ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 49 การนับจำนวน


ว่าด้วยการนับเลข

ตัวเลขในภาษาสันสกฤตมีการนับค่อนข้างจะเป็นไปตามระบบ มียกเว้นบ้างเป็นธรรมดา ดูอย่างภาษาอังกฤษ eight+ty = eighty ตัว t หายไปตัวหนึ่ง ส่วน five+ty กลายเป็น fifty ฯลฯ ภาษาไหนๆ ก็คงมีแบบนี้ เพราะภาษามิใช่คณิตศาสตร์ ที่จะมีสูตรเดียวแล้วใช้ได้ตลอด เมื่อเจอข้อยกเว้นพิเศษก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ โชคดีแล้วที่มีกฎให้เราได้จดได้ยึดเอาไว้บ้าง

ก. จำนวนนับ

จำนวนนับ มีศัพท์ดังนี้

เอก = 1 ทฺว = 2 ตฺริ = 3

จตุรฺ = 4

ปญฺจ = 5

ษษฺ = 6 สปฺต = 7 อษฺฏ = 8

นว = 9

ทศ = 10

จำนวนมากกว่า 10 เป็นดังนี้

เอกาทศ = 11 ทฺวาทศ = 12 ตฺรโยทศ = 13

จตุรฺทศ = 14

ปญฺจทศ = 15

โษฑศ = 16 สปฺตทศ = 17 อษฺฏทศ = 18

นวทศ = 19

วึศติ = 20 คำนี้พิเศษ

เกิน 20 ก็นับเพิ่มข้างหน้า

เอกวึศติ =21 ทฺวาวึศติ = 22 ตฺรึศตฺ = 30

จตฺวารึศตฺ = 40

ปญฺจาศตฺ = 50

ษษฺฏิ = 60 สปฺตติ = 70 อศีติ = 80

นวติ = 90

ศต = 100

ทฺวิศต หรือ ทฺเว ศเต =200

สหสฺร = 1,000

ทฺวิสหสฺร หรือ ทฺเว สหสฺเร = 2,000

ศตสหสฺร ฟรือ ลกฺษ = 100,000

ข. จำนวนเพิ่มจากหน่วยสิบ ให้เติมศัพท์ข้างหน้าสิบนั้นๆ เช่น ปญฺจ + วึศติ = 5+20 = 25

สำหรับจำนวนเอ็ดหน้าสิบ นั้น ใช้ เอกา ไม่ใช่ เอก คือ เอกาทศ, แต่ถ้า 21 เอกวึศติ, 21 เอกตฺรึศตฺ ... อย่างง เขาใช้กันมาอย่างนี้

หน่วยสอง ของ 42 52 62 72 และ 92 จะใช้ ทฺวิ หรือ ทฺวา ก็ได้ เป็น ทฺวิจตฺวารึศตฺ หรือ ทฺวาจตฺวารึศตฺ ฯลฯ

หน่วยสามของ 43 ถึง 73 และ 93 จะใช้ ตฺริ หรือ ตฺรยสฺ ก็ได้ เป็น ตฺริจตฺวารึศตฺ หรือ ตฺรยศฺจตฺวารึศตฺ ฯลฯ

หน่วยแปดของ 48 ถึง 78 และ 98 ใช้ อษฺฏ หรือ อษฺฏา ก็ได้ เป็น อษฺฏจตฺวารึศตฺ หรือ อษฺฏาจตฺวารึศตฺ ฯลฯ

ค. ศัพท์พิเศษ 12 ใช้ ทฺวาทศ แต่ 82 ใช้ ทฺวฺยศีติ,23 ใช้ ตฺรโยวึศติ, 33 ใช้ ตฺรยสฺตฺรึศตฺ, แต่ 83 ใช้ ตฺรฺยศีติ,

16 ใช้ โษฑศ แต่ 26 เป็นต้นไปใช้ ษษฺ (เปลี่ยนเป็น ฏ ฑ ณ หรือ น ตามสนธิ) เช่น ษฑฺวึศติ ษฏฺตฺรึศตฺ ษฏฺปญฺจาศตฺ ฯลฯ

สำหรับหน่วย 8 นั้น 28 ใช้ อษฺฏาวึศติ, 39 อษฺฏาตฺรึศติ, 88 ใช้ อษฺฏาศีติ

ง. การบอกจำนวนระหว่างหน่วยสิบ อาจใช้วิธีการบอกเพิ่มหรือลด โดยนำไปเติมหน้าหน่วยสิบนั้น

1) อูน แปลว่าขาด เช่น เอโกนวึศติ (เอก-อูน-วึศติ) = ยี่สิบขาด 1= 19โดยมากจะใช้กับจำนวนที่ลงท้ายด้วย 9. ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีคำว่าเอก, เป็น อูนวึศติ เลยก็ได้

2) อธิก, อตฺตร แปลว่า เพิ่ม หรือ อีก ใช้เติมหน้าหน่วยสิบเช่นกัน เช่น อษฺฏาธิกนวติ (90 เกินมา 8) = 98. หรือจะใช้ว่า อษฺฏาธิกา นวติ ก็ได้ (เรื่องเพศของคำเดี๋ยวจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป)

วิธีการนับเพิ่มนี้นิยมใช้เมื่อนับเพิ่มจากร้อย เช่น เอกศตมฺ 101, อษฺฏาศตมฺ 108, ปญฺจาธิกํ ศตมฺ 108, ปญฺจาธิกํ ศตมฺ 105, สปฺโตตฺตรํ ศตมฺ 107

จ. การแจกรูป

1 เอก แจกเหมือน สรฺว (ถ้าเป็นพหูพจน์ แปลว่า บ้าง จำนวนหนึ่ง) หากเป็เอกพจน์ ก็หมายถึงหนึ่ง คล้าย article ในภาษาอังกฤษ. แต่ไม่แจกทวิพจน์

2. ทฺว แจกเฉพาะทวิพจน์ ใช้ตามแบบปกติ ปุ. เป็น ทฺเวา, สฺ, นปุ. ทฺเว. รูปวิภักติอื่นก็เป็น ทฺวาภฺยาม, ทฺวโยสฺ จบ.

3. ตฺริ แจกพหูพจน์. ใน ปุ.และนปุ. แจกตามแบบ (มียกเว้นเล็กน้อย) ส่วน สตรี. ใช้เค้า ติสฺฤ.ดังนี้

ปุ. ตฺรยสฺ, ตฺรีนฺ, นปุ. ตฺรีณิ, ตฺริภิสฺ, ตฺริภฺยสฺ, ตฺรยาณามฺ, ตฺริษุ, เคสไหนดูเอาเอง

สตรี. กรรตุ-กรรม, ติสฺรสฺ; กรณติสฺฤภิสฺ, สัมประ-อปาทาน ติสฺฤภฺยสฺ, สัมพันธ ติสฺฤณามฺ, อธิกรณ ติสฺฤษุ

4 จตุรฺ มีรูปแข็งคือ จตฺวารฺ, สตรี ใช้ จตสฺฤ. ดังนี้

ปุ. กรรตุ. จตฺวารสฺ, กรรม. จตุรสฺ, นปุ.กรรตุ-กรรม. จตฺวาริ, กรณ จตุรฺภิสฺ, ฯลฯ

สตรี. กรรตุ-กรรม, จตสฺรสฺ, ที่เหลือ จตสฺฤภิสฺ, -ภฺยสฺ, -ณามฺ, - ษุ

5.-19. ไม่แบ่งเพศเฉพาะ แจกรูปพิเศษของพหูพจน์

5-7-9-10 ใช้แบบ ปญฺจ, ปญฺจภิสฺ, - ภฺยสฺ, ปญฺจานาม ปญฺจสุ.

7 สปฺต, 9 นว, 10 ทศ (รูปหน่วยของสิบ ก็แบบเดียวกัน)

6. ษษฺ ใช้แบบนี้ ษฏฺ, ษฑฺภิสฺ, ษฑฺภฺยสฺ, ษณฺณามฺ, ษฎฺสุ

8 อษฺฏ แจกตามแบบ ปญฺจ (อษฺฏ, อษฺฏภิสฺ, -ภฺยสฺ, -อานามฺ, -สุ) หรือ อษฺเฏา, อษฺฏาภิสฺ, -ภฺยสฺ,- อานามฺ, -อาสุ ก็ได้

20, 30 และอื่นๆ เป็น วึศติ, ตฺรึศตฺ ฯลฯ แตกตามปกติ สตรีลิงค์ ทุกพจน์

100,1000 ใช้ ศต และ สหสฺร แจกปกติ แบบ นปุ. ทุกพจน์

ฉ. โครงสร้างของจำนวน

1. จำนวนนับ 1-19 ใช้เป็นคุณศัพท์ สอดคล้องตามการกกับนาม และเพศ (ถ้ากำหนด)

2. 19 ขึ้นไปถือเป็นนามตัวหนึ่ง จะเป็นนาม แล้วตามด้วยนามสัมพันธการก หรือนามอิสระ ก็ได้ เช่น ศตฺ ทาสีนามฺ หนึ่งร้อยแห่งทาสี แปลเป็นภาษาอังกฤษเข้าใจง่ายกว่า a hundred of female slaves. หรือ ศตํ ทาสีะ a hundred female slaves (ศต เป็น นปุ, 100 หนึ่งตัว ถือเป็นเอกพจน์, ส่วน ทาสี เป็นเพศอะไรก็ไม่เกี่ยวกับศต เพราะใช้แยกกัน)ษษฺฏฺยำ ศรตฺสุ “ในฤดูศรัท 60 ฤดู”

ช. ลำดับที่

ลำดับที่เรียกอย่างนี้ ปฺถม ที่หนึ่ง, ทฺวิตีย ที่สอง, ตฺฤตีย, จตุรฺถ, ปญฺจม, ษษฺฐ, สปฺตม, อษฺฏม, นวม, ทศม, เอกาศม (จนถึงที่ 19 ใช้แบบเดียวกับจำนวนนับ แต่แจกแบบนามเพศชาย) ที่ 20 ใช้ วึศ หรือ วึศติตม, 30 ตฺรึศ หรือ ตฺรึศตฺตม ฯลฯ

นอกจากนี้ ที่ 19 ยังใช้ได้อีกหลายแบบ เช่น เอโกนวึศ หนรือ อูนวึศ, เอโกนวึศติตม หรือ อูนวึศติตม ก็ได้ การบอกลำดับที่นั้นนิยมใช้รูปย่อ (วึศ ฯลฯ) มากกว่า

ฌ. ปฺรถม, ทฺวิตีย และ ตฺฤตีย แจกเพศหญิงเป็น –อา ลำดับอื่นๆ พ้นจากนี้แจกเป็น –อี. สามจำนวนแรกนี้บางครั้งอาจใช้รูปคุณศัพท์ แต่ปกตินิยมแจกแบบนาม

ญ. การบอกจำนวนครั้ง ใช้เป็นอวฺยย คือไม่แจกรูปดังนี้

1) สกฺฤตฺ หนึ่งครั้ง, ทฺวิสฺ สองครั้ง, ตฺริสฺ สามครั้ง, จตุสฺ สี่ครั้ง, ปญฺจกฺฤวสฺ หรือ ปญฺจวารมฺ ห้าครั้ง ที่เหลือก็คล้ายกัน โดยนำจำนวนนับมาเติม -กฺฤตฺวสฺ หรือ – วารสฺ

2) เอกธา ในทางหนึ่ง, ทฺวิธา, ทฺเวธา ในสองทาง, ตฺริธา หรือ ตฺเรธา, ปญฺจธา, โษฒา หรือ ษฑฺธา ฯลฯ

3) เอกศสฺ ทีละหนึ่ง (เดี่ยวๆ), ศตศสฺ ทีละร้อย, ร้อยเท่า ฯลฯ

*แปะไว้ก่อน ค่อยมาจัดอีกที***

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

http://www.sanskrit-sanscrito.com.ar/en/learning-s...

หมายเลขบันทึก: 576350เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2014 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2014 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ต้องขออภัยผู้ท่านทุกท่านครับ

ผมมีปัญหา เข้าระบบไม่ได้ เลยหายหน้าไปนาน

วันนี้ลองดูอีกที เข้าได้แล้ว จะได้เข้ามาเขียนตามปกติครับ

ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท