เตรียมตัวเป็นกรรมการสอบ ป.เอก เรื่อง การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


นับเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้รับเกียรติทางด้านวิชาการ ให้เป็น "กรรมการสอบ" วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ผมรู้สึกตนเองว่ายังไม่คู่ควรมากนักในตอนนี้ อาจเพราะยังไม่มีความรู้ความสามารถด้าน "การวิจัยและประเมินผลการศึกษา" ซึ่งเป็นสาขาที่นิสิตท่านนี้ยื่นเรื่องขอสอบ ... แต่ถ้ามองต่างไป ที่คือโอกาสทองที่ผมจะได้แสดงความคิดเห็นของ "คนที่ไม่เคยเรียน" ด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา แบบตรงไปตรงมา โดยยึดหลักปรัชญาและความเข้าใจที่ได้เรียนรู้จากครูและผู้อำนวยการจากการลง พื้นที่ทำ PLC มาช่วงระยะหนึ่ง

หัวเรื่องของวิทยานิพนธ์ เล่มนี้ คือ "การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยา ศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" เล่มร่างวิทยานิพนธ์ที่นิสิตใช้ประกอบยื่นขอสอบ "หนาปึ๊ก" ๓๔๒ หน้า ด้วยข้อจำกัดของเวลา ผมอ่านพิจารณาแบบ "จับความเคลื่อนไหว" หมายถึง การอ่านเร็วแล้วจับ "เอาประเด็น" มุ่งมองให้เห็นจุดเด่นหรือจุดเปลี่ยนหรือจุดต่าง และหยุดอ่านละเอียดเฉพาะตอนที่ได้เรียนความรู้ใหม่ .... จับประเด็นได้ดังนี้ครับ

  • รัฐบาลไทยปี ๒๕๕๒ มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนนักวิจัย นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ โดยวิธีการสร้างโรงเรียนพิเศษ เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ ฯลฯ มีการเสนออีกโครงการที่ไม่ต้องสร้างโรงเรียนใหม่ แต่จะให้ทุนสนับสนุนกับโรงเรียนที่พร้อม จัดให้มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โรงเรียนละ ๑ ห้องๆ ละ ๓๐ คน แล้วเพิ่มเติมหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนใหม่ (สสวท. กำหนด) เพื่อมุ่งให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ หรือนักวิทย์ฯ ต่อไป โครงการนี้ใช้ทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากเดิมที่โรงเรียนได้รรับเพียง ๔๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น ... ในทางปฏิบัติ เปิดโอกาสเก็บเงินรายหัวจากผู้ปกครองอีก ๑๐,๐๐๐ บาท
  • มีการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการฯ ด้วยการใช้แบบสอบถาม ๓ ชุด กับบุคลากรโรงเรียน ผู้ปกครอง และครู ผู้วิจัยบอกว่า ยังไม่ครอบคลุมและเป็นระบบ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการประเมินที่มาตอบโจทย์ดังกล่าวนี้...ซึ่ง เมื่ออ่านความเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยไปทำ focus group disscussion (FGD) พบว่า ทุกคนเห็นด้วยและมีความหวังกับงานวิจัยนี้พอสมควร
  • งาน วิจัยนี้จะทำ ๓ อย่าง ๔ ระยะ กล่าวคือ ๑) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยา ศาสตร์ ๒) พัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนฯ และ ๓) นำรูปแบบไปใช้ โดยระยะที่ ๑ ทำข้อ ๑) ระยะที่ ๒ ทำข้อ ๒) ส่วนข้อ ๓) แบ่งเป็นระยะที่ ๓ นำไปทดลองใช้ก่อน แล้วค่อยทำ ระยะที่ ๔ ค่อยนำไปใช้จริงกับโรงเรียน ๑ แห่ง
  • ระยะ ที่ ๑) ผู้วิจัยไปสัมภาษณ์ตัวแทนผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต่างๆ ๙ ท่าน ระยะที่ ๒) ทำ FGD ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลฯ ด้านหลักสูตรและการสอนวิทย์ ด้านละ ๓ ท่าน รวมกับผู้รับผิดชอบหรือครูผู้สอนอีก ๓ รวมเป็น ๙ ท่าน ก่อนจะนำมาพัฒนารูปแบบการประเมินฯ แล้วจัด FGD อีกครั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญอีก ๙ ท่าน โดยไม่ซ้ำคนเดิม
  • หลักคิดและหลักปฏิบัติของหลักสูตรของห้อง เรียนพิเศษฯ คือ จัดให้นักเรียนได้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยา ศาสตร์จำนวน ๓๖.๕ หน่วย และเติมรายวิชาเสริมประสบการณ์วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น สืบเสาะ โครงงาน การแก้ปัญหา ฯลฯ อีก ๖ หน่วยกิต ... สรุปคือ เรียนหนักขึ้น ....เป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้อำนวยการโรงเรียนให้สัมภาษณ์ว่า ... โครงการนี้ไม่มีอะไรมาก แค่เรียนเพิ่มไปอีก ๖ หน่วยกิต.... แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนัก วิทย์ฯ
  • โครงการนี้ สสวท. ให้ความสำคัญกับเครือข่ายการเรียนรู้เชิงพื้นที่ (หรือผมเรียกว่า LLEN) เห็นจากที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายกับโรงเรียน ผู้ปกครอง และมีการกำหนดแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนในเกณฑ์ติดตามด้วย ถึงขนาดบางแห่งเปิดโอกาสให้คณะวิทยาศษสตร์ในมหาวิทยาลัยมาเป็นผู้จัดการ เรียนการสอน
  • ผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือและแบบประเมินขึ้นโดยใช้เกณฑ์ ที่กำหนดในการติดตามของ สสวท. และเกณฑ์ด้าน Facilities Input (เช่น เรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ห้องเรียนฯ ) ที่กำหนดตามหลักสูตร โดยจัดทำเป็นเกณฑ์แบบลูบิค (Rubic) ในลักษณะของการ "อิงเกณฑ์" (Absolute Evaluation) (ไม่ได้เปรียบเทียบกับใครที่ไหน) .... ผมมีความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่สร้างขึ้นว่า เป็นเกณฑ์ที่เน้นประเมินแบบตัดสิน (Decision-Oriented) มาก จะเห็นได้จากตัวชี้วัดส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยนำเข้า (Input)และกระบวนการ (Process)มากว่า มีหรือไม่มี ทำหรือไม่ทำ ส่วนด้านผลลัพธ์ที่เหลือที่พยายามจะวัด "คุณค่า" (Value-Oriented) ด้วยการตั้งเกณฑ์ด้านทักษะและความรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยยังไม่เขียนละเอียดในเล่มว่าวัดหรือประเมินอย่างไร เพียงให้ข้อมูลว่าได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ และไป "จับเอา" จำนวน "ชิ้นงาน" และ "กิจกรรม" ที่นักเรียนได้ทำตามหลักสูตรมาเป็นตัวชี้วัด "ผลผลิต" ซึ่งจะยังไม่สามารถวัดสิ่งที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมได้จริง เช่น อุดมการณ์ ความเป็นนักวิทย์/นักวิจัย คุณลัษณะที่พึงประสงค์ด้านสังคม ฯลฯ
  • ผู้ วิจัยบอกว่า ด้วยแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้ ส่งผลให้โรงเรียนเป้าหมายที่เลือกเจาะจง (purposive sampling) มาเป็น "ตัวอย่าง" นี้ดีขึ้น พร้อมขึ้น ... คำตอบคือ ใช่ ... แต่ก็ยังไม่ได้ให้ How to ในการจัดการเรียนการสอนของครู ว่าทำอย่างไรจึงสำเร็จหรือดีขึ้น ...
  • ผม ประทับใจมากที่ ผู้วิจัย ไปสัมภาษณ์และทำ FGD แล้วเขียนนำเสนอแบบ "พรรณนาเนื้อหา" หรือ "โค๊ดคำ" ก่อนจะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากวิเคราะห์ให้ดี จะพบว่า วิทยานิพนธ์นี้มีข้อค้นพบมากทีเดียว
  • สิ่งที่อยากเห็น ก่อนจะเปิดอ่านเล่ม แต่ยังไม่เห็น คือ ประเด็นต่อไปนี้
    • อยาก รู้สถิติย้อนหลังว่า มีนักเรียนในโครงการนี้กี่คน ที่ไปศึกษาต่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักประดิษฐ์ กี่คนที่จบจากอุดมศึกษาแล้วยังคงอุดมการณ์นี้ได้ ....
    • อยากรู้วิธีการสร้างอุดมการณ์ให้คนอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ...

พรุ่ง นี้ ๙:๓๐ นาที ผมจะทำหน้าที่นี้เพื่อให้ผู้วิจัยภูมิใจและเกิดแรงบันดาลใจที่จะนำเอาผลงาน วิจัยของตนไปให้คนอื่นใช้ต่อ... ผมมีความเห็นอย่างบริสุทธิ์ใจว่า วิธีนี้เท่านั้น ที่จะทำให้วงการศึกษาไทยสดใสในวันหน้า....

วันนี้ลาก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 578479เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2014 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท