การจัดการความรู้ : ระบบพี่เลี้ยงในกระบวนการจัดการความรู้ (Mentoring in KM)


ในการจัดการความรู้ในองค์กรมีเครื่องเมื่อในการถ่ายทอดความรู้จาก Tacit สู่ Tacit มากมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เรามักพูดถึงกันอยู่บ่อย ๆ เวลาทำ KM นอกจากมานั่งล้อมวงกันแล้ว การทำ Coach การทำ Mentor ก็เป็นอีกเครื่องมือที่นำมาจัดการความรู้เช่นกัน

เทคนิคที่ควรนํามาใช้ในองค์กรเพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้และพัฒนาพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้รวบรวมไว้ 6 เทคนิค ดังนี้

1. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning) เป็นระดับ ภาวนามัยปัญญา

2. มาตรฐานเปรียบเทียบ (Benchmarking)

3. การสอนงาน (Coaching)

4. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)

5. แฟ้มงานเพื่อการพัฒนา (Portfolio)

6. ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning Center)

Mentoring การเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) เป็นการให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ หรือเป็นที่ยอมรับหรือผู้บริหารในหน่วยงานให้คําปรึกษา และแนะนําช่วยเหลือรุ่นน้องหรือผู้ที่อยู่ในระดับต่ํากว่า (Mentee) ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการทํางานเพื่อให้มีศักยภาพสูงขึ้น การเป็นพี่เลี้ยงอาจไม่เกี่ยวกับ

หน้าที่ในปัจจุบันโดยตรง ผู้ที่เป็น Mentee เป็นได้ทั้งพนักงานใหม่ หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรมาก่อนโดยเป็นกลุ่มคนที่มีผลงานโดดเด่นกว่าคนอื่น โดย Mentor จะเป็นแม่แบบ และเป็นผู้สอนงานให้ Mentee รวมทั้งให้กําลังใจ สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือให้ Mentee มีโอกาสได้เติบโตหรือได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยให้โอกาสหรือเวทีที่จะแสดงผลงาน แสดงฝีมือ และความสามรถในการทํางาน

Mentoring หมายถึงพี่เลี้ยง เป็นการให้ผู้ที่มีความสามารถหรือเป็นที่ยอมรับ หรือผู้บริหารในหน่วยงานให้คําปรึกษาและแนะนําช่วยเหลือรุ่นน้องหรือผู้ที่อยู่ในระดับต่ํากว่าในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการทํางานเพื่อให้มีศักยภาพสูงขึ้นแต่อาจไม่เกี่ยวกับหน้าที่ในปัจจุบันโดยตรง พี่เลี้ยง จะเรียกว่า Mentor ส่วนบุคคลที่ได้รับการดูแลจากผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยงเรียก Mentee บางองค์กรจะเรียกระบบพี่เลี้ยง หรือ Mentoring System นี้ว่า Buddy System เป็นระบบที่พี่จะต้องดูแลเอาใจใส่น้อง คอยให้ความช่วยเหลือและให้คําปรึกษาแนะนําเมื่อ Mentee มีปัญหา ส่วนใหญ่องค์กรจะกําหนดให้มีระบบการเป็นพี่เลี้ยงให้กับพนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้ามาทํางาน ผู้ที่เป็น Mentor จะเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานมาก่อนที่ไม่ใช่หัวหน้าโดยตรง ทั้งนี้ คุณสมบัติหลักที่สําคัญของบุคคลที่จะทําหน้าที่พี่เลี้ยงให้แก่พนักงานใหม่นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีทัศนคติ หรือความคิดในเชิงบวก (Positive Thinking) มีความประพฤติดีสามารถปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ Mentee ได้

บทบาทและหน้าที่ที่สําคัญของ Mentor ได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กรให้พนักงานใหม่รับทราบ รวมถึงจะต้องเป็นผู้ให้คําปรึกษาและชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร ตลอดทั้งต้องมีการตรวจสอบและติดตามผลความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลที่ให้กับพนักงานใหม่ด้วย

การ Mentoring นอกจากใช้กับพนักงานใหม่แล้ว ยังสามารถนําวิธีการนี้มาใช้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรมาก่อน โดยคุณลักษณะของผู้ที่เข้าข่ายของการเป็น Mentee ในองค์กรได้นั้น ควรมีคุณลักษณะที่สําคัญ ดังต่อไปนี้

- เป็นผู้ที่มีประวัติในการทํางานที่ประสบความสําเร็จ

- เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดและมีความคิดสร้างสรรค์ในการทํางาน

- เป็นผู้ที่มีความผูกพันกับบริษัทและผูกพันกับหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย

- เป็นผู้ที่มีความใฝ่ฝันและความปรารถนาที่จะทํางานให้บรรลุเป้าหมาย

- เป็นผู้ที่ชอบความท้าทายและเต็มใจพร้อมที่จะทํางานนอกเหนือจากงานประจําของตน

- เป็นผู้ที่มีความปรารถนาที่จะได้รับความก้าวหน้าและการเติบโตในสายอาชีพ

- เป็นผู้ที่เต็มใจรับฟังคําชี้แนะและข้อมูลป้อนกลับจากหัวหน้างานและคนรอบข้างเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง ตนเองอยู่เสมอ

ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงานจัดได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่หัวหน้าใช้เพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาลูกน้องให้มีความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะเฉพาะตัว (Personal Attributes) ในการทํางานนั้น ๆ ให้ประสบความสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายหรือผลงานที่หัวหน้างานต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้น (Result-Oriented) โดยจะต้องตกลงและยอมรับร่วมกัน (Collaborative) ระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง ทั้งนี้ การสอนงานนอกจากจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง (Individual Performance) ในปัจจุบัน การสอนงานยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพ (Potential) ของลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องมีพัฒนาการของความรู้ ทักษะและความสามารถเฉพาะตัว และมีศักยภาพในการทํางานที่สูงขึ้นต่อไป เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอันนํามาซึ่งตําแหน่งสูงขึ้นต่อไปในอนาคต

นี่ก็คือกระบวนการหนึ่งในการจัดการความรู้ภายในองค์กรผ่านเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า Mentoring System ที่ส่งผลทำให้คนแก่งขึ้น คิดเป็นทำเป็นมากขึ้น

กาลิเลโย : 7 พ.ค.2556

หมายเลขบันทึก: 576370เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2014 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2014 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาอ่าน

หายไปนานเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท