พาหุยุทธ์ชาวสยาม..สืบสานตำนานมวย..รำลึกผู้สืบทอดที่ถูกลืม..


สง่างาม แข็งแกร่ง มีไมตรี และ เรียบง่าย..

..มีการค้นพบว่า มีหมู่บ้านกะเหรี่ยง ที่ยังคงนับถือ พระ ลักษณะ พระฤษี เช่น ที่ ..เลตองคุ..ที่เราเรียกกันนั้น มีชื่อเต็มๆเดิมๆว่า ไล่ถ่องคู้ (ไล่ =หิน ,ถ่อง=น้ำตก,คู้=บน) ซึ่งแปลว่า หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนน้ำตกหิน(ปูน) เป็นหมู่บ้านขนาด 200 หลังคาเรือน และชาวบ้านที่นี่นับถือฤษี หรือพูดอีกนัยก็คือ ศาสนาพุทธ ที่นับถือฤษีเป็นผู้นำทางศาสนา..


..รูปภาพลวดลายพระพุทธเจ้าที่แกะสลักบนงาช้างเก่าแก่..

งาช้าง 3 คู่นี้ มีอยู่ตั้งแต่ไหนนั้นไม่มีบันทึกที่จะทำให้รู้ได้ว่ามีอายุเก่าแก่สักแค่ไหน จึงยังเป็นปริศนาสืบทอดกันมา คู่กับตำแหน่งฤษีที่เข้าสู่ชั่วคนที่ 10..


..นอแจ๊ะ ฤษีตนที่ 10 แห่งเลตองคุ..


...ลูกศิษย์ที่ดำรงตนอยู่ในฤษี…ในบ้านของฤษี ที่เปรียบได้กับวัด มีลูกศิษย์อยู่ประมาณ 20-30 คน ซึ่งลูกศิษย์เหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามกฏของฤษีอย่างเคร่งครัด ที่ได้รับรู้มาคร่าวๆก็คือ ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่มีเล็บ ห้ามดื่มสุรา หรือแม้กระทั่งนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในหมู่บ้าน ห้ามนอกใจภรรยา หรือเป็นชู้ จะต้องนุ่งห่มเสื้อผ้าที่เป็นสีพื้นเท่านั้น และเกล้าผมเป็นจุกอยู่บนหัว (ส่วนอื่นๆ มีอีก ประมาญ 10 กว่าข้อแต่จำไม่ได้)

..ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลบางส่วนจาก www. trekkingthai.com ..

..ชนชาวกะเหรี่ยง มีความสัมพันธ์กับ จิตวิญญาณมวยไทย..

..ทราบไหมครับ? คำว่า ..Karen..ที่ฝรั่งเรียกกัน และกลายมาเป็น กะเหรี่ยง ในภาษาไทย มาจาก คำว่า เกรียน ในภาษามอญ ซึ่งแปลว่า เรียบง่าย..คนมอญได้ใช้เรียก ชนเผ่าที่เดินทางมาจากตอนเหนือของอินเดีย ..ผู้สมถะเรียบง่าย ผู้ซึ่งนำเอาพาหุยุทธ์ วิธีฝึกสมาธิเคลื่อนไหว อันกลายมาเป็น มวย...และชนเผ่านั้นเรียกตนเองว่า กะยูปา ในภาษาทิเบต แปลว่า สมถะ..อันกลายมาเป็น ปาเก่อญอ..ที่กะเหรี่ยงเรียกตนเองครับ..วิชามวยนี้ มีที่มาจาก โพชฌงค์ของพระพุทธเจ้า ที่ได้ทรงสอนให้กับพระมหากัสสปะ มวย จึงมีที่มา เช่นเดียวกับ กังฟู ของวัดเส้าหลิน ซึ่ง ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ได้นำไปจากทิเบต ครับ..ส่วนความแตกต่าง คือ การใช้วิธีพันหมัดพันมือเป็นวิธีหลักในท่ารำของมวย และปรากฏหลักฐานของพระอาจารย์หลวงปู่ฤษีสุกกทันตะ(ฟันขาว) ที่สำนักธัมมิกการาม เขาสมอคอน ลพบุรี เมื่อประมาณ พ.ศ.1200..หลวงปู่เป็นพระอาจารย์ของ พระนางจามเทวี และได้ก่อตั้งเมืองหริภุญชัย ขึ้น.ชาวปาเก่อญอ หรือ กะเหรี่ยง หรือKaren จึงนับเป็นผู้สืบทอดวิชามวย มาสู่สยามประเทศเมื่อพันปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันวิธีการสำคัญของ มวย ได้สูญหายไปจากหลายสาเหตุ..วิธีที่สำคัญที่ว่า คือ การฝึกสมาธิ การเดินจงกลม การหายใจพองยุบ การไหว้ครูรำมวย และการบริกรรม ครับ..วิธีเหล่านี้จำเป็นต่อการประสมจิต เข้ากับ กาย และ มวย..ขอให้ลูกหลานไทยที่มีเชื้อสายปาเก่อญอ ได้ช่วยกันค้นคว้าสืบทอดมวยดั้งเดิมของชาวปาเก่อญอ จะได้นำมาพัฒนามวยให้เกิดประโยชน์ต่อจิตวิญญานของผู้รักสงบ อย่างแท้จริง นะครับ..ผมใช้เวลาศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้มานานหลายสิบปี และพยายามเผยแพร่ให้ชนรุ่นหลังได้รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง จะได้มีความภาคภูมิใจ ครับ..

หมายเลขบันทึก: 578309เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบใจชาวปกากะญอ

แถวรอยต่อกาญจนบุรี

แต่เคยเห็นท่ามวยเขาแล้ว

คล้ายมวยพม่าครับ

สันนิษฐานว่า ชาวพม่า ก็คงได้รับการศึกษาวิชามวย มาจากกลุ่มชนเดียวกัน คือ อุบาสก อุบาสิกา ที่ร่วมคณะเดินทางมากับพระภิกษุตันตระวัชรญานที่มาเผยแผ่ศาสนา ซึ่งสืบทอดมาจากพระมหากัสสปะเถระ ครับ แต่ด้วยวิชาการต่อสู้ มักมีการดัดแปลงและปิดบัง จึงทำให้มีบางส่วนต่างกันออกไป..แต่ยังคงคล้ายคลึงกันในวิธีการประสมจิต เช่น ท่ารำไหว้ครู การฝึกสมาธิ และการตบตัว ครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท