ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๒ : วิธีคิดและกระบวนการของครูเพ็ญศรี


ส่วนใหญ่ครูจะให้เหตุผลที่ตนไม่ “ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน” ว่า เพราะห่วงเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ถ้าสอนบูรณาการผ่านการทำโครงงาน (Project-based Learning) หรือ PBLนักเรียนจะไม่ได้เนื้อหาครบถ้วนตามสาระเป้าหมายของรายวิชาที่กำหนด ส่วนผู้บริหารจะกลัวว่า หากครูสอนไม่ครบจะทำให้นักเรียนสอบตก O-Net ให้โรงเรียนไม่ผ่านการประเมินประกันคุณภาพการศึกษา

แต่ครูเพ็ญศรีกลับตั้งคำถามว่า “มีวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใดไหมที่ทำให้นักเรียนได้ทั้งทักษะและเนื้อหาที่ครบถ้วน” และเริ่มทดลองนำการเรียนรู้ผ่านโครงงานมาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้การตั้งคำถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้นักเรียนได้ “ฝึกคิดฝึกทำ” ฝึกทำงานร่วมกันเป็นทีม ไม่เข้าไปแทรกแซงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนโดยไม่จำเป็น ชวนคิด ชวนถอดบทเรียนพาให้นักเรียนแต่ละคนได้สะท้อน (Reflection) และเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง

อุปนิสัยใฝ่เรียนรู้และความเป็นครูเพื่อศิษย์ที่คิดและทำโดยเอาผลลัพธ์ที่จะเกิดกับนักเรียนเป็นตัวตั้ง ทำให้ครูเพ็ญศรี คอยสร้างสถานการณ์หรือโอกาสที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ จนเกิดรูปแบบใหม่ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในเอกสารนี้ต่อไป

เราสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของคุณครูเพ็ญศรี ใจกล้าจากประสบการณ์ที่ได้รู้จักท่านกว่า ๓ ปีได้เป็น ๓ ส่วนได้แก่ ๑) สร้างความภาคภูมิใจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ๒) ฝึกทักษะการคิดและการทำโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) มาใช้และ ๓) สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้แบบ ๓PBL ด้วยปัญหาจริงในชุมชน (อ่านรายละเอียดหลักสูตร ๓PBL ในภาคผนวก)

๑.) สร้างความภาคภูมิใจเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

ครูเพ็ญศรีและเพื่อนครูที่โรงเรียนให้ความ สำคัญกับมิติภายในใจของนักเรียนอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้จึงเน้นการเตรียม ความพร้อมของใจนักเรียนเป็นเบื้องต้น เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเองภาคภูมิใจในตนเอง จนเกิดความมั่นใจตนเอง มั่นใจว่าตนเองสามารถทำได้จึงเกิดความกล้าที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองเห็นคุณค่า และความหมายกิจกรรมการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่าเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง

โดยนำกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้ตนเองตามหลักพุทธมาปรับใช้ในการออกแบบกิจกรรมต่างๆ เช่นเขียนจดหมายถึงตนเองในวัยเด็กฝึกอยู่กับตนเองและสะท้อนความคิดความรู้สึกของตนเอง ฯลฯ ผู้เขียนคิดว่าปัจจัยของความสำเร็จอย่างหนึ่งของคุณครูเพ็ญศรี คือคุณครูสุกัญญามะลิวัลย์ ครูแนะแนวที่เชี่ยวชาญจิตวิทยาและจิตตปัญญาศึกษาผู้เขียนคิดว่าท่านเป็นครูอีกท่านหนึ่งที่เราควร "จับภาพ"

๒.) ฝึกคิดและฝึกทำโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในเบื้องต้น ครูเป็นผู้ตั้งคำถามหรือสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนได้ฝึกคิด โดยครูเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมและจัดการห้องเรียน เช่น การเปิด วีดีทัศน์สารคดีปัญหาวัยรุ่นในสังคมเสื่อมให้ดู แล้วให้ตีความหมายอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ปัญหาระดมสมองเสนอวิธีแก้ไข ฯลฯ เรา (ในที่นี้หมายถึง PLC มหาสารคาม) เรียกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้ว่า Pattern-based Learning ใช้สัญลักษณ์เป็น ๑stPBL

เครื่องมือในการการฝึกให้นักเรียนคิดของครูเพ็ญศรีคือการโยนคำถามกระตุ้นให้คิด ทุกครั้งที่ได้คุยกับท่าน จะได้ยินคำว่า "......มั้ย" ปิดท้ายประโยคบ่อยๆ บ่งบอกถึงการสร้างประโยคสนทนาที่ไม่มีผิดมีถูกอีกทั้งแสดงถึงความเป็นกึ่งคำถามของประโยคนั้น ทำให้ผู้ฟัง "ต้องคิด"เมื่อได้คิดจึงได้ "ฝึกคิด"

ตอนหลังๆ ของการจัดการเรียนรู้ เราพบว่าคำถามต่างๆ ที่นำมาใช้นั้นสอดคล้องกับหลักการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพียงแต่ไม่ได้ “ถอดบทเรียน” ให้เชื่อมโยงกับหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๔ มิติเท่านั้น

ลักษณะการตั้งคำถามของครูเพ็ญศรีนั้น "ไม่มีรูปแบบ"เป็นการตั้งคำถามขึ้นทันที หลังจากที่ได้ฟังสถานการณ์จากนักเรียน (ระหว่างที่โต้ตอบกับนักเรียน) เป็นคำถามที่ผ่านการคิดและพิจารณาจากประสบการณ์ของท่านเอง....

ส่วนการฝึกทักษะการแก้ปัญหาและการทำงานให้นักเรียนครูเพ็ญศรีและทีมงานใช้การเรียนรู้ผ่านโครงงานซึ่งปัจจุบัน กลายมาเป็นรายวิชาค้นคว้าอิสระ (Independent Study, IS) การฝึกการคิดและการทำให้โครงงานให้นักเรียนเป็นไปอย่างเป็นระบบดังจะได้กล่าวต่อไปในเอกสารนี้

ในทั้งการฝึกคิดและฝึกทำนี้ สิ่งสำคัญที่ครูเพ็ญศรีเน้นว่าต้องมีไม่ขาดและสม่ำเสมอคือการ ถอดบทเรียน สะท้อนบทเรียนโดยใช้เครื่องมือจัดการความรู้ต่างๆ เช่น BAR (Before Action Review, AAR (After Action Review, แลกเปลี่ยนเรียนรู้, จัดนิทรรศการ Show & Share ในโรงเรียน เป็นต้น

กระบวนการที่มุ่งเน้นฝึกทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบนี้ ทีมครูเป็นผู้นำในการออกแบบกระบวนการที่เน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม และฝึกทำงานแบบ PDCA ผ่านกระบวนการทำโครงงาน (Project-based Learning) เพื่อให้สื่อความหมายใน PLC มหาสารคาม ได้อย่างชัดเจน เราเรียกกระบวนการเรียนรู้ในขั้นนี้ว่า การเรียนรู้ผ่านโครงการ ใช้สัญลักษณ์ ๒ndPBL

๓.) สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาชีวิตจริงเป็นฐาน

การกระตุ้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของครูเพ็ญศรีเด่นที่การเน้นให้นักเรียนได้ลงพื้นที่ชุมชน กำหนดปัญหาอยู่บนฐานชีวิตจริงๆของเด็ก และทุกๆ ขั้นตอนของการเรียนรู้นักเรียนเป็นผู้คิดและทำทั้งหมดทีมครูจะเป็นเพียงผู้ อำนวยการเรียนรู้จริงๆตัวอย่างที่ชัดเจนอ่านได้จากผลงานของกลุ่ม “ฮักนะเชียงยืน”

หมายเลขบันทึก: 575730เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท