ของเสียอันตราย (Hazardous Waste)


ของเสียอันตราย (Hazardous Waste)

" ของเสียอันตราย" เป็นวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ กัดกร่อน เกิดปฏิกิริยายาได้ง่าย มีสารพิษปะปนหรือมีตัวทำละลาย เสื่อมคุณภาพตามรายชื่อที่ระบุไว้ หรือกากตะกอนที่เกิดจากการผลิต หรือเกิดจากระบบบำบัดน้ำเสีย จากกิจกรรมตามรายชื่อที่ระบุ [ประกาศกระทรวงอุตสาหรรมฉบับที่ 25 (พ.ศ.2531)] ของเสียอันตรายจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กากของเสียอุตสาหกรรม"

  • กากตะกอนจากการละลายเกลือและกากตะกอนจากโรงผลิตโซดาไฟด้วยวิธีใช้เซลปรอท
  • กากวัตถุมีพิษและกากตะกอนจากโรงงานผลิตและบรรจุยาฆ่าแมลง
  • ฝุ่นจากระบบกำจัดตะกั่วในอากาศและกากตะกอนจากโรงงานหลอมตะกั่ว
  • ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่เสื่อมหรือไม่ได้คุณภาพ
  • น้ำยาเคมีจากถังชุบโลหะกากที่เหลือจากการชุบโลหะรวมทั้งกากตะกอนจากโรงงานชุบโลหะ
  • ของเสียจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด
  • ปลายขั้วหลอดที่ผลิตไม่ได้คุณภาพที่ปนเปื้อนสารปรอทจากโรงงานผลิตหลอดฟูออเรสเซนต์
  • ถ่านไฟฉายที่ผลิตไม่ได้คุณภาพฝุ่นจากระบบกำจัดอากาศกากตะกอนจากโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย
  • กากสีจากห้องพ่นสีของโรงงานที่ประกอบกิจการเกียวกับรถยนต์และจักรยานยนต์

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการของเสียอันตราย มี 3 กลุ่มใหญ่ คือผู้ก่อกำเนิด (Waste Generator) ผู้ขนส่ง (Waste Transporter) ผู้รับบำบัดกำจัด (Waste Processor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินการจัดการของเสียอันตรายเป็นไปอย่างถูกต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา: สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม


การกำจัดหรือบำบัดของเสียอันตรายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ก่อกำเนิดต้องตระหนัก เพราะหากกำจัดหรือบำบัดไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสมกับของเสียอันตรายชนิดนั้นๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ได้ศึกษาและตรวจสอบข้อ ร้องเรียนของประชาชน พบว่า ขณะนี้มีพื้นที่เสี่ยงที่ลักลอบทิ้งกากหรือของเสียอุตสาหกรรมมากถึง 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหารุนแรงมากที่สุด รองลงมาคือ ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และสมุทรปราการ ตามลําดับ

การลักลอบทิ้งกากของเสียแทนที่จะกำจัดหรือบำบัดในระบบเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการกำจัดหรือบำบัดราคาสูง ประกอบกับจำนวนโรงงานรับกำจัดมีไม่เพียงพอกับปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้น

  1. การบำบัดด้วยกระบวนการทางกายภาพและเคมีการบำบัด(Treatment) และการกำจัด (Disposal) 4 วิธีหลัก
  2. การบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ
  3. การปรับเสถียร (stabilization/solidification)
  4. การฝังกลบอย่างปลอดภัย (secure landfill)

จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) พบว่า“ขณะนี้ปัญหาการทิ้งขยะที่เป็นกากขยะอันตรายและกากของเสียที่ไม่อันตรายมีการระบาดแพร่หลาย รวมถึงเกิดบ่อบำบัดขยะมีพิษเถื่อนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้ล่าสุด ต้องสำรวจข้อมูลว่าปัจจุบันมีโรงงานทั่วประเทศอยู่กี่แห่งและมีปริมาณขยะที่ออกจากโรงงานในปริมาณกี่ตันต่อปี

โรงงาน จำนวน (โรงงาน) หมายเหตุ
โรงงานประเภท 1 42,528 สามารถดำเนินกิจการได้เลย โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากกรอ.
โรงงานประเภท 2 17,557 โรงงานที่ก่อนจะประกอบกิจการจะต้องมาแจ้ง แต่ไม่ต้องขอใบอนุญาตตั้งโรงงาน
โรงงานประเภท 3 75,867 เป็นโรงงานที่จะต้องมาขอใบอนุญาตตั้งโรงงานหรือใบรง.4
รวม 135,952

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้กรอ.โฟกัสมาที่โรงงานประเภทที่ 3 โดยเบื้องต้นเลือกโรงงานที่มีของเสียอันตราย และของเสียที่ต้องควบคุมออกมาจำนวน 20 ประเภท เช่น กากของเสียที่เป็นโลหะ กากของเสียที่เป็นสารเคมี กากของเสียที่มีส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง และกากของเสียที่มีกรด รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพบว่าในจำนวนนี้มีโรงงานที่มีของเสียอันตรายอยู่ราว 1.6 หมื่นโรงงาน จากข้อมูลทำให้กรอ.พบว่ามีใบขนย้ายกากทั้ง 2 ชนิดออกจากโรงงานไม่ตรงกับกากจริงที่ออกจากโรงงาน โดยกากขยะทั้ง 2 ชนิดหายไปจากระบบข้อมูลรวมกันทั้งสิ้น 31.40 ล้านตัน

โรงงานประเภท 3 ใบแจ้งขนออก ใบขนจริง/นำไปบำบัด หายไปจากระบบ
โรงงานที่มีของเสียอันตราย และของเสียที่ต้องควบคุม 20 ประเภท (1.6 หมื่นโรงงาน ) 2.75 ล้านตัน/ปี 9 แสนตัน 1.85 ล้านตัน
โรงงานที่มีกากของเสียที่ไม่อันตราย (1.2 หมื่นโรงงาน) 41.5 ล้านตัน 12 ล้านตัน 29.50 ล้านตัน
รวม 31.40

ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ข้อมูลเดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนมีนาคม 2556)

โรงบำบัดกากของเสีย จำนวน (โรงงาน) หมายเหตุ
1. โรงงานประเภท 101 (โรงบำบัดของเสียรวม) 141 เตาเผาขยะในโรงงานปูนซีเมนต์ หรือระบบบำบัดน้ำเสียในนิคมอุตสาหกรรม
2. โรงงานประเภท 105 1,225 + บ่อฝังกลบ 18 แห่ง บ่อฝังกลบและเป็นโรงงานคัดแยก
3. โรงงานประเภท 106 423 โรงงานรีไซเคิล
รวม 1,789 + บ่อฝังกลบ 18 แห่ง

เส้นทางขนขยะออกจากโรงงานไปยังโรงบำบัดของเสียมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง ขยะหายไปจากระบบได้อย่างไร กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ทุกครั้งที่มีการขนย้ายกากออกจากโรงงานกรอ.จะต้องออกใบสก.2 (ใบอนุญาตให้นำกากออกนอกโรงงาน) ซึ่งในสก.2 จะรู้ว่า บริษัทก. ซึ่งเป็นโรงงานผลิต จะส่งกากของเสียไปให้กับบริษัทข. ซึ่งเป็นบริษัทรับกำจัดกากเพื่อทำการบำบัดในปริมาณเท่าใด นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า ถ้าบริษัทข. มีขีดความสามารถในการบำบัดของเสียได้เต็มที่ 200 ตัน แต่มีปริมาณขยะเกินกว่ากำลังผลิต บริษัท ข.นำขยะส่วนเกินไปไว้ที่ไหน นำไปทิ้ง หรือนำไปให้กับผู้รับช่วงรายอื่น ซึ่งตรงนี้ระบบการตรวจสอบของกระทรวงอุตสาหกรรมกลับตรวจสอบข้อมูลตรงนี้ไม่ได้” (ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,835 วันที่ 14 - 17 เมษายน พ.ศ. 2556)</p><ul> <li>จากปัญหาขยะพิษหายจากระบบ กรมโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องหามาตรการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการลักลอบทิ้งกากของเสีย และอุดช่องโหว่ของผู้ประกอบการที่ไม่อยากจ่ายค่าบำบัดในราคาแพง</li></ul><p></p><p>ขอบคุณภาพจากมูลนิธิบูรณนิเวศ</p>

หมายเลขบันทึก: 575111เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2014 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2014 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท