ไม่มีความจำใดๆ ที่ต้องติชม หรือแนะนำใดๆ เพราะในเนื้อแท้ผมต้องการให้คนในทีมที่รับช่วงงานไปนั้นได้เรียนรู้ที่จะปรึกษาหารือกับเพื่อนร่วมทีมเป็นสำคัญ ไม่ใช่อะไรๆ ก็ยึด (ติดยึด) ผมเป็นศูนย์กลางไปซะทุกเรื่อง) –

และที่สำคัญคือ... ก่อนนั้น ผมได้แนะนำไปหลายครั้งแล้วว่าควรต้องทำอย่างไร และต้องเขียนสะท้อนอย่างไร...




กระบวนกรและถัดจากนี้ไป คือส่วนหนึ่งในกระบวนการที่คุณสุริยะ สอนสุระ ได้สะท้อนกระบวนการเรียนรู้ในครั้งที่ ๑ ให้กับนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ได้ร่วมรับรู้ รับฟัง

ซึ่งมีทั้งที่เป็นคนเก่าจากเวทีครั้งที่แล้ว และคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาร่วมเรียนรู้ในเวทีครั้งนี้ -


  • (๑) กระบวนการปรับความคาดหวัง : ประเมินความคาดหวัง : BAR

  • (๒)กิจกรรมละลายพฤติกรรม : สุนทรียสนทนา : รู้จักฉันรู้จักเธอ(๑)

  • (๓)กิจกรรมละลายพฤติกรรม : ปมมนุษย์

  • (๔)กิจกรรมสถานีการเรียนรู้เพื่อสังคม

  • (๕)กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้หลากมิติผ่านโมเดลพับปลากระดาษ สู่โมเดลการจัดการความรู้และชีวิต

  • (๖)กิจกรรมรู้จักฉันรู้จักเธอ (๒)

  • (๗)กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานจิตอาสา : โครงการในฝัน (PBL)

  • (๘)กิจกรรมสถานการณ์เฉพาะกิจ ความคิดเฉพาะตนข้ามพ้นความเป็นทีม : แนวคิดการเรียนรู้ชุมชน

  • (๙) กิจกรรมประเมินผลการเรียนรู้ : AAR

หมายเลขบันทึก: 579214เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2014 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนุกมากครับ เรียนรู้ร่วมกัน ฉันเพื่อนเธอ

ขอชื่นชมครับอาจารย์ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนะครับ

การมีส่วนร่วม  ===>  ใช้ได้ดีเสมอ  นะคะ ....  ร่วมคิด  ร่วมทำ/ปฏิบัติ   ร่วมตรวจสอบ   ร่วมประเมินผล  และ  ร่วมรับผลประโยชน์ด้วยกัน   นะคะ

เยี่ยมเลยค่ะอาจารย์

เป็นการทบทวนที่มีค่ามาก

ได้เรียนรู้กิจกรรมต่างๆจากที่เราทบทวนว่าควรปรับปรุงตรงไหน

เหมือนทำ AAR แต่ละกิจกรรมเลย

ขอบคุณมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท