ฮักนะเชียงยืน 47


กลุ่มดราก้อนบอล ซิตี้ เร่เเล้วจ้า..

เร่ละครของเด็กกลุ่มดราก้อนบอลซิตี้ "เรื่องเด็กติดเกมส์"


        เด็กๆกลุ่มดราก้อนบอลซิตี้ โรงเรียนบ้านหนองกุง อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม เร่ละครของตนเอง  จากที่ได้ซ้อมๆกันมาร่วม 2 เดือนในวันนี้เป็นวันเร่ครั้งเเรกของพวกเขา เเล้วสำหรับเด็กๆกลุ่มกลุ่มดราก้อนบอลซิตี้ เรื่อง "เด็กติดเกมส์" ช่วงเวลาลำดับการณ์มีดังนี้

๑.การเล่น สนุกกันด้วยกิจกรรมสันทนาการ เเบบนั่งอยู่กับที่ (ทั้งผู้ชมเเละผู้เเสดง)

๒.การเร่ละครของเด็กๆ อันนี้เราเเสดงให้ดู 2 รอบ รอบที่สอง ดูเพื่อความเข้าใจ หลังจากดูเสร็จมีคำถาม ได้เเก่

- จากที่ได้ดูเเล้ว เขาบอกอะไรกับเรา

- ประทับใจใครมากที่สุด เพราะอะไร

- ละครเรื่องนี้สอนอะไรให้เรารู้บ้างเอ่ย

๓.การพูดคุยกันเรื่อง การติดเกมส์เเบบเด็กๆ ที่มีประเด็นอยู่ 3 ประเด็นด้วยกัน ได้เเก่

- เล่นเกมส์สนุกอย่างไร เป็นอย่างไร อะไรที่สนุก

- เล่นเกมส์มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

- เราจะแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ด้วยวิธีอะไร เป็นอย่างไร ...

        นับย้อยหลังไปเมื่อประมาณ 2 เดือนที่เเล้ว เด็กๆกลุ่มนี้ได้ซ้อมๆกัน เหมือนลิง ต้องจับใส่กัน ฮ่าๆๆ ยากมาก ... วันนี้เขาสได้เร่ละครของเขาซึ่งเป็นงานของเขาเอง เเม้จะเป็นเพียงชั้นประถมศึกษา เเต่ความสามารถของหลายคนที่เหนือกว่าชั้นประถมศึกษา เขาเล่นะลครในปัญหาของเขาเอง คือ ปัญหาเด็กติดเกมส์ ซึ่งเป็นปัญหาของคนเล่นเองนี่ล่ะ

........(พบเห็น).....

        วันนี้ เป็นวันเร่ละคร วันที่ 5 กันยายน 2557 โดยมีกิจกรรมที่ทางฮักนะเชียงยืนดำเนินอยู่ 3 ช่วงด้วยกัน ได้เเก่

1.ช่วงของการเล่นอยู่กับที่ คลายเครียดกันก่อนเล็กๆน้อยๆ เรียกความสนุก ว่าพี่ๆ มานะน้อง ในช่วงนี้รอบเเรกเราก็พาเล่นเกมส์ที่ยากสำหรับเด็กประถมเลย ที่เป็นการทบสอบอภิสติ คือ เกม แกะ-แพะ เกมเสียงปริศนา เด็กๆ ก็งงๆ ไปตามๆกัน สุดท้ายไม่มีใครก็ก็เลยต้องเฉลย (แต่เกมนี้ทำให้เด็กๆจับกลุ่มคุยกันใหญ่เลยเพราะจะเเก้ปริศนานี้ให้ได้)

2.ช่วงของการเล่นละคร ซึ่งช่วงนี้ เป็นการเข้าเเก่นของเรื่อง จากที่ได้ซ้อมมานับ 2 เดือนมาเร่เพียง 4 นาที เด็กๆก็หัวเราะพี่ๆกันใหญ่เลย หลายๆช่วงที่เงียบฟัง (คนดูมีมารยาทมาก) มีการชี้ว่าใครเป็นใครด้วย เล่น 2 รอบ รอบที่ 2 ฮากว่ารอบเเรก เพราะคนดูอาจใจจดจ่ออยู่กับละคร

2.1 มาถึงช่วงของการให้คำถามจากละคร ซึ่งคำถามมีดังนี้ ได้เเก่

- ละครเรื่องนี้บอกอะไรกับเราบ้าง ? เด็กๆที่ดูบอกว่า "การเล่นเกมส์มันไม่ดี" "การเล่นเกมส์ทำให้เกิดการขโมยเงินพอ่เเม่"

- ประทับใจหรือชอบใครมากที่สุดในเรื่อง เพราะอะไร ? เด็กๆก็พูดบอกว่า ประทับใจ บักจอบ เเละพ่อกับเเม่ เพราะว่าเเสดงได้เต็มบทบาท ให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นเลย

- ละครเรื่องนี้สอนเราว่าอย่างไร ? เด็กๆ ก็บอกว่า "สอนว่าการเล่นเกมส์จนติด มันไม่ดี" "ทำให้พ่อเเม่มีเงินลดลง"

3.ช่วงของการคุยกันเรื่องของเด็กติดเกมส์ (จกาที่ทิ้งท้ายว่าละครสอนอะไรเราเเล้วนั้น ก็นำมาสู่คำถามต่อไปเลย ได้เเก่

- มีใครในนี้ที่เล่นเกมส์บ้าง ? เด็กๆก็ยกมือกันประมาณ 80 เปอร์เซ็นของคนที่นั่งเเละเเสดง

- การเล่นเกมส์นี้มันสนุกอย่างไร ? เด็กๆก็ตอบว่า "เพราะมันมันส์ เพราะคลายเครียด"

- การเล่นเกมส์นี้มีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร ? เด็กๆก็ตอบว่า ข้อเสีย คือ ทำให้ไม่มีเวลาว่าง ไม่ทำการบ้าน ไม่ได้ช่วยพ่อเเม่ มีเงินลดลง ฯ ข้อดี คือ มันสนุก

- เราจะมีวิธีเเก้ไขปัญหานี้อย่างไร เด็กๆก็ตอบว่า วิธีการเเก้ไข มีดังนี้ ได้เเก่ การเล่นกีฬา การทำงานบ้าน การดูการ์ตูน การนวดให้คุณตาคุณยายที่บ้าน การเล่นเฟส

- สุดท้ายเราก็ชวนสรุปว่า "จากที่เมื่อก่อนเร่ละคร จนมาถึงวันนี้ พี่ป.6 ของเรานั้นในการซ้อมมีสาธิมากขึ้น คิดว่าที่ี่พให้ทำละครนี้เพราะอะไร น้องเเป๋มตอบว่า เพราะให้กล้าเเสดงออก น้องคนนึงบอกว่าต้องการไม่ให้ติดเกมส์ ฯ อันนี้ คือ สิ่งที่น้องๆได้ในเรื่องของความกล้าเเสดงออกเเล้ว เเต่ในเรื่องของการเเก้ไขปัญหาการติดเกมส์ มันเป็นเรืองใหญ่ เรามีวิธีการของเราเเละเพื่อนๆ เราก็ใช้วิธีการของเราในการลดการติดเกมส์ของเราเอง วันนี้จะไม่มีความหมายอะไรเลยหากน้องๆทุกๆคนไม่ได้นำ บทเรียนในวันนี้ไปปฏิบัติ" (อันดราช่วงดราม่า) สุดท้ายเราก็ทิ้งท้าย คือ การปรบมือให้กัน เเละให้ทุกๆคนพูดว่า "พวกเราโรงเรียนบ้านนหองกุงสู้ๆ เอ้!!!"

......(คิดเห็น).....

        ในความคิดของเรานั้นมีมุมมองที่ว่าเด็กๆกลุ่มนี้นั้นเป็นเด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะสักเท่าไรเพราะเป็นเพียงชั้นประถามศึกษา เเต่หากว่าถ้าเกมส์เข้าไปตั้งเเต่น้อยในความคิดของเขา ผลกระทบอาจจะเกิดขึ้น 2 ทางด้วยกัน ได้เเก่ ทางเเรก คือ โตมาเเล้วยังเล่นเกมส์จนนำมาสู่การไม่จบพร้อมเพื่อนๆเหมือนเพือนเราหลายคน ทางที่สอง คือ โตมาเเล้วเขาจะมีหลักในการคิดเเบบเกมส์ มีการวางแผน ให้เกมส์สอนเขาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เเต่บริบทนี้ช่วงนี้ เป็นภาวะของการเล่นเเล้วติด เเล้วทำให้เกิดความเดือดร้อนเเก่ผู้ปกครอง เเละทางโรงเรียน จึงเป็นปัญหาเกิดขึ้น หาก เราเล่นพอประมาณก็อาจจะดีขึ้นมาได้... จากปัญหานี้เเต่ก่อนที่จะมาเร่ละครเด็กกลุ่มนี้บอกว่าจะเเก้ไขปัญหาเพื่อนโดยการพาเพื่อนไปเตะบอล เพื่อลดวเวลาการไปเล่นเกมส์ โดยให้เขามองไปที่การเเก้ไขปัญหาเพื่อนเป็นหลัก ที่เหมือนในละครที่เเก้ปัญหาเพื่อนเเต่ตนเองที่อาจยังไม่เลิกเล่น เเต่พอเห็นเพื่อนๆลกการเล่นเกมส์เเล้วนั้น ก็อาจเกิดความคิดว่า "เมื่อเราบอกเพื่อนเเล้ว ทำไมเรายังไม่เลิกเล่น" (อันนี้เป็นความคิดที่เราอยากเห็นมากที่สุด คือ การตั้งคำถามกับตนเองด้วยตนเอง)......จากการซ้อมครั้งเเรกที่เหมือนลิง มาถึงครั้งสุดท้ายของเมื่อวานนี้ เด็กๆมีสามาธิในการซ้อมเยอะขึ้น ที่อาจเกิดเป็นเพราะ

1.เด็กๆเริ่มชินกับการซ้อมที่ต้องทำให้สมบูรณ์ไม่หลุดบทของตนเอง

2.เด็กๆเริ่มมีความเกรงใจเพื่อนเเละเกรงใจพี่ที่ถ้าตนเองเล่นจนเกินไปอาจทำให้เพื่อนล่าล้ากับตนเอง

3.เด็กๆเริ่มเข้าใจบทบาทของตนเอง คือ รู้ว่าตนเองกำลังเเสดงอะไรอยู่ (สมาธินั่นเอง)

4.เด็กๆมีเเรงบันดาลใจในการเล่น เพราะว่าจะได้เล่นให้น้องๆดู เเละเป็นเวทีที่ไม่อาย ...ซึ่งเราเองมีความคิดว่าทั้ง 4 ปัจจัยนี้น่าจะเป็นผลทำให้เด็กในการซ้อมครั้งสุดท้ายมีสมาธิมากยิ่งขึ้น......

จากที่เด็กๆได้กล่าวมาเเล้วนั้นว่าการเเก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร เด็กๆสามารถบอกได้ เเต่ไม่ไม่ได้ทำ เเสดงว่าเด็กรู้เเต่ไม่ตระหนัก ละครที่เราเห็นเป็นการเปลี่ยนเเปลง ตัวผู้เล่นโดยตรง เเล้วเรามาดูกันต่อไปว่า เด็กกลุ่มนี้จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด โดยลองให้เขาถอดตนเองดูเมื่อค่ายเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฮักนะเชียงยืน

.......(รู้เห็น).....

        ในครั้งนี้เราก็ได้เรียนรู้กับเด็กๆที่สำคัญ อยู่ 2 ประการด้วยกัน ได้เเก่

1.ในการลงซ้อมกับเด็กควรจะมีหลักในการเสริมใจการการซ้อม คือ อาจบอกว่าอีก 2 รอบ(ซ้อม) เมื่อถึง 2 รอบเเล้วอาจบอกว่าอีก 1 รอบ เเละรอบสุดท้าย เป็นต้น เพราะหากเราให้ความหวังว่ารอบสุดท้ายไปเรื่อยๆ เด็กจะเกิดการเบื่อเกิดขึ้น

2.การส้างบรรยากาศ เป็นเวทีที่เด็กๆเล่นอย่างปลอดภัยโดยมีครูน้อยที่สุด มีเเต่เด็กๆเเละพี่ๆฮักนะอยู่ด้วย เด็กถึงจะกล้าเเสดงอย่างเต็มที่มากที่สุด เเละกล้าที่จะบอกว่าผมเป็นเด็กติดเกมส์

3.นวัตกรรมเชิงวิธีการ ในการเรียกสมาธิให้อยู่ในบท คือ การเอากล้องมาตั้งเเล้วอัดวิดีโอ เเล้วก็บอกว่าจะเอาไปลงยูทูป (อันนี้ใช้ได้ผล กับเด็กเล็ก เด็กใหญ่ยังไม่ลอง) ....

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 575714เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สังเกตเก็บความมาได้เยี่ยมมากเลยค่ะ

คิดวิเคราะห์หาที่มาที่ไปได้อีกชั้นหนึ่ง

จนถึงสังเคราะห์ขึ้นมาได้ว่าวิธีการอะไรที่ดี  นำไปใช้ต่อในกลุ่มใด   สร้างพื้นที่ปลอดภัย  และในบริบทที่เหมาะสม

เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ   ^_,^

ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้กำลังใจครับผม..


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท