สัปดาห์ที่ 3 วันที่หนักประจำสัปดาห์ (11/06/57)


วันที่แสนเหนื่อย

          วันนี้เป็นวันที่ผมมีสอนเยอะที่สุด คือ 3 ชั่วโมงในวันเดียว เนื่องจากยังสอนไม่ค่อยเก่ง และยังไม่คุ้ยเคยกับเนื้อหาที่สอนมากเท่าไหร่ จึงต้องมีการเตรียมตัวเยอะกว่าวันอื่นๆ ทั้งเตรียมตัวในด้านเนื้อหา และสื่อในการเรียนการสอน ผม้องจัดทำสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พ้อย ใช้สำหรับสอน เพื่อให้เด็กสนใจในบทเรียนมากขึ้น เรื่องที่สอนวันนี้คือ

          3/1 แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ คือ แหล่งข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือเก็บบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การสังเกตและจดบันทึกด้วยตัวเอง

           6/2 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ

               1. การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล

                    1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีจำนวนมากไว้เป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

                           1)สำเนาถาวร เป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นเอกสาร เช่น ผลงานนักเรียน ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เขียน หรือพิมพ์ เป็นต้น โดยเก็บลงแฟ้มให้เป็นหมวดหมู่

                           2)สื่อบันทึก เป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นภาพ และเสียง ลงในสื่อบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ

                              (1)แถบบันทึกเสียงหรือเทปบันทึกเสียง ใช้บันทึกข้อมูลเสียง โดยต้องใช้ร่วมกับเครื่องบันทึกเสียง

                              (2)แผ่นบันทึก (Floppy Disk) ใช้เก็บบันทึกข้อมูล ตัวอักขระ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง โดยต้องใช้กับเครื่องขับจานถาดแม่เหล็กในคอมพิวเตอร์ ซึ่งแผ่นบันทึกจะมีการเก็บข้อมูลได้น้อย

                              (3)แผ่นซีดี (CD) ใช้เก็บบันทึกข้อมูล ตัวอักขระ เสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยต้องใช้กับเครื่องขับดิสก์ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งแผ่นบันซีดีจะมีการเก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึกประมาณ 500 เท่า 

                              (4)หน่วยความจำแบบแฟรช ได้แก่ แฟรชไดรฟ์ (Flash Drive) และ SD Card (Secure Digital Card) ซึ่งเป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก แต่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดี โดยเสียบเข้าที่ช่อง USB ส่วน SD Card จะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ได้แก่ กล้องดิจิทัล หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่

                    1.2การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมแล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูล เพื่อความถูกต้อง หากพบที่ผิดพลาดต้องรีบแก้ไขทันที

               2. การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ

                    2.1จัดแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน

                    2.2เรียงลำดับข้อมูล จากนั้นคำนวลข้อมูล หรือดึงมาใช้

                    2.3สรุปผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

               3. การเก็บรักษาสารสนเทศ

                    ทำได้โดยการนำข้อมูลมาเก็บบันทึกอยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก และควรทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายหรือถูกทำลาย

          1/2 ความหมายของแหล่งข้อมูล  หมายถึง ที่มาของข้อมูล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของข้อมูลที่เราได้รับ แหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวเรามีทั้งแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู เป็นต้น และแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่บุคคล เช่น บ้าน ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 577923เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2014 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2014 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท