สิบเอ็ดวันแห่งความทรงจำ


                        แม่ผู้ให้กำเนิด ครูคนแรก ที่ปรึกษาทุกเวลา ผู้ให้กำลังใจ ผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่เคยโกรธ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะของแม่ คือกำลังใจ

                         แม่ผู้ที่แข็งแรงตลอดมีเจ็บป่วยเล็กๆน้อย ตลอด อายุ 80 ปี ครั้งนี้แม่บ่น ท้องอืด ท้องผูกจึงพาแม่มาตรวจ แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตรวจพิเศษทางรังสีวิทยาแต่ผลการตรวจ ทำไมเป็นไปได้ขนาดนี้

                                                     มะเร็งตับระยะสุดท้าย

เป็นไปได้ยังไง ? แล้วจะทำอย่างไงต่อไป ? จะบอกแม่อย่างไงดี ? มีแต่คำถาม

                                                       ดีที่เรามีกันสองคนพี่น้องที่ปรึกษา

                          ก่อนมา โรงพยาบาลเหมือนแม่จะรู้ตัวแม่สั่งไว้ ไม่ต้องการการรักษาที่ต้องสอดใส่ หรือการผ่าตัดต่างๆแต่ก็ไม่ง่ายเลยที่จะตัดสินใจไม่ทำหัตถการต่างๆเนื่องจากลูกทั้งสองเป็นพยาบาลทั้งคู่ถึงแม้นจะเลือกการดูแลแบบประคับประคองแต่บางครั้งก็รู้สึกผิดและมีคำถามกับตัวเองตลอดว่าตัวเองไม่เต็มที่ในการรักษากับแม่หรือเปล่า

                          ช่วงเวลาที่สำคัญนี้เพื่อความกระจ่างและความมั่นใจ แพทย์จึงเป็นผู้ข้อมูลให้รายละเอียดการรักษาพยากรณ์ของโรค ให้ทางเลือก พยาบาล ผู้ประสานงาน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการรักษาวิธีการรักษาขั้นตอนในการติดต่อกรณีส่งต่อ ให้คำตอบ ให้กำลังใจให้คำแนะนำ ให้เวลานั่งฟัง ให้ญาติได้ระบาย หาผู้มีประสบการณ์มาให้ข้อมูลเพิ่มเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ(จิตอาสา)

                            ในช่วงแรกลูกปฏิเสธที่จะบอกแม่ว่าป่วยด้วยโรคอะไร พยาบาลต้องเตือนสติตลอดว่าถ้าไม่บอกแต่สิ่งที่เราแสดงออกโทรศัพท์ตลอด เดินเข้าออกห้องตลอด ร้องไห้จนตาแดงแม่จะสงสัยไม จนสุดท้ายลูกๆจึงได้บอกว่าแม่ป่วยด้วยโรคอะไร สิ่งที่เรากลัวว่าแม่จะรับไม่ได้แม่จะหมดกำลังใจกลับเป็นแม่ขอบคุณที่บอกแม่ เมื่อบอกแม่จึงเป็นการง่ายที่จะสอบถามแม่ว่ามีวิธีการรักษายังไงบ้างที่แม่ตัดสินใจเลือกทำให้ทั้งทีมและลูกสบายใจเพราะทำตามความต้องการของแม่เอง

                              พยาบาลถามแม่อยากพบเจอใครไมช่วงเจ็บป่วย(ช่วงที่แม่ไม่ทราบว่าป่วยด้วยโรคอะไร) แม่บอกอยากเจอพี่ชายแต่เขาอยู่ไกลเกรงใจลูกหลานเขาที่ต้องพามาพบแม่ลูกๆจึงแจ้งพี่ชายทราบ ให้วันที่พี่ชายที่อยู่ต่างจังหวัดพร้อมหลานมาเยี่ยมเป็นอีกวันที่มีความสุข แม่ยิ้มและหัวเราะเป็นระยะ สิ่งที่แม่คุยกับพี่ชายคือ ครอบครัวเราเป็นมะเร็งกันทุกคนเลย เพราะตัวพี่ชายของแม่เองก็เป็นมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว พ่อ กับแม่ของแม่ก็เป็นมะเร็ง

                               ช่วงที่ลูกไม่ได้แจ้งว่าแม่ป่วยเป็นโรคอะไรเราจึงไม่กล้าถามแม่ว่าแม่ห่วงอะไรเพราะกลัวแม่สงสัยลูกได้แต่เดาว่าแม่จะห่วงหลานที่สุขภาพไม่สมบรูณ์แต่เมื่อเราแจ้งว่าแม่ป่วยเป็นโรคอะไรเราจึงถามได้ตรงๆว่าแม่ห่วงอะไร สิ่งที่แม่ห่วงจริงๆคือแม่ ห่วงกลัวลูกทั้งสองของแม่ไม่รักกันไม่มาหากันเหมือนตอนที่แม่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นสิ่งที่แม่สั่งคือให้ลูกทั้งสองรักกันช่วยเหลือกันจะเห็นได้ว่าการคาดเดาของลูกหลานไม่ได้ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยเลย

                               ช่วงที่แม่ป่วยในช่วงแรกแม่ไม่ปวดสักวันที่ 2 แม่เริ่มปวดเราปรึกษาทีม จัดการอาการปวด มาให้ยาแม่พักได้มากขึ้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกมีความลังเลตลอดกับวิธีการรักษาแม่มีการปรับเปลี่ยนตลอด พยาบาลต้องเข้าใจในความต้องการของญาติ และสาเหตุที่ทำให้ลูกปรับเปลี่ยนวิธีในการรักษาผู้ป่วยตลอด สิ่งที่พยาบาลแนะนำให้ลูก ฝ้าแม่อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ให้พูดถึงความดีของแม่พูดเล่าเรื่องที่ประทับใจชีวิตในวัยเด็กสิ่งไหนที่เรารู้สึกว่าเราทำไม่ดีกลับแม่อยากขอโทษแม่ก็ให้ขอโทษแม่เลย สวดมนตร์พร้อมกันแม่ลูก (เตรียมความพร้อมของลูกและแม่ไว้สำหรับส่งแม่ในระยะเปลี่ยนผ่านของชีวิต) แสดงความรักกับแม่โดยการหอมและกอดแม่ ช่วงนี้แม่เริ่มบวม พยาบาลเราต้องดูแลเรื่องผิวหนังเป็นพิเศษเพราะเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

                               ช่วงที่แม่มีสติ เราได้นิมนต์พระมาเยี่ยมมาพูดให้สติแม่มารับสังฆทานให้ลูกหลานได้ขอขมากับแม่ตั้งแต่แม่มีสติ นอกจากนี้ในวันพุธเป็นวันที่แม่หลับตลอดไม่มีสติแล้ว ช่วงเช้าแม่ก็ได้ใส่บาตรพระ 3 รูป โดยลูกจับมือแม่ถือของใส่บาตรและจับมือพนมไหว้ และกระซิบข้างหูแม่ว่าเอาอะไรใส่บาตรบ้างพร้อมทั้งบอกให้สาธุ ช่วงกลางคืนบุตรสาวคนโตได้ไป สวดมนตร์ ฟังเทศน์ นั่งสมาธิร่วมกับเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยห้องอื่น ที่ทางหอผู้ป่วยจัดประจำทุกวันพุธเป็นวันที่แม่ไม่สติแล้วแต่เราได้กระซิบบอกข้างหูแม่ว่าเราไปทำกิจกรรมอะไรให้แม่บ้าง

                                 เรื่องการจัดการอาการปวดช่วงที่แม่ไม่มีสติหรือหลับถ้าแม่คิ้วขมวดเราจะให้ยาแก้ปวดแต่ในวันที่ 10-11 เราแทบไม่ได้ให้ยาแม่เลย แม่นอนเหมือนนอนหลับไม่มีคิ้วขมวดไม่มีเสียครางและแล้วแม่ก็นอนหลับไปอย่างสงบโดยมีลูกสาวทั้ง สองอยู่ข้างๆสวดมนต์ให้อย่างมีสติ

ความสำเร็งของดูแลที่ปรับเปลี่ยนจากเสียงร้องไห้เป็นเสียงสวดมนตร์

1.ทีมที่เข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองทั้ง แพทย์ผู้รักษา ทีมจัดการอาการปวด พยาบาลประจำหอผู้ป่วย

2.ทีมจิตอาสา ผู้มาเล่าประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย

หมายเลขบันทึก: 577715เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2014 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2014 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท