เรื่องสั้น : กลับสู่มาตุภูมิ


“ ฉันรู้ค่ะว่า แม้ฉันกลับไปก็ไม่อาจเปลี่ยนสภาพเลวร้ายนั้นได้ ลำพังแต่ตัวฉันเองก็ไม่สามารถที่จะต่อกรกับทหารยิวผู้โหดร้ายเหล่านั้น แต่...อาลัมค่ะ คุณรู้ไม่ใช่หรือว่า สำหรับผู้ที่ญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮฺ เขาจะไม่มีวันพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด ถ้าเขาไม่ชนะเหนือพวกยิว เขาก็จะได้รับชะฮีด...”

งจากสถานีรถไฟสุไหงโกลก เราทั้งสองเดินไปด้วยกันโดยทิ้งช่วงห่างไว้พอสมควร ผมแอบชำเลืองมองหญิงสาวร่างสูงในชุดเสื้อคลุมสีดำยาวกรอมเท้า ส่วนศีรษะคลุมด้วยผ้าคลุมสีเดียวกับเสื้อ ปล่อยยาวคลุมมิดชิดถึงเอว มองเห็นเพียงใบหน้างามซึ้งอย่างห่วงใย แต่ในความห่วงใยนั้น ผมนับถือในน้ำใจอันเด็ดเดี่ยวของเธอ

เราปฏิเสธที่จะขึ้นรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และเลือกการเดินมุ่งหน้าไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย

ที่สถานีรถบัส เรายิ้มให้แก่กันเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เธอจะขึ้นรถไปยังกัวลาลัมเปอร์ และขึ้นเครื่องบินจากที่นั้นเหินฟ้าสู่มาตุภูมิของเธอ

ลาก่อนโซฟียะห์ขอให้อัลลอฮฺคุ้มครองเธอ

องปีก่อนผมไปธุระที่จังหวัดปัตตานี หลังจากจัดการธุระปะปังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขากลับก็เลยแวะเยี่ยมเยียนเพื่อนซึ่งเป็นอุซตาซฺสอนอยู่ในโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ณ ห้องพักอุซตาซฺเพื่อนผมนี่เองที่ผมได้รู้จักกับเธอ จากการแนะนำของเพื่อนทำให้ทราบว่าเธอเป็นชาวฟิลัสฏีน เธออาสามาสอนภาษาอาหรับในโรงเรียนแห่งนั้น เรื่องราวดังกล่าวทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจเพราะไม่เคยปรากฏว่าจะมีชาวฟิลัสฏีนคนใด และโดยเฉพาะที่เป็นผู้หญิงขันอาสามาเป็นอุซตาซะฮฺสอนในโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามมาก่อนเลย

จากการนั่งพูดคุยกันในวันนั้นทำให้ผมได้ทราบเพิ่มเติมว่าลุงของเธอได้แต่งงานกับหญิงชาวปัตตานี และในขณะนั้นเธอได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านภรรยาคุณลุงของเธอ หลังจากนั้นสี่ถึงห้าครึ่งที่เราได้พบกันโดยบังเอิญ ส่วนมากจะพบกันตามงานที่จัดให้มีการบรรยาย หรืออภิปรายเกี่ยวกับศาสนา แต่มาช่วงหลัง ๆ เราแทบจะไม่ได้พบเจอกันอีกเลย

จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมขึ้นรถไฟจะไปยังสุไหงโกลก ขณะเดินหาที่นั่งอยู่นั้นก็เห็นมีที่นั่งว่างอยู่ที่หนึ่งด้านตรงข้ามกับที่ว่างนั้น มีหญิงสาวร่างสูงในชุดฮิญาบนั่งหันหลังผินหน้ามองออกไปนอกหน้าต่าง

ผมเดินจะไปหย่อนตัวลงนั่ง แต่เมื่อมองเห็นเจ้าของดวงหน้างามดวงนั้นถนัดตา

“ โซฟียะห์...เออ! อัสลามุอาลัยกุมฯ ”

“ วะอาลัยกุมุสลาม ” เธอสะดุ้ง!! หันมาทางต้นเสียง แต่ปากก็ยังตอบรับสลาม

“ อาลัม คุณนั่นเอง ”

ผมพินิจเจ้าของเสียงสดใสนั้น ผู้มีดวงหน้างดงาม และเปี่ยมไปด้วยความสุขุม สำรวมในดวงตาคู่นั้น ผมรู้สึกถึงประกายแห่งการตัดสินใจบางอย่างปรากฏอยู่ !!!

“ หลังจากพบกันที่มัจลิสอิลมีย์ครั้งนั้น เราก็ไม่ได้พบกันอีกเลย คุณโซฟียะห์สบายดีนะครับ ”

“ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ฉันสบายดีค่ะ ”

“ผมไม่นึกว่าจะได้พบคุณบนรถไฟ จะไปไหนครับนี่? ”

“ จะไปกัวลาลัมเปอร์ค่ะ แล้วจากนั้นก็ขึ้นเครื่องบินไปฟิลัสฏัน !!! ”

“ อะไรน่ะครับ? ที่นั่นมีแต่เสียงปืน และระเบิด ความตายและการพลัดพราก ผมว่ามันไม่เหมาะกับหญิงสาวที่บอบบางอย่างคุณจะกลับไปที่นั่นในตอนนี้ ”

“ แต่ฉันตัดสินใจแล้วค่ะ!

จากน้ำเสียงที่เด็ดเดี่ยวมั่นคง ทำให้ผมจ้องมองเธอ อย่างไม่เข้าใจ พลางทอดถอนใจระบายความรู้สึกบางอย่างออกมา

“ โซฟียะห์ ถึงคุณกลับไปก็คงไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพเลวร้ายที่เกิดขึ้นได้ ”

“ ค่ะฉันรู้ ที่ฉันอาสามาสอนในโรงเรียนแห่งเดียวกับเพื่อนของคุณนั้น จริงๆแล้วเป็นความประสงค์ของคุณพ่อคุณแม่ของฉัน ท่านไม่ต้องการให้ฉันได้รับอันตรายจากพวกยิว ท่านจึงได้ส่งฉันมาอยู่กับภรรยาของลุงที่ปัตตานี จริง ๆ แล้วฉันออกจะเป็นคนที่เห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ขี้ขลาดตาขาว ฉันบอกกับเด็ก ๆ ที่โรงเรียนว่า ฉันมาในนามของอัลลอฮฺ ในนามศาสนาของพระองค์ เพื่อสอนศาสนาและภาษาอาหรับให้กับเด็กๆ ที่นี่ แต่อัลลอฮฺมิได้สอนให้กลัวความตาย และหนีศัตรู พระองค์บัญชาให้เผชิญหน้าและต่อสู้ แม้ว่าจะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ตาม ”

“ เมื่อเดือนก่อนฉันได้รับจดหมายจากน้องชาย มุฮัมมัด ชารีฟ เขาเป็นคนหนุ่มคนหนึ่งที่เข้าร่วมในกลุ่มเด็กหนุ่มชาวฟิลัสฏีน ที่ประกาศจะต่อสู้ในนามแห่งอิสลาม เพื่อปกป้องศาสนา และมาตุภูมิอันเป็นที่รักของเรา เขาบอกมาในจดหมายว่า คุณพ่อและคุณแม่ของฉันถูกฆ่าตายโดยฝีมือของทหารยิว ”

จบคำพูดน้ำตาไหลอาบสองแก้ม และโดยปราศจากเสียงสะอื้นไห้ เธอรีบเอาผ้าเช็ดหน้าซับน้ำตาก่อนที่ใคร ๆ จะพากันพุ่งเป้าสายตามาที่เธอ

เธอพยายามสะกดอารมณ์สะเทือนใจ ก่อนที่จะกล่าวต่อไปว่า

“ อาลัมค่ะ คุณทราบไหมว่าตอนนี้ ทหารยิวกำเริบหนัก มันฆ่าพี่น้องมุสลิมของเรายังกับเป็นผักปลา น้องชายเขียนมาว่า ในเที่ยงของวันศุกร์วันหนึ่ง ขณะที่พี่น้องมุสลิมกำลังนมาซวันศุกร์อยู่ในมัสยิด พวกมันกรูเข้าไป และกราดกระสุนเข้าใส่ผู้คนที่กำลังนมาซอยู่นั้น คนแล้วคนเล่า แถวแล้วแถวเล่าที่ล้มลงไป และหลั่งเลือดไหลนองอาบพื้นมัสยิดจนแดงฉาน ”

เสียงของเธอสั่นเครือ “ คุณทราบไหมค่ะว่า คุณพ่อของฉันเป็นหนึ่งในบุคคลเหล่านั้นที่ทอดร่างลงบทมัสยิด ”

“ ส่วนคุณแม่ของฉัน ท่านอยู่ในบ้านกับน้องชายคนเล็กของฉัน ท่านทราบข่าวนั้น และล้มสลบลง เมื่อท่านได้รับการพยาบาลและฟื้นคืนสติขึ้นมา เธอถึงกับหมดเรี่ยวแรงที่จะเดินเหิน ในอีกหนึ่งอาทิตย์ต่อมา ระเบิดลูกหนึ่งก็ตกลงไปที่บ้านของฉัน”

“ อาลัมค่ะ มันเป็นภาพที่น่าสยดสยอง ถ้าฉันจะบอกว่าบ้านได้ถล่มทลายลง และได้ทับถมร่างคุณแม่ของฉันไว้ใต้ซากปรักหักพังนั้น...”

เรื่องราวที่ได้ฟัง ทำให้ผมนิ่งงัน ผมมองเห็นภาพเหล่านั้นจากคำบอกเล่าของเธอ ราวกับว่าผมได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นและมองเห็นด้วยสองตาของตัวเอง

ลำคอตีบตัน ผมได้แต่นิ่งและเงียบ...

“ ฉันรู้ค่ะว่า แม้ฉันกลับไปก็ไม่อาจเปลี่ยนสภาพเลวร้ายนั้นได้ ลำพังแต่ตัวฉันเองก็ไม่สามารถที่จะต่อกรกับทหารยิวผู้โหดร้ายเหล่านั้น แต่...อาลัมค่ะ คุณรู้ไม่ใช่หรือว่า สำหรับผู้ที่ญิฮาดในแนวทางของอัลลอฮฺ เขาจะไม่มีวันพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด ถ้าเขาไม่ชนะเหนือพวกยิว เขาก็จะได้รับชะฮีด...”

ผมพยักหน้า และก้มหน้าลง

ผมแทบจะไม่เชื่อหูตัวเองว่าจะได้ยินถ้อยคำเหล่านี้ จากปากของหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งนุ่มนวลในกิริยา อ่อนโยนในการพูดจา วันนี้ผมพบอีกคุณลักษณะหนึ่งในตัวเธอ นั่นคือความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ใช่แล้วสำหรับผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) สำหรับเขา คือชัยชนะ หรือไม่ก็ชะฮีด

แสงแดดแผดกล้าขึ้นกว่าเดิม ผมยืนอยู่ที่นั่น มองรถบัสคันนั้น เคลื่อนจากไปจนลับหายไปจากสายตา โซฟียะห์ เธอจากไปพร้อมกับการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ และแม้ในหมู่บุรษก็ยังยากที่จะพบเจอได้

เธอคงกลับไปสู่ “กาซ่า ” มาตุภูมิของเธอ ที่นั่นมีเสียงปืน เสียงตูมตามของระเบิด และเสียงร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดแทนเสียงดนตรีของบีโธเฟน ที่นั่นเธอจะอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของบ้านเรือนและชีวิตที่พลัดพราก ความอดอยาก ความหวาดกลัว เธอคงจะได้อ่านมันแทนนวนิยายที่ได้รับรางวัลโนเบล เธอคงจะได้สัมผัสกับแววตาของเด็กๆที่ปราศจากรอยยิ้ม ดวงหน้าขะมุกขะมอม และเศร้าสร้อยแทนการชมภาพวาดที่ตั้งโชว์ในพิพิธภัณฑ์ของแวนโกะ และเธอคงได้ขับลำนำบทกวีที่ยิ่งใหญ่ของโลก

โซฟียะห์ ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองเธอ ผมจะจารึกชื่อเธอไว้ในดวงใจของผม ผมจะจดจำเธอตลอดไป ผมให้สัญญา...

ลาก่อน โซฟียะห์

................................................................................................................................................................................

หมายเหตุ ชื่อเดิมของเรื่องนี้คือ “เธอกลับสู่มาตุภูมิ” เคยลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ทางนำ ” ฉบับวิเคราะห์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 73/9 ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม – 20 มิถุนายน 2531 และชื่อเมืองตามท้องเรื่องเดิมคือ “ไฮฟา” แต่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันผมขอเปลี่ยนเป็น “กาซ่า” 

หมายเลขบันทึก: 574331เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท