ประสบการณ์การทำเคสจิตเวช


ตลอดชีวิตการเป็นนักศึกษาบำบัด ต้องฝึกงานรวมทั้งสิ้น 1000 ชั่วโมง ซึ่งอาจจะมีเพิ่มเติมบ้าง นอกเหนือการฝึกงาน เช่น การเป็นอาสาสมัครตามโรงพยาบาลต่างๆ การสังเกตการทำเคสที่คลีนิค และการทำเคสในรายวิชาต่างๆ ทั้งหมดล้วนเป็นที่แตกต่างกันไป ซึ่งนักศึกษาฝึกงานแต่ละคน จะได้เจอประสบการณ์และเคสที่แตกต่างกัน แล้วแต่โรงพยาบาลที่ได้ไปฝึกงาน และเคสที่เจอ

การทำเคสที่ยากที่สุดของฉัน คือการทำเคสจิตเวช เพราะแต่ละเคสมีรายละเอียดที่ซับซ้อน แตกต่างผู้รับบริการทางฝ่ายกายหรือเด็กที่ เห็นปัญหาได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม การค้นหาปัญหาของผู้รับบริการฝ่ายจิต สำหรับฉันแล้วมันค้นข้างยากมากๆ เพราะผู้รับบริการ ก็เหมือนกับคนปกติทั่วไป ผู้จาสนทนาได้ปกติ ถ้าเราเข้าถูกจุดก็จะเจอปัญหาที่ถูกต้องชัดเจนและตรงประเด็น แต่ถ้าไม่ มันย่อมส่งผลต่อกระบวนการรักษาต่อๆไป

ประสบการณ์ทำเคสในครั้งนี้ของฉันยังต้องขอคำแนะนำจากอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การสัมภาษณ์ เพราะข้อมูลที่ได้รับมา มีหลายประเด็นและกว้างมาก อาจารย์ต้องคอยชี้ทาง และแนะใหประเด็นมันแคบลงและชัดเจนขึ้น เช่น การประเมินผ่านการวาดภาพ บ้านคนต้นไม้ ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดภายในจิตใจได้ละเอียดพอสมควร แล้วนำข้อมูลจากการวาดภาพมารวมกับการสัมภาษณ์ผู้รับบริการและครอบครัว จะได้ข้อมูลที่ค่อนข้างถูกต้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด การจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและตรงประเด็นจากเคส ก็ต้องเข้าหาผู้รับบริการให้ได้ก่อนซึ่งต้องอาศัยการปฎิสัมพันธ์ที่ดี ไม่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกอึดอัด ประม่า ตกใจ หรือแม้กระทั่ง รู้สึกไม่ปลอดภัย โชคดีที่เคสให้ความร่วมมือทำให้ฉันสามารถเข้าหาได้ง่าย

หลังจากการประเมินก็พบปัญหา แว๊บแรกเลยรู้สึกว่า เราจะได้หรือป่าวนะ เพราะจากข้อมูลแล้วเคสก็ได้เข้ารับการรักษามาหลายศาสตร์ แต่มันก็ท้าทายดี ว่าเราจะทำได้หรือเปล่า ปัญหาแรกทีพบ คือ เคสมีความคิดที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล พูดซ้ำๆในเรื่องเดิม ค่อนข้าวย้ำคิดย้ำทำ การจัดการความโกรธ ความสัมพันธ์และความวางใจกับคนในครอบครัวไม่ค่อยดี และปัญหาเรื่องเพศ

การให้การบำบัดของฉัน เริ่มจากการปรับการคิด โดยการใช้เทคนิค CBT (Cognitive Behaviour Therapy) ซึ่งเมื่อความคิดเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อการกระทำ และในทางกลับกันเมื่อพฤติกรรมเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อความคิดเช่นกัน หรือเมื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนย่อมส่งผลกระทบต่ออีกอย่างนึง ในการบำบัดครั้งนั้น เราคุยกันในหัวข้อเรื่อง ความโกรธ เริ่มจากให้เคสเล่าประสบการณ์ในอดีตว่าเมื่อเคสโกรธ เคสจัดการอย่างไร และผลเป็นอย่างไร เคสพอใจในผลของมันหรือไม่ ถ้าไม่ เคสคิดว่าเคสจะแก้ไขอย่างไร ให้เขียนมา 10 ข้อ ดูเหมือนง่ายๆแต่ตอนทำจริงยากน่าดู กว่าจะได้แต่ละข้อ เพราะเคสค่อนข้างพูดจาวกวนซ้ำไปซ้ำมา เราต้องคอยดึงให้กลับมาที่ประเด็นที่กำลังคุยกัน นอกจากนี้ฉันยังได้ให้เทคนิดการผ่อนคลาย Relaxation technique และ Breathing Exercise เพื่อช่วย่อนคลายและควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดความโกรธขึ้น 1 สัปดาห์ผ่านไป เมื่อพบเคสอีกครั้ง สอบถามถึงการจัดการความโกรธในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนรอบข้างและคนในครอบครัวด้วยเช้่นกัน

ในสัปดาห์สุดท้ายในการบำบัด ฉันทำกิจกรรมกลุ่ม ร่วมกับเคสอื่นๆ กิจกรรมในสัปดาห์นี้ คือกิจกรรมการทำแซนวิช ให้เคสออกแบบแซนวิชของตนเอง เพื่อเป็นการลำดับความคิด ถึงกระบวนการ ขั้นตอนการทำ และส่วนประกอบต่างๆ โดยเคสต้องใช้เครื่องมือกับเพื่อนในกลุ่มเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์และการสือสารกับผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน เช่นการหั่นผัก การผสมทูน่ากับน้ำสลัด การหั่นนมปัง เป็นต้น เคสค่อนข้างไม่มั่นใจ ฉันและเพื่อนต้องคอยให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง เมื่อเสร็จกิจกรรมสังเกตได้ว่าเคสมีความภูมิใจ มั่นใจขึ้น จากการแสดงออก เช่น ขอถ่ายรูปอาหาร เมื่อน้องชายเข้ามา เคสมีการเสนอแซนวิชให้ และบอกกับน้องชายว่าทำเองนะ กินสิ เดี๋ยวกลับไปทำกินกันที่บ้านนะ ถือได้ว่าเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกนัยนึง

ในการทำเคสครั้งนี้ ได้เห็นอีกมุมหนึ่งของปัญหา ที่แตกต่างจากการทำเคสในโรงพยาบาล น่าเสียดายที่เวลาในการทำเคสมีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถทำต่อได้ แต่ก็เป็นอีกประสบการณ์ที่แตกต่างและมีคุณค่า ทำให้เรามองปัญหาในหลายด้านขึ้น มีความสุขที่ได้เห็นเคสยิ้มได้มีความสุข บทเรียนที่ได้จากการทำเคสครั้งนี้คือ " ไม่มีใครที่สามารถจัดการทุกอย่างได้ ด้วยตนเองคนเดียว" คือ การจะแก้ไขอะไรสักอย่างมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับ กำลังใจ แรงสนับสนุน จากสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้าง ในทางตรงกันข้ามคือ บางครั้งสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้างเอง ที่ก่อให้เกิดปัญหา ถ้าช่วยกันอะไรๆมันย่อมง่ายขึ้น

ขอบคุณ อาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำ และเพื่อนๆในกลุ่มทุกคนที่อยู่ข้างๆกันให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เหนือสิ่งอื่นใด คือกำลังใจ ที่มีให้กันมาตลอด ^^

หมายเลขบันทึก: 578593เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เก่งมากครับ..จิตวิทยาสูง การช่วยใครสักคนนั้นบุญมากมาย..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท