แปลงานวิจัยต่างประเทศ


Ludke, Ferreira, & Overy (2013) พบว่า การร้องเพลงช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ในการทดลองนี้ใช้ภาษาฮังการี) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ 60 คน แล้วสุ่มเข้าเงื่อนไข 3 ข้อ นั่นคือ การฟังการพูดแล้วพูดตาม, การฟังการพูดเป็นจังหวะแล้วพูดตาม, และ การฟังการร้องเพลงแล้วร้องตาม หลังจากเรียนรู้ไปได้ 15 นาที จึงทำการทดสอบ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขการฟังการร้องเพลงแล้วร้องตามสามารถแสดงความสามารถในการทดสอบที่ให้ระลึกและพูดภาษาฮังการี ได้ดีกว่าเงื่อนไขอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งในการทดลองดังกล่าวได้จำกัดตัวแปรควบคุมคืออายุ, เพศ, อารมณ์, ความสามารถด้านภาษา, และความสามารถด้านดนตรีแล้ว

Schwantes (2009) สำรวจกรณีศึกษาในการใช้ดนตรีบำบัดกับเด็กชาวละตินจำนวน 6 คน ที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยเด็ก 4 คน เป็นเด็กระดับชั้นอนุบาล ซึ่งเข้าร่วมดนตรีบำบัดเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงต่อครั้งทั้งหมด 12 ครั้ง เพลงที่ใช้เป็นเพลงดั้งเดิมภาษาสเปนสำหรับเด็กซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ส่วนเด็กอีก 2 คนเพิ่งย้ายมาจากแม็กซิโก เป็นเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 6 ตามลำดับ โดยเข้าร่วมดนตรีบำบัด 2 ครั้งต่อสัปดาห์ทั้งหมด 5 สัปดาห์ เพลงที่ใช้เป็นเพลงสากลแนว Pop ซึ่งกรณีศึกษาเหล่านี้ แม้ว่าจะแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความแตกต่างในการใช้เพลง ระหว่างเพลงที่เป็นเพลงดั้งเดิมของกลุ่มตัวอย่าง กับเพลงที่อยู่ในวัฒนธรรมที่กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในปัจจุบัน แต่ผลก็พบเหมือนกันว่า ดนตรีบำบัดช่วยให้เด็กๆพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์, ทักษะทางภาษาทั้งด้านการรับและการแสดงออก, และการลำดับเหตุการณ์

Moreno et al. (2011) ได้ออกแบบ Short-term music training ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนวัยก่อนวัยเรียน เพื่อจะพัฒนา เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Verbal intelligence) และการทำงานของสมองในระดับสูง (Executive function) โดยโปรแกรมแรกเกี่ยวข้องกับ Visual art ส่วนโปรแกรมที่สองเกี่ยวข้องกับดนตรี หลังจากฝึกไปได้ 20 วัน ผลพบว่า เฉพาะเด็กๆในโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเท่านั้นที่แสดงให้เห็นว่าเชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Verbal intelligence) พัฒนาขึ้น ซึ่งพัฒนาการในส่วนนี้มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของสมองในระดับสูง (Executive function)

เอกสารอ้างอิง

Ludke, K. M., Ferreira, F., & Overy, K. (2013). Singing can facilitate foreign language learning. Memory & Cognition, 42(1), 41-52.

Moreno, S., Bialystok, E., Barac, R., Schellenberg, E. G., Cepeda, N. J., & Chau, T. (2011). Short-term music training enhances verbal intelligence and executive function. Psycho Sci, 22(11), 1425-1433.

Schwantes, M. (2009). The use of music therapy with children who speak English as a second language: An exploratory study. Music Therapy Perspectives, 27(2), 80-87.

หมายเลขบันทึก: 578599เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2014 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีครับ เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจมาก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท