บันทึกอนุทินครั้งที่ 5 เรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) บันทึกโดย นางสาวผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์


                                                 บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา                    การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

รหัสวิชา             102611

เรื่อง                   กระบวนการจัดการความรู้

อาจารย์ผู้สอน    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร  เนาวนนท์

บันทึก                วันที่  24 สิงหาคม 2557

ผู้บันทึก             นางสาวผกาวรรณ  สุวรรณภูมานนท์   รหัสนักศึกษา 57D0103110

                         นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ หมู่1 รุ่นที่ 13


การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

            ดิฉันได้เตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนเรื่อง กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management   Process) โดยการศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้  หรือพัฒนาความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

           1)  การบ่งชี้ความรู้  เช่น  พิจารณาว่า  วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าหมาย  คืออะไร  และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

           2)  การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

           3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

           4)  การประมวลและกลั่นกรองความคิด เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

           5)  การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board, บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

          6)  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ทำได้หลายวิธีการโดยกรณีเป็น Explicit Knowledge  อาจจัดทำเป็นเอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจะทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและสายงาน, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, การสับเปลี่ยนงาน, ระบบพี่เลี้ยง  เป็นต้น

          7)  การเรียนรู้  ควรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์กรความรู้ > นำความรู้ไปใช้ > เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

        ดังนั้น  การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้  นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ


สิ่งที่คาดหวังจากการเรียน

        ดิฉันมีความคาดหวังว่า ดิฉันจะเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการจัดความรู้จากการฟังบรรยายมากขึ้น และสามารถนำความรู้ไปอธิบายให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วย


ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

           จากเนื้อหาการฟังบรรยายในวันนี้การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยวิธี Knowledge Management (KM) เราจะมีกระบวนการจัดการความรู้อย่างไร (Knowledge Process)

           1.  การค้นหาความรู้  องค์กรมีความรู้อะไร รูปแบบใด อยู่ที่ใคร ความรู้อะไรที่องค์กรต้องการมี ใช้ Knowledge Mapping      เป็นเครื่องมือ

                 การทำ KM ต้องวางกรอบให้ชัดเจนว่า เราจะใช้ทำอะไร มีวิธีการอย่างไร

           2.  การสร้างและแสวงหาความรู้   ได้มาจาก

                                                               KNOWLEDGE MAPPING

        รู้ว่าไม่มีความรู้ที่จำเป็นต้องมี  >>>>>  สร้างความรู้จากความรู้เดิม

                                                >>>>>  การแลกเปลี่ยนหรือนำจากภายใน

                                                 >>>>>  เชิญวิทยากรมาบรรยาย 

                                                 >>>>>  การศึกษาดูงาน   

        รู้ว่ามีความรู้อะไร                  >>>>>  ดึงความรู้ที่มีมารวบรวมจัดทำให้ตรงกับความต้องการของ

                                                         ผู้ใช้            

         3.  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  ให้มีความต่อเนื่องเป็นหมวดหมู่ เช่น จัดทำสารบัญ จัดหมวดหมู่แยกประเภท เพื่อค้นหาได้สะดวก

         4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้  คือความถูกต้องและความเหมาะสมของความรู้ วิธีการกลั่นกรองอาจใช้ได้ดีกับที่หนึ่ง แต่อีกที่หนึ่งอาจใช้ไม่ได้ เช่น จัดทำเอกสารให้ได้มาตรฐาน

         5.  การเข้าถึงความรู้  โดยมีหลักการ ต้องทำให้เข้าถึงได้ง่าย มี 2 ลักษณะ คือ

               (5.1) การป้อนความรู้ ไม่ต้องร้องขอ เรียกว่า SUPPLY - BASED  เช่น หนังสือเวียน

               (5.2) การให้โอกาสใช้ความรู้ ผู้ใช้เลือกใช้เฉพาะข้อมูล/ความรู้ ที่ต้องการเท่านั้น DEMAND - BASED

         6.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น ครูยิ่งสอนยิ่งเก่ง, นักเรียนยิ่งเรียนยิ่งรู้ (ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งมาก) โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ จะช่วยให้การเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น Webblog  การบันทึกความรู้ อนุทิน ใช้ได้ดีกับ EXPLICIT KNOWLEDGE เท่านั้น เช่น เทคนิคการสอน STAD, TGT ฯลฯ หัวใจ KM อยู่ที่ TACIT KNOWLADGE ต้องใช้กระบวนการ SOCIALIZATION

         7.  การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทิศทาง/ค่านิยมขององค์กร  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของ KM คือ การเรียนรู้ของบุคคลและการนำความรู้นั้นไปใช้ตัดสิน แก้ปัญหา ปรับปรุงองค์กร

        *  จากกระบวนการจัดความรู้ทุกข้อ 1-6 ทำได้ดี แต่ถ้าขาดข้อ 7 ทุกอย่างก็สูญเปล่า

        สรุป

                                             KNOWLEDGE  PROCESS

      1.  ค้นหา

      2.  สร้างแสวงหา

      3.  จัดระบบ

      4.  กลั่นกรอง

      5.  เข้าถึง

      6.  แบ่งบัน

      7.  การเรียนรู้สอดคล้องกับทิศทาง/ค่านิยมขององค์การ


                                                      วงจรการเรียนรู้

                                องค์ความรู้ >>>นำความรู้ไปใช้>>>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่

     สรุป = ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด

       ปัจจัยที่ทำให้ Knowledge  Management (KM) ประสบผลสำเร็จ   KM คือส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ

       1.  LEADERSHIP AND STRATEGY

              - ผู้นำต้องเข้าใจ เข้าถึงและตระหนักถึงประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจาก KM

              - สื่อสารและผลักดันให้มี KM ในองค์กร

              - กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของ KM ให้ชัดเจน

             *ต้องตอบคำถาม 3 ข้อนี้ให้ได้

       2.  CULTURE เป็นวัฒนธรรมองค์กร มีการแลกเปลี่ยนความรู้แบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลในองค์กรไม่หวงความรู้

             *นี่คือ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จใน KM

               ทัศนคติที่เป็นอุปสรรค คือการมีทัศนคติที่ว่า ความรู้คืออำนาจ (กลัวหมดอำนาจจึงไม่แบ่งบัน) และมองคนอื่นว่าอวดรู้

         3.  เทคโนโลยี  ระบบอินเทอร์เน็ต  อินทราเน็ต  ฐานข้อมูลที่ทันสมัย IT

         4.  MEASUREMENTS

            - องค์กรไม่สามารถทราบสถานะที่แท้จริงได้ ถ้าไม่มีการวัดผล

         5.  INFRASTRUCTURE

             - ที่จับต้องได้        - อาคาร, สถานที่

               - ที่จับต้องไม่ได้    - โครงสร้างของหน่วย

                                                  - ระบบงาน

                                                  - ระบบ HRM

                                                  - โครงสร้างของคนใน KM

                                                  - ระบบการประเมินผล

                                                  - ระบบการยกย่องชมเชย

                     *บรรยากาศต้องเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

        ขั้นตอนการทำ Story Telling

         1.  กำหนดเป้าหมายที่จัดเจน        - สาธิต Story Telling

         2.  จำแนกกลุ่มย่อย  10 - 15 คน   - ทุกคนคือผู้ปฏิบัติงานจริง

         3.  ไม่ปรุงแต่งเรื่อง  ผู้ฟังตั้งใจให้เกียรติ

         4.  - สรุป  ประธานสรุปเป็นระยะ ๆ

               - สร้างบรรยากาศกัลยาณมิตร

               - ถามอย่างสร้างสรรค์เพิ่มคุณค่า

         5.  - สมาชิกช่วยกันสรุปเรื่องเล่า

               - กลั่นกรองและบันทึก


ตารางบันทึกผลสรุป Story Telling (รายบุคคล)

ชื่อผู้เล่า
ประเด็นเรื่องเล่า
สิ่งที่ผู้เล่าภูมิใจ
ใช้ชีวิตสู่ความสำเร็จอย่างไร
ใช้เทคนิคกลยุทธ์อะไร
ใช้เครื่องมืออะไร
ความเชื่อ/แนวคิดของผู้เล่า
อื่น ๆ
                          


          จากความรู้ที่ได้รับการฟังบรรยาย  ดิฉันมีความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องการจัดกระบวนการความรู้ โดยเฉพาะเรื่องการเขียน Story Telling ดิฉันสามารถนำความรู้ไปอธิบายเพื่อนได้


ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน

               Knowledge Management (KM) จะไม่เกิดขึ้นถ้าบุคคลนั้นเป็นคนไม่อยากรู้อยากเห็น กระบวนการจัดการความรู้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ปฏิบัติตามทั้ง 7 ขั้นตอน ให้งานมีประสิทธิภาพ และต้องได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง


การนำความรู้ไปใช้

             สามารถนำความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ไปใช้พัฒนางานองค์กรภายในโรงเรียน เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  การพัฒนาสื่อการสอน  โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริหารต้องมีหน้าที่หลักในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เพื่อก่อให้เกิดทีมงานที่ดี  จากนั้นนำข้อมูลที่จัดกระทำเผยแพร่สู่สาธารณะ  เช่น  ลงเว็บไซต์  จัดทำเป็นหนังสือ  เพื่อแสดงถึงการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้


บรรยากาศการเรียน

            สภาพห้องเรียนเหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างเพียงพอ  สื่อการเรียนการสอนทันสมัย  ห้องเรียนสะอาด โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา


ความรู้สึกต่ออาจารย์ผู้สอน

           ท่านอาจารย์มีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักศึกษา ให้ความเป็นกันเอง สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนไม่ตึงเครียด  บางครั้งสอดแทรกอารมณ์ขันในระหว่างการบรรยาย  ท่านอาจารย์เป็นตัวอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้  คือ  การบรรยายจะมีการยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวนักศึกษาทำให้มองเห็นภาพ  และพยายามส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้


ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อน

           เพื่อนนักศึกษาให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน มีการจดบันทึกความรู้ ร่วมกันตอบคำถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันทำให้เกิดความอบอุ่นในระหว่างการเรียน

หมายเลขบันทึก: 579067เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2014 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท