R2R_2:การเริ่มต้นเขียนโครงร่างวิจัย


เมื่อผู้ทำงานหน้างานค้นพบปัญหาแล้วการจัดทำโครงร่างวิจัยสำหรับมือใหม่แล้วดูอะไรก็ยุ่งยากไปหมด  เห็นได้จาก เมื่อได้รับงานที่ส่งมาพบว่า  รูปแบบหรือการเขียน ไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดจากฝ่ายวิจัย ซึ่งจะเป็นปัญหาว่าทางผู้พิจารณาทุนหรือพิจารณาจริยธรรมในมนุษย์ก็คงไม่รับพิจารณา ดังนั้นจากประสบการณ์การเป็นทีมสนับสนุน ช่วยได้โดยจัดหาแบบฟอร์มที่หน่วยงานผู้ให้ทุนจัดเตรียมไว้ เพื่อให้เป็นระบบระเบียบ ชัดเจน ตรวจสอบและพิจารณาง่าย รวมทั้งขั้นตอน ต่างๆในการส่งขออนุมัติทุน  ขอพิจารณาจริยธรรมในมนุษย์   รวบรวมข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดของแต่ละปีงบประมาณแล้ว จัดส่ง ข้อมูลเป็นรูปแบบ File ทาง ระบบ e-mail  พร้อมแนะนำ  web site ที่ผู้วิจัยสามารถค้นเพิ่มเติมได้ หรือดูแลตัวเองได้ต่อไป    สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทีมสนับสนุนสามารถช่วยให้ผู้วิจัยทำงานง่ายและรวดเร็วขึ้นและรู้สึกไม่เป็นปัญหาอุปสรรค 

สำหรับผู้วิจัยที่ต้องการจัดทำโครงร่างวิจัยก็สามารถค้นหาได้ตาม web site ที่ฝ่ายวิจัย ขององค์กร จัดทำเตรียมไว้ด้วยตนเอง และดาวน์โหลดมาใช้ได้ก็ง่ายและสะดวกมาก  ส่วนการพิจารณาขั้นต้น ทีมสนับสนุนสามารถช่วยให้ผู้วิจัยได้พบกับผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการเกี่ยวกับเรื่องวิจัย/หรือ เนื้อหานั้นๆได้  ก็จะเป็นอีกทางที่องค์กรฝ่ายวิจัยได้จัดเตรียมความพร้อมไว้ให้ 

หมายเลขบันทึก: 575712เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2014 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2014 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท