เลาะเลียบเรียนรู้...กระบวนการขับเคลื่อนระบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (ตอนที่ ๔)


         ตอนที่ ๓

          การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ทั้งในส่วนของอำเภอและตำบล โดยกระบวนการคืนข้อมูลสู่ชุมชน ฝ่ายวิชาการของคณะทำงานประจำตำบล ได้นำเสนอข้อมูลที่จัดเก็บจากชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้สอบทานความถูกต้องของข้อมูล โดยชุมชนเป็นผู้อภิปรายข้อมูลกันเอง

          ข่วงกำกึ๊ด เวทีขับเคลื่อนสุขภาวะของชุมชน ในแต่ละตำบลจะมีข่วงกำกึ๊ด เพื่อเป็นที่รวมตัว แลกเปลี่ยนระดมความคิดกัน โดยชุมชนเป็นเจ้าภาพ เพื่อกำหนดภาพฝันของแต่ละตำบล กำหนดประเด็นหลักที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และมีความต้องการในการจัดการเป็นเรื่องหลัก โดยให้ชุมชนระดมความคิดเห็นและสรรหาผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการในประเด็นนั้นๆ รวมทั้งเป็นเวทีในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของชุมชน การจัดทำแผนสุขภาพตำบล เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโดยคนในชุมชนอย่างแท้จริง

          พัฒนาศักยภาพคนจัดการข่วงกำกึ๊ด จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในข่วงกำกึ๊ด ทำให้ชุมชนรู้ว่า ต้องมีคนจัดการข่วงกำกึ๊ด ในการทำหน้าที่ชวนพูดชวนคุย จึงมีการเสนอว่า ควรพัฒนาวิทยากรกระบวนการของแต่ละตำบล และต่อมาได้พัฒนาเป็นหลักสูตรอบรมวิทยากรกระบวนการขึ้นมา โดยทางโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดอบรมวิทยากรกระบวนการ ตำบลละ ๔ – ๕ คน เพื่อให้มีศักยภาพและทักษะในการชวนพูดชวนคุยกับคนในตำบลของตัวเอง และขับเคลื่อนให้ชุมชนไปสู่เป้าหมายหรือภาพอนาคตที่กำหนดไว้ได้

          ต่อยอดสู่โครงการอื่นๆ ของชุมชน นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนต่อยอดโครงการอื่นๆ ของแต่ละชุมชนเพิ่มเติม อาทิ เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกิดพลังสังคม เอาชนะยาเสพติด เรื่องลูกน้ำยุงลาย งานศพปลอดเหล้า โครงการเส้นทางสู่สุขภาพ ๓ ดี โครงการอาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง โดยเยาวชน เป็นต้น

           จากกระบวนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนของอำเภอสารภีอย่างบูรณาการและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในภาพรวมดังกล่าว ทำให้เราเห็นผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลชุมชน การบริการปฐมภูมิ ข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลส่วนบุคคล นวัตกรรมการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ผ่าน Saraphi Health Application ที่ได้พัฒนาขึ้นมาจากความต้องการชุมชน และได้รับการรับรองการจดลิขสิทธิ์แล้ว นอกจากนั้น การมีฐานข้อมูลชุมชนที่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันชุดเดียวกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงานสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาและวางแผนด้านสุขภาพเชิงรุกแล้ว ที่สำคัญ คือ ชุมชนได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนในชุมชน ทั้งภาควิชาการและภาคเอกชนอีกด้วย

          (ติดตามตอนต่อไป)

                                                                                                                                                             นภินทร

หมายเลขบันทึก: 577008เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2014 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท