การศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี


บทที่ 1 บทนำ.docx

บทที่1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในปัจจุบันมนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยอยู่ในสถานที่ทำงาน การทำงานถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพราะงานถือเป็นหน้าที่พื้นฐานของคนในสังคมการทำงานเป็นสิ่งที่คนต้องปฏิบัติเพื่อยังชีพเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในรูปแบบของค่าจ้างเงินเดือนค่าตอบแทนต่างๆซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตการทำงานอย่างมีความสุข(Happiness at work)เป็นสิ่งที่พนักงานทุกคนในองค์กรต่างปรารถนาเพราะความสุขเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจให้พฤติกรรมคนปรับเปลี่ยนและพัฒนาไปในทางที่ดีเพราะหากเรามีความสุขในการทำงานแล้วนั้นจะเกิดความรู้สึกผูกพันสนุกสนานความรู้สึกที่ว่าต้องมาทำงานจะหมดไปแต่จะกลับกลายเป็นการมาร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆเพื่อความสำเร็จของตนเองกลุ่มงานและองค์กรซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่าผลที่ตามมาของความสุขในการทำงานคือการมีอารมณ์ในทางบวกมีความคิดสร้างสรรค์ทำงานด้วยความสนุกสนานรู้สึกมีความสุขแม้งานจะหนักและเหนื่อยมีการช่วยเหลือกันมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีความรักในงานและเกิดความผูกพันพึงพอใจปฏิบัติงานด้วยความสุขทำให้ผลงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้เกิดการคงตัวอยู่ในงานมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไปสอดคล้องกับจินดาหลวงตา(2553)ที่ว่า“งานคือชีวิตชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน”คนที่มีความสุขจะแสดงออกให้เห็นทั้งทางกายและคำพูดการแสดงออกเต็มไปด้วยพลังและความตื่นเต้นมีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน (Manion, 2003: 655-656อ้างถึงในมลิวรรณวงค์งาม, 2554)

ดังนั้นคนทำงานทุกคนจึงต้องการมีความสุขในชีวิตการทำงานบางคนยอมลาออกจากงานและเปลี่ยนงานเพื่อแสวงหาความสุขในชีวิตทำงานทำให้องค์กรหลายแห่งมีพนักงานลาออกจากงานบ่อยครั้งและต้องรับสมัครพนักงานใหม่เข้ามาเรื่อยๆเหล่านี้คือสัญญาณแห่งความรู้สึกไม่มีความสุขใจในการทำงานการทำให้พนักงานในองค์การทำงานแล้วมีความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งความสุขในที่ทำงานก็คือความสุขของคนทำงานการที่คนทำงานแล้วมีความสุขรู้สึกสนุกกับงานจะทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆในเชิงสร้างสรรค์ที่จะช่วยปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานเองและองค์กรโดยรวม (ปวีณา เกษเดช, 2553: 2)

องค์กรที่ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่อย่างไม่มีความสุขมักจะมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้นไปจากองค์กรอันจะส่งผลกระทบต่อองค์การในเบื้องต้นคือต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรับสมัครผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆรวมทั้งอาจต้องสูญเสียผลประกอบการ หรืออาจรวมทั้งความสามารถในการแข่งขันบางส่วนขององค์การไปหากไม่สามารถหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่เท่าเทียมกันมาแทนในตำแหน่งเหล่านั้นได้(Oswaldet al., 2009อ้างถึงในครรชิตทรรศนะวิเทศ, 2555: 3)

องค์การภาครัฐโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดองค์การใหญ่แยกเป็นหน่วยงานย่อยมากทั้งจะมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การจัดทำบริการสาธารณะโดยไม่ได้เน้นการแสวงหากำไรเป็นหลักหากแต่จะต้องจัดทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะในเบื้องต้นดังนั้นวัฒนธรรมองค์การของรัฐส่วนใหญ่จึงเป็นแบบสั่งการและควบคุม (command and control)เพราะขอบข่ายของการให้บริการภาครัฐมีความกว้างใหญ่ทั้งยังต้องดำเนินการตามนโยบายของนักการเมืองและความต้องการของประชาชนเป็นหลักการให้บริการต้องให้ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนที่มีความคาดหวังแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศและวัฒนธรรมประเพณีสภาพองค์การภาครัฐก็สลับซับซ้อนใหญ่โตทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ (อุทัยเลาหวิเชียร, 2548อ้างถึงในครรชิตทรรศนะวิเทศ,2555: 5)ดังนั้น จากเป้าหมายและรูปแบบการดำเนินการรวมทั้งวิธีดำเนินการทำให้การดำเนินการในภาครัฐจึงมีความเสี่ยงสูงในการสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานมีความทุกข์กับภารกิจของตนเองที่ต้องจัดการและดำเนินการให้สำเร็จลุล่วง

เทศบาลตำบลกระจับเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน มีภารกิจอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนดังนั้นการดึงศักยภาพของบุคลากรออกมาให้มากที่สุดเพื่อพัฒนาและสร้างมาตรฐานการบริการโดยให้ความสนใจในด้านความสุขในการทำงานของบุคลากรเพราะตระหนักดีว่าการทำให้บุคลากรมีความสุขนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการสร้างความพึงพอใจในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้มาติดต่อขอรับบริการหากบุคลากรของเทศบาลฯไม่มีความสุขไม่มีความพึงพอใจแล้วบุคลากรเหล่านั้นจะสามารถสร้างความสุขความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้มาขอรับบริการได้อย่างไร นอกจากนี้เมื่อบุคลากรมีความสุขจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีความรักในงานและมีความผูกพันในงานลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกในด้านดีต่อองค์กรซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ นันทรัตน์อุ่ยประเสริฐ (2552)พบว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่องค์การต้องการสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถพัฒนาสติปัญญาตลอดจนดึงศักยภาพที่มีมาใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่

ในปัจจุบันภารกิจของเทศบาลตำบลกระจับได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพระราชบัญญัติกำหนดแผนและกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ตลอดจนกฎหมายอื่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนพัฒนาจังหวัดแผนพัฒนาอำเภอนโยบายของรัฐบาลซึ่งได้มีการถ่ายโอนภารกิจต่างๆลงสู่ท้องถิ่นและกระจายงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บริหารจัดการให้ตรงต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นของตนประกอบกับนโยบายผู้บริหารควบคู่ไปกับการให้บริการที่ดีตามหลักการบริหารกิจการที่ดี ฯการเน้นคุณภาพในการให้บริการเชิงรุกและความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นได้กลายเป็นแหล่งความเครียดในการทำงานอาจนำมาซึ่งการขาดความสุขในการทำงานทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงจนทำให้องค์กรต้องสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในงานได้ซึ่งสอดคล้องกับรายงานอัตรากำลังตามแผนอัตรากำลัง 3 ปี (2555 – 2557) ของเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีงานการเจ้าหน้าที่ได้เสนอขออนุมัติสรรหาอัตรากำลังในตำแหน่งว่างพบว่าปีงบประมาณ 2555 มีอัตราโอน(ย้าย)ในตำแหน่งปฏิบัติ 3 ราย ตำแหน่งบริหาร 2 ราย ปีงบประมาณ 2556 มีอัตราโอน(ย้าย)ในตำแหน่งปฏิบัติ 3 ราย ตำแหน่งบริหาร 3 รายปีงบประมาณ 2557 (ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2557) มีอัตราโอน(ย้าย)ในตำแหน่งปฏิบัติ 5 ราย ตำแหน่งบริหาร 4 รายทำให้เทศบาลตำบลกระจับต้องสูญเสียพนักงานที่มีความรู้ความสามารถและมีความชำนาญในงานเฉพาะด้านเกิดผลเสียในการปฏิบัติงานทำให้งานเกิดความล่าช้า และเป็นการเพิ่มภาระงานของงานการเจ้าหน้าที่ที่ต้องดำเนินการสรรหาบุคลากรอีกด้วย

ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีเพื่อให้ทราบถึงระดับความสุขในการทำงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการวางแผน และปรับปรุงองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุขทำให้บุคลากรมีความสุขเพิ่มมากขึ้นเป็นการรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้อยู่กับองค์กรตลอดไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อศึกษาความสุขในชีวิตการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

2.เพื่อศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี


คำถามของการวิจัย

1.ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีอยู่ในระดับใด

2.ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบและปัจจัยใดบ้าง

ขอบเขตการวิจัย

1.ขอบเขตด้านเนื้อหาการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

2.ขอบเขตด้านประชากรศาสตร์

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีจำนวน104คน

ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย

ตัวแปรอิสระได้แก่เพศอายุสถานภาพสมรสระดับการศึกษารายได้และประสบการณ์ในการทำงาน

ตัวแปรตามได้แก่ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงานด้านผู้นำด้านลักษณะงานด้านโอกาสความก้าวหน้าในงานด้านค่านิยมร่วมขององค์กรด้านรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ

3.ขอบเขตด้านระยะเวลา

ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557-กรกฏาคม2558

นิยามศัพท์เฉพาะ

ความสุขในการทำงานหมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคลที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานหรือประสบการณ์ของบุคคลในการทำงานมีความเพลิดเพลินและสนุกกับงานที่ทำรู้สึกว่าได้ทำงานที่ดีและมีความภูมิใจในงานที่ทำมีความกระตือรือร้นในการทำงานรู้สึกว่าได้ทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่ดีมีความสบายใจในการทำงานรับรู้ว่างานที่ตนทำอยู่นั้นมีความสำคัญและมีคนเห็นคุณค่าในงานของตนมีความรู้สึกว่าได้รับการกระตุ้นและเสริมพลังในการทำงานมีความไว้วางใจและศรัทธาต่อองค์กรและส่งผลให้บุคคลนั้นอยากอยู่ทำงานกับองค์กร

โอกาสความก้าวหน้า ความมั่นคงในงานหมายถึงความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยต่อตำแหน่งหน้าที่การงานที่ปฏิบัติงานอยู่ความรู้สึกว่างานที่กระทำอยู่นั้นมีความสำคัญต่อองค์กรและเป็นงานที่สามารถเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นรวมถึงการได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องในสายงานในปัจจุบันและเพื่อการขยายขอบเขตของงานที่สำคัญและท้าทายในอนาคตสามารถทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงกับงานที่ทำอยู่รวมทั้งการมีกระบวนการประเมินผลงานและเลื่อนตำแหน่งที่ยุติธรรมและการให้อำนาจหรืออิสระในการตัดสินใจในงาน

รายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการหมายถึงค่าตอบแทนในรูปของค่าจ้างเงินเดือนค่าตอบแทนที่พนักงานได้รับรวมถึงรายได้อื่นๆนอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับจากเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีรวมถึงสิ่งตอบแทนที่ไม่อยู่ในรูปของเงินและไม่ใช่ตัวเงินได้แก่ค่าล่วงเวลาโบนัส ค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่างๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล

ความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงานหมายถึงการรับรู้ของบุคลากรที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาและกับผู้บังคับบัญชารวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กรโดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่บุคลากรทุกท่านต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าความสัมพันธ์ในองค์กรดีก็จะส่งผลให้บุคลากรอยากมาทำงานมีใจให้องค์กรและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรผูกพันต่อองค์กรและเกิดความสุขในการทำงาน

ลักษณะงานหมายถึงการรับรู้ของบุคลากรที่มีต่อบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบทางพฤตินัยที่ปฏิบัติในหน่วยงานมีความสอดคล้องกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนมีอำนาจตัดสินใจต่องานที่ได้รับมอบหมายมีอิสระในการทำงานมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานควบคุมการประเมินผลงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จตามเป้าหมายตลอดจนปริมาณงานของบุคลากรที่ได้รับผิดชอบตามคำอธิบายงานหรืองานอื่นๆนอกเหนือจากงานที่ได้รับผิดชอบการกระจายงานความสมดุลของปริมาณงานกับจำนวนบุคลากรในกลุ่มงานปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายกับระยะเวลาในการทำงานนั้นๆจนสำเร็จ

สภาพแวดล้อมในการทำงานหมายถึง การรับรู้ของบุคลากรที่มีต่อสภาพทั่วไปขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและองค์ประกอบที่เป็นเครื่องช่วยในการทำงานให้มีความคล่องตัวได้แก่สภาพห้องทำงานสภาพทั่วไปของอาคารแสงเสียงกลิ่นความสะอาดความเป็นสัดส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆรวมถึงความปลอดภัยในการทำงานและการส่งเสริมสุขภาพในองค์การ

บุคลากรหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

ประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย

1.เพื่อทราบปัจจัยและองค์ประกอบด้านความสุขในการทำงาน

2. เพื่อทราบระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

3.เพื่อทราบปัจจัยและองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลกระจับอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้นตัวแปรตาม

(IndependentVariable)(Dependent Variable)


ความสุขในการทำงาน-ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน-ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมภายในหน่วยงาน

-ด้านผู้นำ

-ด้านลักษณะงาน

-ด้านโอกาสความก้าวหน้า ความมั่นคงในงาน

-ด้านค่านิยมร่วมขององค์กร

-ด้านรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ

สถานภาพทางประชากร-เพศ-อายุ

-สถานภาพสมรส

-ระดับการศึกษา

สถานภาพทางเศรษฐกิจ

-รายได้

สถานภาพทางสังคม

-ประสบการณ์ในการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 574668เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2014 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท