​ครูกับการประเมิน


          วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ทีมงานจาก สสค. มาสัมภาษณ์ ในโครงการศึกษาแนวทางการปฏิรูประบบ การศึกษาในมิติโครงสร้างและกติกาการบริหารจัดการระบบการศึกษา เพื่อค้นหากลไกเริ่มต้นของการปฏิรูป ระบบการศึกษา โดยส่งคำถามมาล่วงหน้า ๗ คำถาม มีข้อมูลประกอบแต่ละคำถาม และแต่ละคำถาม มีลักษณะเป็นคำถามเชิงซ้อน แสดงว่าทีมวิจัยเตรียมตัวดีมาก

          คำถามที่ ๓ เกี่ยวกับการประเมิน เขาให้ข้อมูลจากผลการวิจัยว่า ครูไทยที่เขาไปถาม ใช้เวลาปีการศึกษา ละ ๔๓ วัน กับกิจกรรมการประเมิน คิดเป็นร้อยละ ๑๙ ของวันเปิดเทอมทั้งหมด

          ผมเตรียมไปให้สัมภาษณ์ว่า ครูต้องเกี่ยวข้องกับการประเมินมากกว่านั้น คือในเวลาเปิดเทอมทุกวันครู ต้องใช้เวลาในการประเมิน แทนที่จะเป็นร้อยละ ๑๙ ต้องเป็นร้อยละ ๑๐๐

          แต่ “การประเมิน” ตามแบบสอบถาม กับตามความหมายของผม เป็นคนละประเมิน

          “การประเมิน” ที่ครูเสียเวลาไปปีการศึกษาละ ๔๓ วันนั้น มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน น้อยมาก หรือในความเห็นของครูคือ เอาเวลาเหล่านั้นไปเอาใจใส่ศิษย์จะมีค่ามากกว่า เพราะการประเมินนั้น เป็น summative evaluation ประเมินโดยหน่วยงานภายนอก ที่ช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาน่าจะเป็นข้อพิสูจน์ แล้วว่า กลไกเหล่านั้นไม่ได้ช่วยให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้น

          แต่ “การประเมิน” ในความหมายของผม หมายถึง Formative Assessment ที่จะต้อง “ฝัง” (embedded) หรือบูรณาการอยู่ในกระบวนการการเรียนการสอน ในทุกขณะจิต บูรณาการอยู่ในการทำหน้าที่ของครู ดังนั้น ครูจึงต้องทำหน้าที่ประเมินทุกวัน หรือจริงๆ แล้ว ทุกนาที

          ครูต้อง “ประเมินเพื่อมอบอำนาจ” ตามแนวทางในบันทึกชุด ประเมินเพื่อมอบอำนาจ และในหนังสือ การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ส.ค. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 576546เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2014 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2014 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท