"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

ส่งเสริมภาษาไทย : “เคล็ดสำคัญการแต่งกลอน”


๒๙/๐๗/๒๕๕๗

***************

ส่งเสริมภาษาไทย : “เคล็ดสำคัญการแต่งกลอน”

วันนี้ได้เข้าไปค้นหาดูหลักการแต่งกลอนหรือการแต่งฉันท์ในยูทูบ พบคลิปวิดีโอชื่อ “ครูพบกูรู แต่งกลอนอย่างสร้างสรรค์ teacher tv” ที่โพสท์โดยคุณ panyasak1 


ตรงนี้ http://www.youtube.com/watch?v=QY8v4GrOlkk ฟังอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แนะนำการสอนแต่งกาพย์ โคลง กลอน แนะให้หัดแต่งกาพย์ยานีก่อน เพราะง่ายมีไม่กี่คำ และกาพย์ยานียังเป็นบรรทัดแรกของโคลงได้ด้วย หากเพิ่มไปอีกสองคำ ก็เป็นรูปของโคลงแล้ว และโคลงนั้น ท่านบอกว่า บังคับการใช้รูปวรรณยุกต์โท แต่ไม่บังคับการใช้รูปวรรณยุกต์เอก สามารถใช้เสียงแทนวรรณยุกต์เอกได้ และยังสามารถใช้คำตายแทนได้อีกด้วย...ส่วนคำฉันท์นั้นเน้นที่คำ ครุ ลหุ ตามฉันทลักษณ์ ไม่เน้นเสียงครับ...

“เคล็ดสำคัญ” ของการแต่งกลอนสุภาพ คือ “เสียง” การแต่งกลอนต้องเน้นหลักการฟังเสียง หรือใช้เสียง รับ สัมผัสให้ตรงกันและลงกัน โดยท่านบอกว่า กลอนโดยทั่วไปก็จะมี ๘ วรรค แต่ละวรรคก็มีหลักช่วยจำในการแต่งตามเสียง คือ ใช้ ก.ไก่ เข้ามาจับคำ ลองออกเสียงดูว่าเป็นเสียงอะไร(ไม่ใช่รูปนะครับ) เช่น แท็กซี่ ก็จะออกเสียงเป็น “แก๊กกี้” เป็นเสียงตรีและเสียงโท เคล็ดสำคัญของการใช้เสียงหรือลงเสียง คือ...

               ๑. คำสุดท้ายของวรรคแรก    สามารถใช้ได้ทุกเสียง

            ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่สอง  ห้ามใช้เสียงสามัญและเสียงตรี

            ๓. คำสุดท้ายของวรรคที่สาม  ต้องเป็นเสียงสามัญและเสียงตรี

            ๔. คำสุดท้ายของวรรคที่สี่      ต้องเป็นเสียงสามัญและเสียงตรีเหมือนกัน

           โดยท่านใช้หลักในการเทียบเสียงของสุนทรภู่ ดังนี้...


            “เพราะโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต          ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง

            ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง                  อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย

           โอ้ยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้                       ร่ำพิไลรัญจวนหวนละห้อย

           โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย           น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำชื่นอัมพร

           หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น         ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร

           แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน           จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง


ลองมาสังเกตคำสุดท้ายที่ลงหนาและเส้นใต้ไว้ ตามหัวข้อก็จะได้ตามลักษณะที่กล่าวมาเบื้องต้นคือ

          ๑.คำสุดท้ายของวรรคแรก       “ชื่น”   เป็นเสียง โท (ใช้ได้ทุกเสียง)

          ๒.คำสุดท้ายของวรรคที่สอง   “สร”    เป็นเสียง จัตวา (ใช้เป็นเสียงเอกหรือโทก็ได้)

          ๓.คำสุดท้ายของวรรคที่สาม   “นอน” เป็นเสียง สามัญ (ห้ามเป็นเสียงเอก โทและจัตวา)

          ๔.คำสุดท้ายของวรรคที่สี่       “เวง”   เป็นเสียง สามัญ (ห้ามเป็นเสียงเอก โทและจัตวา)

เท่าที่จับความได้ก็ประมาณที่กล่าวมานี้ บางท่านที่สนใจอยากได้รายละเอียดจริง ๆ ก็ลองคลิกเข้าไปดูและเรียนรู้จากวิดีโอเบื้องต้นได้นะครับ


          ขอบคุณทุกท่านที่สนใจ ขอบคุณโกทูโนว์

หมายเลขบันทึก: 573483เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2014 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2014 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีประโยชน์ครับพี่หนาน ได้ความรู้ไปปรับทักษะอีกเยอะ

คุณมะเดื่อยังเป็นเช่น....ลุกบิด

ยังไม่ติดอันดับต้นต้อง........ด้นฝัน

เขียนกลอนได้...แค่ลูกบิด...ที่กลายพันธุ์

จะมีวัน....ไหมนี่....ที่เป็น....กลอน.....อิ อิ

ขอขอบคุณอาจารย์ ส.รตนภักดิ์ และคุณครูมะเดื่อที่แสดงความเห็นร่วมด้วยครับ...คุณครูก็ถ่อมตัวเกินไป เท่าที่อ่านมาไม่ธรรมดาแล้วล่ะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท