ครูเพ็ญศรี ใจกล้า _ ๐๑ : ครู BP จาก PLC มหาสารคาม (บทนำ)


ภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งของศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (Center of Academic Development for Learning) หรือ CADL คือ การค้นหาครูเพื่อศิษย์ที่เป็น Best Practice (BP) ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม แล้วช่วยเหลือให้ครูเพื่อศิษย์เจ้าของ BP นั้นได้ สามารถนำเสนอและขยายผลของความสำเร็จไปสู่เพื่อนๆ ครูในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือ KM หนุนสร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Community) ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม หรือ “PLC มหาสารคาม” พร้อมๆ กับการสร้างเสริมเครือข่ายหนุนเสริมการพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ (Local Learning Enrichment Network) หรือ “LLEN มหาสารคาม”โดยมีความมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ให้สมกับที่เป็นเมืองแห่งการศึกษา “ตักสิลานคร”

ครูเพ็ญศรี ใจกล้า เป็นครูเพื่อศิษย์คนแรกที่ “ใจกล้า” สมฉายา กล้าเปลี่ยนวิธีคิด ปรับกระบวนการเรียนเปลี่ยนกระบวนการสอน เปลี่ยนบทบาทของตนเองมาเป็นครูฝึก (Coach) เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือครูฟา (Facilitator) เป็นผู้จัดการการเรียนรู้ เปลี่ยนมาสอนผ่านโครงงานบนฐานปัญหา (Problem-based Learning) ที่เน้นปัญหาจริงๆ ของชุมชนและสังคม จนเกิดผลในเชิงคุณค่า จากผลงานเกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาฆ่าแมลงของชุมชนบ้านแบก ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป

ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการใหม่ของครูเพ็ญศรี ใจกล้า จัดเป็นการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning) ที่ทั้งครูและนักเรียนต่างได้เรียนรู้และร่วมกันสร้างคุณค่าจากกิจกรรมจิตอาสาที่จะพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น การส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือสถานการณ์จริงๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตและชุมชน เป็นการฝึกให้นักเรียนเรียนอย่างเข้าใจความหมายและรู้เป้าหมายของการเรียนรู้ของตนเอง

ครูเพ็ญศรีไม่เน้นการ “บอก ป้อน สอน สั่ง” หรือถ่ายทอดความรู้ แต่กำหนดบทบาทตนเองเป็นผู้ตั้งคำถาม และติดตามดูแลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงเกิดบรรยากาศของการเรียนรู้อย่างจริงจัง ทั้งสนุก ได้ลองผิดลองถูก และมีความสุขจากความภาคภูมิใจที่ได้แก้ปัญหาของชุมชน เน้นการปฏิบัติและเน้นให้นักเรียนได้คิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเองของครูเพ็ญศรี

ถึงวันนี้ นักเรียนของครูเพ็ญศรีมีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Outcome) ไม่เฉพาะขั้นนิยาม (เนื้อหา) ตีความ และนำไปใช้ แต่ไปถึงขั้นทำให้นักเรียนเกิด "จิตอาสา"นักเรียนกลุ่ม “ฮักนะเชียงยืน” เรียนรู้ด้วยกระบวนการใหม่ในชุมชนบ้านแบก ทำให้นักเรียนแต่ละคนได้พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในตนเองอย่างเต็มที่ ผู้อ่านสามารถติดตามงานของพวกเขาได้ http://www.gotoknow.org/blog/zeeza๘๘

ส่วนใครที่อยากติดตามดู หรือเรียนรู้ร่วมกับครูเพ็ญศรี ใจกล้า สะดวกที่สุดคือ ติดตามผ่าน เฟสบุ๊คชื่อ "เพ็ญศรี ใจกล้า"

หมายเลขบันทึก: 575729เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท