ทฤษฎีความยุ่งเหยิง ตอนที่ 2 ความเห็นแก่ตัว


… อย่างที่ทราบกันว่ากรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษ มีการบริหารการปกครองไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ เช่น ที่เห็นได้ชัดก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ใช้ระบบราชการแต่อยู่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร เช่น โรงเรียนต่างๆ ในสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครเป็นต้น การบริหารจัดการหลายอย่างมีหน่วยงานปลีกย่อยอยู่มากมายจึงทำให้ต้องมีสำนักงานกลางที่ใหญ่และเพียงพอ ปัจจุบันจึงมีศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง คือที่แขวงเสาชิงช้า และที่เขตดินแดง เมื่อมีการบริหารงานที่มากหลายกองหลายฝ่าย จึงต้องมีพนักงานจำนวนมาก และอย่างที่ทราบว่ากรุงเทพมหานครนั้นการจราจรเอาแน่นอนไม่ได้ ในชั่วโมงเร่งด่วนก่อนและหลังเลิกงานรถติดเป็นเรื่องปกติ ในการแก้ปัญหารถติดนี้มีมาตรการอย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจ คือการจัดให้มีรถสวัสดิการ รับส่งพนักงานฟรีตามเส้นทางที่มีพนักงานโดยสาร 20 คนต่อคันขึ้นไป

... การได้นั่งรถฟรี นั่นหมายถึงนั่งตรงไหนก็ได้บนรถ ถ้าอยากนั่งตำแหน่งที่ชอบที่สุดก็ต้องเอาสัมภาระไปวางจองไว้ก่อน แล้วไปทำธุระอย่างอื่น และกลับมาขึ้นรถตอนใกล้เวลารถออก แต่ถ้ามาเลยเวลาที่กำหนด รถก็ต้องรอ นั่นหมายถึงคนอื่นๆ บนรถก็ต้องรอด้วย ถ้าผลัดกันเลยเวลาวันละคนรถก็ต้องรอทุกวัน จึงต้องมีการออกข้อปฏิบัติที่ใครได้เห็นแล้วต้องสงสัย นั่นก็คือ การกำหนดให้รถเปิดประตูในเวลา 16.35น. และรถออกเวลา 16.45น. นั่นหมายความว่ามีเวลาทยอยขึ้นรถ 10 นาที พนักงานท่านใดมาก่อนเวลาก็ต้องยืนรอข้างรถจนถึงเวลารถเปิดประตู แทนที่จะได้ขึ้นไปนั่งบนรถทันทีเมื่อไปถึงรถ จากภาพสังเกตได้ว่าจะยืนเป็นระเบียบมาก เมื่อเห็นว่ามีการถ่ายภาพก็ให้ความร่วมมืออย่างดี ผู้เขียนขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

... เรื่องนี้เป็นวิทยาทานได้เป็นอย่างดีว่าการอยู่รวมกันในกลุ่มคนหมู่มาก “การรู้จักเกรงอกเกรงใจคนส่วนรวม งดการเห็นแก่ตัว” เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ความสำคัญอันดับหนึ่ง หากคนส่วนรวมต้องการกลับบ้าน แต่มีคนเพียงคนเดียวทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้กลับเพียงเพราะกำลังไปซื้อแกงถุง อย่างนี้ถือว่าคนนั้น “เห็นแก่ตัว” และเป็นต้นเหตุที่ทุกคนต้องยืนรอรถ แทนที่จะได้ขึ้นไปนั่งรอบนรถดีกว่า

อ้างอิง :

http://www.bangkok.go.th/th/page/?112-Bangkok%20Me...

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0...

คำสำคัญ (Tags): #ความเห็นแก่ตัว
หมายเลขบันทึก: 575523เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2014 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2014 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดูแล้วน่ารักมากค่ะ การแก้ปัญหาในหมู่คนที่อยู่รวมกันมากบางทีก็ต้องมีวินัยที่ต้องเพิ่มขึ้นนิดนึงนะคะ แต่แก่นแท้แล้ว นกมองว่าน่าจะสร้างและปลูกจิตสำนึกซึ่งจะทำให้มีผลยั่งยืนกว่าคะ .... แหมแต่ดีจัง มีรถฟรีด้วย  อิอิ

Yes, there is a few bad apples in every orchard.

Perhaps name-and-shame would set some of those straight ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท