Flipped Classroom


After Action Review

เรื่องFlipped Classroom

ชื่อนางสาวเสาวลักษณ์ บรรดาศักดิ์รหัส 57D0103120สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

วิชา การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ผู้สอน ผศ.ดร.อดิศรเนาวนนท์วันที่บันทึก 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ความคาดหวังในการฟังบรรยายครั้งนี้

มีคาดหวังว่าจะได้เข้าใจความหมายของคำว่า Flipped Classroom หวังว่า จะได้ฟังขั้นตอนการสอนแบบ Flipped Classroom และจะได้เห็นตัวอย่างการสอนแบบ Flipped Classroom

สิ่งที่ได้จากการฟังบรรยายในวันนี้

วันนี้มีโอกาสได้ฟังบรรยายเรื่อง Flipped Classroom บรรยายโดย ดร.ปกรณ์ สูปินานนท์

วันนี้ท่านกล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค Flipped Classroom หรือ ห้องเรียนกลับด้าน ห้องเรียนกลับด้านจะเป็นลักษณะของการเรียนการสอนที่บอกว่าสิ่งใดที่เป็นสิ่งที่เรียนในชั้นเรียนก็ให้นำกลับไปค้นที่บ้าน เรียนที่บ้าน ส่วนสิ่งใดที่ทำอยู่บ้าน เช่น การบ้านก็ให้นำมาทำในห้องเรียนช่วยกันหาคำตอบ ค้นหาองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้อมคอมพิวเตอร์ หรือการสอบถามผู้รู้ ก็เป็นวิธีการหาคำตอบที่ดี การบ้านบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ยาก เช่นโจทย์ปัญหา ถ้าทำอยู่บ้านเราก็จะหาคำตอบเองไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราจะได้นำการบ้านมาทำที่โรงเรียน

การเรียนก็ได้ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยแล้วเริ่มตั้งแต่ยุค Baby Bloom ยุค Gen X ยุค Gen Y และยุค Gen Z หรือยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่มีสื่อเทคโนโลยีเข้ามามากมายในยุค Gen Z ผู้เรียนมีความอิสระที่จะเลือกเรียนในสิ่งที่ตนพอใจ ชอบสนุกสนาน และมีการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และต้องการความรวดเร็วในการสื่อสาร ซึ่งในฐานะที่เป็นครูจึงต้องคิดหาวิธีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนในยุคนี้และวิธี Flipped Classroom ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคนี้ เพราะจะมีเทคนิคการสอนมากมายที่สอดคล้องกับวิธี Flipped Classroom เช่น

Individual Learning จะเป็นการเรียนรู้เฉพาะบุคคลให้ครูเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กนักเรียน แต่ล่ะคนจะชอบไม่เหมือนกันความรู้พื้นฐานก็ไม่เท่ากัน ครูจึงต้องจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับนักเรียนที่มีความแตกต่างกั

Integrated Learning การเรียนแบบบูรณาการ ซึ่งจะใช้เนื้อหาเดียวกันเรื่องเดียวกันไปบูรณาการเข้ากับทุกวิชาที่เรียนทุกกลุ่มสาระ ครูแต่ล่ะคนก็มีหน้าที่ไปออกแบบกิจกรรมของวิชาที่ตนสอนมาให้เข้ากับนักเรียน

Project Based Learning การเรียนแบบใช้โครงงานจัดการเรียนการสอนที่เป็นกระบวนการของโครงงาน เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติ หาความรู้และหาคำตอบเอง

วิธีการเรียนรู้ที่กล่าวมานี้เป็นการเรียนที่กระตุ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากเรียนมากขึ้น และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี จดจำสิ่งที่เรียนได้ ซึ่งจะดีกว่าการเรียนแบบ Lecture ธรรมดามาก

สิ่งที่คิดต่อ หลังจากฟังบรรยายแล้ว

ได้คิดต่อไปว่า จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาและบริบทโรงเรียนที่ตนทำงาน คิดว่าหากนำเทคนิคนี้ไปใช้ ผู้เรียนของตนจะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร จะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และคิดว่าควรนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับวิชาใดได้บ้าง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ จะขอนำไปปรับใช้กับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยจะปรับใช้กับวิชาสังคมที่ตนสอนอยู่ เรื่องเหตุบ้านการเมือง จะให้ผู้เรียนไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่องนี้จากโทรทัศน์ เนื่องจากผู้เรียนในโรงเรียนนี้อยู่ในชนบท ห่างไกลตัวเมือง ผู้ปกครองฐานะปานกลาง ที่บ้านของผู้เรียนไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ และผู้เรียนก็ไม่มีอุปกรณ์ใดที่จะสามารถสืบค้นได้ จึงคิดว่าอุปกรณ์ที่จะใช้ได้ และเป็นอุปกรณ์ที่ทุกบ้านมี คือโทรทัศน์ เมื่อผู้เรียนทุกคนไปศึกษาข่าวเพิ่มเติมจากโทรทัศน์มาแล้ว จะให้ผู้เรียนทุกคนนำเรื่องที่ตนเองไปศึกษามาอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน และให้ผู้เรียนตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนศึกษามา หากมีประเด็นที่ไม่เข้าใจ ครูผู้สอนจะได้อธิบายให้ผู้เรียนฟังเพิ่มเติมได้

คำสำคัญ (Tags): #flipped classroom
หมายเลขบันทึก: 578849เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2014 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท