ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๔ : PBL ในวิชาค้นคว้าอิสระ ณ เชียงยืนพิทยาคม (จบ)


ในเวที PLC มหาสารคาม ประจำปี ๒๕๕๗ ผู้เขียนสังเกตว่าสมาชิกครูเพื่อศิษย์ชุดแรกนี้สนิทสนมกันมากเกือบทุกคนจะเรียกชื่อเล่นกันไปมา เว้นแต่คุณครูละมุน ครูพิสมัยและครูอนันต์ ที่เพิ่งมาใหม่ในเวทีนี้ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า เพื่อนๆจะเรียกว่า "พี่ติ่มๆ " ผู้เขียนจึงตั้งชื่อบันทึกนี้ว่า "PBL ของครูติ๋ม"ซึ่งก็หมายถึงคุณอาเพ็ญศรี ใจกล้านั่นเอง

PBL ที่ "ครูติ๋ม" และเพื่อนๆ นำมาใช้เป็นปีที่ ๓ ติดต่อกันนี้พัฒนามาจนกลายมาเป็นรายวิชาค้นคว้าอิสระ หรือวิชา IS ที่เปิดเป็นรายวิชาสอนแบบ "เน้นกระบวนการ" เพื่อฝึก "ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑"อย่างเต็มที่ ผู้เขียนจับประเด็นผสมกับสิ่งที่ "ผู้เขียนเห็น" ผ่านมา นำมาสรุปไว้เป็น "สคริปท์การเรียน" (Learning Script) ดังรูปนี้

การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการสหวิทยาการ ที่ "ริเริ่มรูปแบบ"อย่างมีส่วนร่วมจากการ PLC อาจารย์ระดับชั้นเดียวกัน โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็น ๔ ช่วง ได้แก่

๑) ขั้นเตรียมการสอน ที่ PLC ครูจะมาร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดที่ต้องการอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาจะมาร่วมกันวิเคราะห์เป้าหมาย KPA ของตนเองที่สามารถบูรณาการกับการเรียนบนฐานปัญหานั้นได้และร่วมกันกำหนดหัวเรื่องใหญ่ เพื่อจะวางแนวทางสร้างแรงบันดาลใจสร้างความสงสัย ท้าทายเด็กๆ ต่อไป ในเทอมนั้นๆ

๒) ขั้นจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักว่า "เด็กๆเป็นผู้สร้างองค์ความรู้เอง" นั่นคือ ทีม PLC ครูจะเน้นเป็นเพียง "กระบวนการ" อำนวยการ ให้นักเรียนได้ร่วมกันเป็นทีมเพื่อ สำรวจปัญหาวิเคราะห์ปัญหา ลงพื้นที่สัมผัสปัญหา อภิปรายแนวทางแก้ไขปัญหาและกำหนดปัญหา เขียนหลักการและเหตุผลเพื่อจะจัดทำเป็นเค้าร่างโครงงานของกลุ่ม ซึ่งต้องวางแผนและ (BAR) นำเสนอต่อไป โดยอาจารย์เป็นกรรมการสอบเค้าโครงงาน

๓) ขั้นลงมือแก้ปัญหา หรือ ขั้นลงมือทำ เน้นว่า เด็กๆเป็นผู้ลงมือดำเนินการทำตามแผนที่กลุ่มวางไว้อาจารย์จะเข้ามาทำหน้าที่ผู้ประเมินผลและพี่เลี้ยงคอยกระตุ้น ซักถามเพื่อให้เกิดความชัดเจน และปลอดภัยในการเรียนรู้ภาคสนามของเด็กๆเปิดโอกาสให้เขาได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มานำเสนอผ่าน "การรายงานความก้าวหน้า" ซึ่งต้องมีการให้ทำ DAR มาก่อน

๔) ขั้นนำเสนอและสรุป "ถอดบทเรียน" (AAR) โดยทางโรงเรียนจะจัดงาน "วันเปิดโลกกิจกรรม" ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลงาน/ชิ้นงานอาจารย์ทำหน้าที่ประเมินผล ซักถาม และตรวจจับ "KPA" ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นเทอม ซึ่งอาจตรวจจากรายงาน หรือการตอบคำถาม เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 575733เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท