IT กับการพัฒนา


น่าสนใจ
การจัดการศึกษาแบบทางไกลสองทิศทางด้วย class to classทำไมต้องใชัไอทีเป็นแกนนำ การศึกษาในยุคปัจจุบันแตกต่างจากในอดีตมาก เด็กและเยาวชนไทยเติบโตมาในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันสูงมาก สิ่งที่สำคัญคือ การศึกษาไทยในวันนี้คือ การสร้างบุคลากรของชาติที่จะเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาในอีกสิบปีข้างหน้า เด็กและเยาวชนไทยที่กำลังเป็นนิสิตนักศึกษา จะต้องใช้เวลาเรียนเวลาศึกษาอีกไม่น้อยกว่าคนละหกเจ็ดปี และจะเป็นกำลังพัฒนาในอนาคต การจัดการศึกษาโดยใช้ไอทีเป็นแกนนำ มีจุดประสงค์สำคัญหลายประการดังนี้
ต้องการให้เรียนรู้ได้มาก แสวงหาจาก world knowledge มหาวิทยาลัยในปัจจุบันต้องเป็นประตูสู่โลกกว้าง เป็นการก้าวเข้าสู่ world knowledge ซึ่งมีความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาและต่อเนื่อง การเรียนรู้ในปัจจุบันต้องเรียนรู้แบบตลอดชีวิต สร้างรูปธรรมของการแสวงหา ไอทีทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้มาก มีกลไกการค้นหา การคัดแยก การเก็บรวบรวม การที่จะพัฒนาบุคลากรเข้าสู่สังคมใหม่ (new society) เศรษฐกิจใหม่ (new economy) สังคมความรอบรู้ (knowledge society) จำเป็นที่จะต้องสร้างฐานการเข้าถึงแหล่งความรู้ให้ได้มาก
การจัดการศึกษาแบบอะซิงโครนัส
ต้องการให้เรียนรู้ได้เร็ว หลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเร่งปรับระยะเวลาการศึกษา เช่น หลักสูตรปริญญาโทเหลือเพียงปีเดียว และเน้นเนื้อหาให้ครอบคลุมความรู้ที่กว้างขวางเพื่อการสร้างบุคลากรเป็นผู้เรียนรู้ต่อ และเน้นการวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในระดับปริญญาเอก การเรียนรู้ให้ได้เร็วจึงต้องใช้ฐานของไอทีเป็นแกนนำ การใช้ต้นทุนต่ำ การจัดการศึกษาในปัจจุบันต้องให้ความสำคัญในเรื่องข้อจำกัดในการลงทุน เพราะมีทรัพยากรการลงทุนจำกัด ดังนั้นโดยรวบรวมไอทีจะต้องช่วยทำให้ระบบการศึกษามีต้นทุนต่ำ การใช้เทคนิคการเรียนการสอนทางไกล การสร้างห้องเรียนเครือข่าย การบริการแบบ one stop อื่น ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นการแบ่งทรัพยากรให้ใช้คุ้มค่าสูงสุด

โฮมเพ็จรายวิชา เพิ่มการศึกษาแบบ 24 x 7
เปิดบริการการเรียนการสอนแบบ 24x7x365 การศึกษาในยุคปัจจุบันต้องเปลี่ยนกรอบความคิดในเรื่องเวลา เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินการแบบยี่สิบสี่ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ผู้เรียนเข้ามาเรียนเมื่อใดก็ได้ ไอทีช่วยทำให้เกิดระบบเสมือนจริงหลายอย่าง มีห้องเรียนเสมือนจริง การโต้ตอบผ่านเครือข่าย การบริการห้องสมุดแบบออนไลน์ การติดต่อสื่อสารทำได้ตลอดเวลา ระบบการศึกษาเป็นได้ทั้งซิงโครนัสและอะซิงโครนัส เพื่อเน้นการเรียนรู้อย่างอิสระ ทั้งระบบมีห้องเรียนและนอกห้องเรียน ระบบที่เรียนแบบตามความสนใจพิเศษ ระบบเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ใช้เครือข่ายและไอทีเชื่อมโยง
ลดระยะทาง โครงสร้างระบบการศึกษาต้องกระจาย และมีการใช้ไอทีช่วยในการลดระยะทาง เช่น การศึกษาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบสองทิศทางที่ผู้เรียนกับผู้สอนพบกันโดยระยะทางไม่มีอุปสรรค
การเข้าถึงแบบ "ไร้สาย" มีความคล่องตัว และโมบายไร้สาย การเข้าถึงข่าวสารเน้นระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีความคล่องตัว ปัจจุบันระบบโมบายไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สายทำให้ผู้เรียน เข้าถึงเครือข่ายได้ง่ายขึ้น ระบบโมบายไร้สายแบบแลนกำลังทำให้เกิดการเชื่อมโยงได้ทุกสถานที่ครอบคลุม และสร้างความอิสระในการสื่อสารอย่างยิ่ง การให้บริการยังเน้นการให้บริการแบบถึงที่เข้าถึงบ้าน ถึงที่ทำงานผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
โมเดลกระจายและลดขนาด การจัดการศึกษานำเสนอเข้าสู่ตัวผู้เรียนมากขึ้น การสร้างห้องเรียนเครือข่าย เป็นห้องเรียนขนาดเล็ก และกระจายการเรียนในสถานที่ต่าง ๆ เรียนพร้อมกัน เช่น มหาวิทยาลัยอาจมีห้องเรียนขนาดเล็กที่แถวย่านสีลม สุขุมวิท เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ แต่ละห้องเรียนมีผู้เข้าเรียน 10-20 คน เรียนพร้อมกันในเวลาเดียวกันกับผู้สอนในบางเขน ทำให้สามารถได้ผู้เรียนพร้อมกันจากที่ต่าง ๆ ผู้เรียนมีความสะดวก สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่ต้องเสียเวลากับการเดินทาง เสียโอกาสกับการทำงาน โมเดลการศึกษาจะมีลักษณะกระจายและมีขนาดพอเหมาะกับการบริการมากขึ้น ให้บริการแบบ eService การศึกษาต้องเน้นการบริการแบบธุรกิจคือ ให้บริการเป็นเลิศ ผู้เข้าถึงบริการควรได้รับบริการแบบ eService และเป็นบริการแบบ One Stop Service ตั้งแต่การรับเข้าเรียน การสอบถามข้อมูล การติดต่อ การเรียกค้น ดำเนินการ การบริการจากห้องสมุด การพบอาจารย์ที่ปรึกษา การเข้าชั้นเรียนแบบ eService ในรูปแบบห้องเรียนเครือข่าย การส่งการบ้าน การดำเนินการทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีได้

การบริการแบบ eService ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร

การบริการห้องสมุดและเนื้อหาแบบ one stop service
ด้วย Digital Library
มหาวิทยาลัยกับโมเดล eUniversity การก้าวเข้าสู่ยุคไอทีทำให้ต้องพัฒนาระบบการศึกษาของไทยอีกมากมาย การวางรากฐานที่สำคัญทางด้านไอทีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความพร้อมและได้เปรียบในทุกด้านแล้ว การประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ กำลังจะเกิดขึ้น และนำพามหาวิทยาลัยไปส่งสังคมใหม่ที่เรียกว่า eSociety หรือสังคมใหม่ (new society) ได้ไม่ยากเย็น พัฒนาการการประยุกต์ในหลาย ๆ ด้านของมหาวิทยาลัยจะต้องเริ่มขึ้น และเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับการเป็น eUniversity ของประเทศไทย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่องการเรียนการสอนไปมากพอควรแล้ว
 การกระจายข่าวสารและการประชุม  
การจะก้าวเป็น eUniversity ที่สมบูรณ์ต้องเริ่มกันในทุกระดับ โดยนำพาคณะให้เป็น eFaculty มี eService ต่าง ๆ ดังเช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ (www.eng.ku.ac.th) ได้ดำเนินการบริการแบบ e ต่าง ๆ ไปมากแล้ว เช่น eLearning, eReport, eAdvisor, eClassroom ฯลฯ การศึกษาแบบ Anytime Any Where Any Oneฐานทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีของมหาวิทยาลัยพร้อมแล้ว เราจะก้าวต่อไปร่วมกันดีไหมเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทย และเตรียมพร้อมกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับต่อไป  
คำสำคัญ (Tags): #it
หมายเลขบันทึก: 57534เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 04:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท