ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสัตยาไส และโรงเรียนวนิษา


After Action Review

เรื่อง ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสัตยาไส และโรงเรียนวนิษา

ชื่อนางสาวเสาวลักษณ์ บรรดาศักดิ์รหัส 57D0103120สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

วิชา การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผู้สอน ผศ.ดร.อดิศรเนาวนนท์วันที่บันทึก 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

>>>>>>>การไปศึกษาดูงาน เป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เราได้รับประสบการณ์ตรงได้เห็นได้เรียนรู้ จากสถานที่ที่ได้จัดกิจกรรมนั้นอยู่เป็นกิจวัตรประจำวัน ในการไปศึกษาดูงานนั้น เราก็จะต้องตั้งเป้าหมาย หรือสิ่งที่คาดหวังไว้ เพื่อที่จะได้รู้ประเด็นที่จะต้องศึกษา จากการไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสัตยาไส และโรงเรียนวนิษา ข้าพเจ้าเองก็ได้คาดหวังไว้หลายอย่าง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครู จึงมีความคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตรของทั้งสองโรงเรียน อยากศึกษาดูกิจกรรมการเรียนการสอนในฐานะที่โรงเรียนสัตยาไสเป็นโรงเรียนที่เน้นคุณธรรม จึงอยากเห็นวิธีการสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปในแต่ละวิชา อยากสัมผัสกับนักเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียนที่ถูกปลูกฝังในด้านคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ อยากเห็นกระบวนการการบริหารทรัพยากรของโรงเรียน ที่ภายในโรงเรียนใช้พลังงานทางเลือก ส่วนโรงเรียนวนิษาก็อยากเห็นการสอนแบบบูรณาการ เทคนิคการบูรณาการเนื้อหาเข้าสู่รายวิชาต่างๆ

>>>>>>>จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่าง ๆ จากโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง โรงเรียนสัตยาไส ได้จัดทำหลักสูตรของโรงเรียนที่อิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พ.ศ. 2551 จัดการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เท่าเดิม แต่วิชาที่โรงเรียนได้จัดขึ้นเพิ่มเติมให้นักเรียนคือ วิชาคุณค่าความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นสอนให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง และผู้อื่น นอกจากนั้นโรงเรียนนี้ยังมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการทำโครงงาน จึงส่งผลให้เด็กมีทักษะในการนำเสนองานต่างๆพูดรายงานได้คล่องแคล่ว จากสิ่งนี้อาจจะสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง จึงสามารถนำเสนองานได้ดีมากและโรงเรียนนี้จะมีการสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปสอนในแต่ละวิชา เช่น การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนครูจะให้นักเรียนทำสมาธิโดยการนั่งสมาธิประมาณ 5-10 นาที ในขณะที่สอนก็สอดแทรกคุณธรรมเข้าไปในเนื้อหาที่สอน ตัวอย่างเช่น การสอนวิชาคณิตศาสตร์ “แม่ซื้อผลไม้จากตลาดมา 24 ลูก แล้วแบ่งผลไม้ให้เพื่อนบ้าน 5 ลูก แม่จะเหลือผลไม้กี่ลูก” การตั้งโจทย์ปัญหาเช่นนี้เป็นสอดโดยใช้เนื้อหาที่ส่งเสริมด้านคุณธรรม แต่ถ้าสอดแทรกเข้าไปในวิชาอื่นก็เห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะทางโรงเรียนไม่ได้อนุญาตให้เข้าไปดูการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ การที่นักเรียนมีคุณธรรมประตัวจริงๆ นักเรียนที่นั้นจะมีแนวการคิดและตอบคำถามที่โยงคุณธรรมเข้ามาทุกเรื่อง เขาจะมองทุกอย่างในแง่บวก เห็นคุณค่าของตนเอ และผู้อื่น มอบความรักให้กับคนรอบข้าง และนักเรียนจะมีจิตใจที่อ่อนโยน

>>>>>>>โรงเรียนวนิษา มีการจัดหลักสูตรของโรงเรียนที่อิงหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พ.ศ.2551 เช่นกัน รูปแบบการเรียนการสอนจะจัดแบบบูรณาการ จัดการเรียนแบบนี้ทุกระดับชั้น โรงเรียนนี้จะเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทางด้านสมองเป็นหลัก เช่น ฝึกให้เด็กอนุบาล 1 เรียนเรื่องตัวเลขจากสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมชาติ ได้แก่ เอาผักบุ้งมาหั่นแล้วก็จะแสดงให้เด็กได้เห็นสิ่งที่เป็นจำนวน ใช้สื่อการสอนทุกเรื่อง ทุกครั้งที่สอน ใช้สื่อที่น่าสนใจมาสอนเด็ก มีการจัดการเรียนที่สวยงาม สร้างสรรค์ เป็นบรรยากาศที่น่าเรียนมากๆ ได้เห็นเทคนิคการบูรณาการเนื้อหาที่กำหนดมาแล้วเข้าไปยังรายวิชาอื่นๆ และสิ่งที่เน้นอีกอย่างคือครูจะต้องมีลักษณะที่ดีหลายอย่าง

>>>>>>>>การไปศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนสัตยาไส และโรงเรียนวนิษา ในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นแง่มุมที่แตกต่างระหว่างโรงเรียนทั้งสองแห่ง และได้ความรู้มากมายหลายอย่างที่เห็นแล้วมันก็เกิดความคิดที่เราจะต้องนำไปประยุกต์ใช้ที่โรงเรียนให้ได้คือ การสร้างให้เด็กเห็นคุณค่าของตนเองและคนอื่น สำหรับในเรื่องนี้จะนำไปปลูกฝังให้นักเรียนที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ ได้มีมุมมองแบบนั้น ปลูกฝังให้นักเรียนมองโลกในแง่บวกมากขึ้น และจะจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมเข้ามาในวิชาต่างๆที่ตนสอน และจะนำความรู้ด้านทรัพยากร พลังงานทางเลือกนี้ไปปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนได้ใช้พลังงานอย่างประหยัด ปลูกฝังให้นักเรียนอนุรักษ์พลังงาน และอีกอย่างที่สำคัญคือการเรียนแบบโครงงานจะฝึกทักษะกระบวนการการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ควรนำไปใช้ในโรงเรียนที่ข้าพเจ้าสอนอยู่นั้นเอง ส่วนโรงเรียนวนิษานั้นข้าพเจ้าเล็งเห็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ จะพยายามนำเทคนิคกระบวนการการสอนแบบบูรณาการไปทดลองใช้กับวิชา เช่นจะทดลองบูรณาการเรื่องอาหารโดยวิชาภาษาอังกฤษจะเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอาหารทุกชนิดและเครื่องปรุงอาหาร วิชาสุขศึกษา จะเรียนเรื่องการเลือกซื้ออาหารแต่ละประเภท วิชาวิทยาศาสตร์ จะเรียนเรื่องสารอาหาร วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี จะให้นักเรียนได้ทดลองทำอาหารคาวหวานที่นักเรียนสนใจและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นต้น และจะจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้คล้ายกับโรงเรียนวนิษา จะจัดห้องเรียนโดยใช้ผลงานที่นักเรียนช่วยกันสร้างขึ้นมาประดับตกแต่งห้องเรียนให้มีชีวิตชีวา เช่น เรียนเรื่องประโยชน์ของต้นกล้วยก็ให้นักเรียนสร้างต้นกล้วยจากวัสดุเหลือใช้เช่นกล่องกระดาษ ลังใส่ของ มาตัด และจำลอง ทำเป็นต้นกล้วยที่สามารถตั้งโชว์ในห้องเรียนและประดับตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความรู้สึกว่าห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่เป็นห้องเรียนที่มีชีวิตชีวา น่าเรียนมากขึ้น และจะนำความรู้ไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอีกด้วย อย่างไรก็ตามความรู้ส่วนใดที่ข้าพเจ้าได้เรียนรุ้ ข้าพเจ้าก็จะพยายามนำไปปรับใช้ตามบริบทของโรงเรียนที่อยู่ในชนบท เพื่อที่จะพัฒนาตัวผู้เรียนในด้านต่างๆให้เต็มศักยภาพมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 578848เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท