แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


After Action Review

เรื่อง แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ชื่อนางสาวเสาวลักษณ์ บรรดาศักดิ์รหัส 57D0103120สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

วิชา การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผู้สอน ผศ.ดร.อดิศรเนาวนนท์ วันที่บันทึก 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

องค์ความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยาย เรื่องแนวโน้มในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 บรรยายโดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

การที่ผู้สอนจะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น ผู้สอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล สอบถามข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวผู้เรียน ครอบครัว ความเป็นอยู่ของผู้เรียน และ สิ่งที่ผู้เรียนชอบทำหรือชอบเรียน การศึกษาผู้เรียนรายบุคคลเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากกิจกรรมหนึ่ง เพราะจะทำให้ผู้สอนได้รู้ข้อมูลหรือประวัติส่วนตัวของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะทำให้ผู้สอนเข้าใจผู้เรียน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี



 แนวทางการจัดการเรียนการสอน ที่กระตุ้นให้ ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการลงมือกระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง เรียนรู้เนื้อหาสาระ ลงมือทำใบกิจกรรม หรือพูดคุยค้นหาคำตอบซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มจะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและท้ายที่สุด ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน

การจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child- oriented approach) หมายถึง แนวการสอนที่เน้นเป็นไปตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดของเด็ก ซึ่งอาจเป็น Teacher- centered หรือ Child- centered ก็ได้

-Teacher centered มีการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เน้น knowledge จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูจะเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ มีการประเมินผลการเรียนรู้โดยการสอบวัดความรู้ ครูจะมีบทบาทเป็น Teacher ส่วนนักเรียนจะมีบทบาทเป็น Listener

-Child centeredกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เน้น Knowledge, Process และAttitudeจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนักเรียนจะทำกิจกรรมสร้างความรู้ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ และนักเรียนใช้กระบวนการเรียนรู้ มีการประเมิน Knowledge, Process และ Attitude ใช้แบบประเมินตามสภาพจริง ครูมีบทบาทเป็น Facilitator และนักเรียนมีบทบาทเป็น Learner

การเรียนรู้เน้นทีม (Team Learning) มีขั้นตอนดังนี้

1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6-8 คน

2) กำหนดหมายเลขและกำหนดบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม (หัวหน้า, ผู้ประสานงาน, เลขา, ผู้นำเสนอ)

3) ใช้กระบวนการกลุ่ม ปฏิบัติงานตามใบกิจกรรม สมาชิกกลุ่มช่วยกันอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนงาน

4) ให้สมาชิกที่มีหน้าที่นำเสนองาน นำงานกลุ่มของตนไปนำเสนอให้เพื่อนในกลุ่มที่อยู่ใกล้เคียงฟัง พร้อมกับให้เพื่อนประเมินงานกลุ่มตน

5) กลับกลุ่มบ้านของตน และปรับแก้ไขงานตามการสะท้อนงานที่เพื่อนประเมิน

6) นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูอาจจะใช้วิธีสุ่มก็ได้

7) นักเรียนร่วมกันสร้างความรู้ในประเด็นต่อไป และนำเสนอ

ครูเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้แนวทางการจัดการศึกษานั้นสำเร็จลุล่วง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ คือครูต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการ ได้แก่ ทักษะดังนี้

1. ทักษะ C1 : Curriculum development (พัฒนาหลักสูตร)

2. ทักษะ C2 : Child – centered approach (การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง)

3. ทักษะ C3 : Classroom innovation implementation (การนำนวัตกรรมไปใช้)

4. ทักษะ C4 : Classroom authentic assessment (การประเมินตามสภาพจริง)

5. ทักษะ C5 : Classroom action research (การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน)

6. ทักษะ C6 : Classroom management (การจัดการชั้นเรียน)

7. ทักษะ C7 : Character enhancement (การเสริมสร้างลักษณะ)

เมื่อฟังบรรยายจบสิ่งที่คิดต่อไปคือ เทคนิคการเรียนรู้เน้นทีมเป็นเทคนิคการทำงานกลุ่มที่ดี จะนำไปใช้กับวิชาเรียนใด เรื่องใดได้บ้าง และคิดจะพัฒนาตนให้มีทักษะ 7C ซึ่งเป็นลักษณะของครูที่พึงประสงค์

การนำไปประยุกต์ใช้ จะนำเทคนิคการเรียนรู้เน้นทีมไปใช้ในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เรื่อง เกี่ยวกับศาสนา จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แล้วดำเนินการศึกษาหนึ่งศาสนาตามขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้เน้นทีม นอกจากนั้นจะพัฒนาตนเองให้มีทักษะสำคัญที่ครูควรมี 7 ประการ เช่นจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำนวัตกรรมไปใช้ มีการประเมินตามสภาพจริง เมื่อประเมินแล้วจะได้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนซึ่งจะนำไปสู่การทำวิจัยในชั้นเรียน และมีการจัดการชั้นเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ที่มีเป้าหมายให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรมสืบไป

บรรยากาศในการฟังบรรยาย

ภายในห้องบรรยายมีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เป็นการบรรยายที่สนุก ช่วงแรกเป็นการบรรยายความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บรรยายกับผู้ฟังบรรยายน้อย แต่ตอนหลังผู้บรรยายจะให้ผู้ฟังบรรยายทำกิจกรรม ซึ่งเป็นการฝึกการเรียนรู้ที่เน้นทีม ผู้ฟังบรรยายจะคึกคักและสนุกสนาน และการได้ปฏิบัติจริงเช่นนี้จะส่งผลให้ผู้ฟังบรรยายจดจำเทคนิควิธีการได้แม่นยำ และจะสามารถนำเทคนิควิธีการนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #child center
หมายเลขบันทึก: 578850เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ นำมาเชื่อมโยงภาคปฏิบัติตามบริบท

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท