ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยเรื่องทรัพย์

ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุที่มีรูปร่าง ตามมาตรา 137 กล่าวคือ ไม่ว่าอะไรที่มีรูปร่างก็จะเป็นทรัพย์ทั้งสิ้น สิ่งต่างๆที่มีรูปร่าง ก็เป็นทรัพย์ด้วย แต่ถึงแม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะมีรูปร่างแต่มนุษย์ก็ไม่สามารถยึดครองได้ก่อนนำมาก่อนิติสัมพันธ์ เช่น โอน ครอบครอง

ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาได้อาจถือเอาได้ ตามมาตร 138

ทรัพย์สิน คือ 1. ทรัพย์สิน(วัตถุรูปร่าง) ซึ่งอาจจะมีราคาได้และอาจยึดถือเอาได้

                      2. วัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาได้และอาจยึดถือเอาได้

ความหมายของ วัตถุมีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง

1.วัตถุมีรูปร่าง หมายถึง วัตถุที่มีขนาด มีรูปร่าง มีความ กว้าง ยาว สูง ด้วยตัวของมันเอง เช่น โต๊ะ สุนัข จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ มนุษย์จะมองเห็นหรือไม่ก็ได้

แต่วัตถุที่มีรูปร่างบางอย่างสามารถสัมผัสได้ แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สิน เช่น มนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตมนุษย์นั้นไม่สามารถนำมาครอบครองเป็นเจ้าของ

2.วัตถุไม่มีรูปร่าง หมายถึง สิ่งมี่ไม่สามารถจับต้องได้ ไม่สามารถมองเห็นได้ ไม่มีตัวตน ไม่มีสัดส่วน เช่น แก๊ส ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสิทธิต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์  แต่วัตถุที่ไม่มีรูปร่างทุกสิ่งจะเป็นทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่ออาจมีราคาได้และอาจถือเอาได้แล้ว แต่ต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองถึงสิ่งนั้นๆด้วย สิ่งนั้นจึงสามารถมีราคาและอาจถือเอาได้แล้ว

ราคา (value) หมายถึง คุณค่าของวัตถุสิ่งนั้นไม่ใช่ราคาที่จะซื้อขายในท้องตลาด

ราคา (price) หมายถึง นำมาเปรียบเทียบกัยวัตถุเงินตราที่ใช้แลกเปลี่ยนในท้องตลาด ซึ่งอาจไม่แน่นอน

ประเภทของทรัพย์ มี 5 ประเภท เพื่อนประโยชน์ในการใช้ นิติกรรมสัญญา

1. อสังหาริมทรัพย์

2. สังหาริมทรัพย์

3. ทรัพย์แบ่งได้

4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้

5. ทรัพย์นอกพาณิชย์

1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และ หมายถึงความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกับที่ดิน หรือ ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้นด้วย ตามมาตรา 139

อสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยทรัพย์สิน ๔ ประเภท คือ

ก. ที่ดิน

ข. ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่มีลักษณะเป็นการถาวร

ค. ทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

ง. ทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับ2ที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินอื่นนอกจาก อสังหริมทรัพย์ และ หมายความรวมถึง สิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย มาตรา 140

สังหาริมทรัพย์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท

1. ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์

2. สิทธิอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์

3. ไม่ล้มรุก หรือ ธัญชาติ

3. ทรัพย์แบ่งได้ มาตรา 141 บัญญัตไว้ว่า "ทรัพย์อันอาจแยกออก จากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตั"

ทรัพย์แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแบ่งออกจากกันได้ โดยไม่เสียรูปลักษณะเดิม คือแบ่แล้วก็ยังคงเป็นทรัพย์เหมือนเดิม เพียงแต่ปริมาณอาจจะน้อย เช่นที่ดิน เช่น ข้าว น้ำมัน

4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความ มาตรา 142 บัญัญติไว้ว่า ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย  ได้แก่ 

1. ทรัพย์ซึ่งแล่งไม่ได้โดยสภาพ เช่น ตึกราย้านช่อง กางเกง

2. ทรัพย์ซึงแบ่งไม่ได้โดยอำนาจของกฎหมาย เช่น ทรัพย์ที่เป็นส่วนควบ ภาระจำยอม หุ้นของบริษัทจำกัด

5. ทรัพย์นอกพาณิชย์ ตามมาตรา 143 บัญญัติไว้ว่า "ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย" จะเป็นทั้ง สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์ก็ได้

ทรัพย์นอกพาณิชย์ มี 2 ประเภทคือ

1. ทรัพย์ไม่สามารถถือเอาได้ คือ ทรัพย์ที่ไม่ใช่ทรัพย์ตามกฎหมาย ไม่อาจนำมาเป็นวัตถุแห่งสิทธิ, จำหน่ายได้ เช่น สายลม ก้อนเฆม น้ำทะเล

2. ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง ทรัพย์สินที่จะมา จำหน่าย จ่ายโอน ดังเช่นทรัพย์สินทั้วๆไปไม่ได้ เว้นแต่จะโอนโดย อาศับอำนาจของกฎหมายอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติเฉพาะ เช่น การโอน ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินไม่ได้ ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ ศาสนสมบัติกลาง

ส่วนควบ

มาตรา 144 บัญญัติไว้ว่า "ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพของทัรพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากทำลาบ ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น"

ส่วนควบต้องประกอบด้วยหลักเกรณฑ์ 2 ประการ คือ

1. ส่วนควบต้องเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ใหม่นั้น เช่น เลนต์แว่นตา

ก.โดยสภาพแห่งทรัพย์ เช่น เข็มนาฬิกาย่อมเป้นสาระสำคัญของนาฬิกา

ข.โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เช่น บ้านโดยจารีณประเพณีย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของที่ดิน

2. ส่วนควบต้องมีสภาพไม่อาจแยกออกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำบุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรง หรือ สภาพไป

ข้อยกเว้นในเรื่องส่วนควบ ที่กฎหมายมีข้อยกเว้นไม่ให้เป็นส่วนควบ

1. ไม้ล้มลุก และธัญชาติ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 145[1] เช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง ข้าวโพด

2. ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพืยงชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 146[2] เช่น สิ่งปลูกสร้างที่ที่ติดอยู่กับอาคารเพื่อแสดงต่างๆ

3. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้ที่มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช่สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย (มาตรา 146) เช่น ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินในที่ดินผู้อื่น[3] ได้ปลูกสร้างบ้านหรือต้นไม้ลงไป บ้านและต้นไม่ย้อมไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน และผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินก็สามารถรื้อถอนได้

อุปกรณ์

มาตรา 147 บัญญัติไว้ว่า "อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ ซึ่งปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ประธานและเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือนำเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นได ในฐานะเป็ยของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ประธานนั้น

อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็นอุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นทรัพย์ประธานนั้น

อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ประธาน เว้นไว้แต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"

อุปกรณ์จำแนกเป็นลักษณะสำคัญของทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์ได้ดังนี้

1. สังหาริมทรัพย์

2. โดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ

3. เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน

4. เจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อ หรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

ดอกผล

มาตรา 148 บัญัญติไว้ว่า "ดอกผลของทรัพย์ได้แก่ ดอกปลธรรมดา และดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไปตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อตัดขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้"

ดอกผลตามป.พ.พ. มี2ประเภท คือ ดอกผลธรรมดา และดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา เป็นทรัยพ์ที่เกิดตามธรรมชาติจากแม่ทรัพย์ และแม่ทรัพย์ได้มาโดยการปกตินิยม เมื่อดอกผลงอกเงยแล้วถือเป็นทรัพย์ที่เพิ่มพูนงอกเงอต่างหากจากตัวแม่ทรัพย์ เช่น ผลไม้เมื่อขาดหลุดจากต้นไม้ ขนของสัตว์ ทรัพย์ที่เป็นดอกผลธรรมดาจะถือว่าเป็นดอกผลได้ต่อเมื่อ ขาด ตก ออกจากแม่ทรัพย์แล้ว ถ้ายังไม่ขาดก็ถือว่ายังไม่ใช่

ดอผลนิตินัย มิได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่ดอกผลของแม่ทรัพย์ที่เกิดจากการที่ผู้อื่นใช้ทรัพย์นั้นแล้วซึ่งกฎหมายรับรองให้เป็นดอกผล เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า ค่าปันผล ดอกนิตินัยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้อื่นเป้นผู้ใช้ทรัพย์นั้น และมอบค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์เป็นครั้งคราว เพื่อตอบแทน เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นตามกฎหมายจึงคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ดอกผลนิตินัย มีสาระสำคัญดังนี้

1. ต้องเป็นทรัพย์ เช่น ดอกเบี้ย ค่าเช่า

2. ต้องเป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์

3. ทรัพย์ที้ตกได้แก่แม่ทรัพย์นี้จะต้องเป็นการตอบแทนจากผู้อื่น

4. ทรัพย์ที่ได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์นั้นจะต้องได้เป็นครั้งเป็นคราว

กำไร[4]และค่าปันผล[5]นั้นถือว่าเป็นดอกผลนิตินัย

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 576554เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2014 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2014 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท