อัตถิภาวนิยม (Existentialism) : ความเป็นมา


คำว่า Existentialism แปลว่า อัตถิภาวนิยม มาจากคำว่า “อัตถิภาวะ” มาจากศัพท์มคธว่า อัตถิ = เป็นอยู่+ภาวะ= สภาพ ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า existence ซึ่งแปรรูปมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า existentia (ex= จาก+stare=ยืน) แปลว่า ความมีอยู่[1]


อัตถิภาวนิยมเป็นแนวคิดที่เป็นปฏิกิริยาต่อต้านกับหลักการสำคัญของเพลโต และอาริสโตเติลที่ว่า สาระของความเป็นมนุษย์ หรือ จุดมุ่งหมายของความเป็นมนุษย์คือ การเข้าถึงความจริง และการบรรลุเป้าหมายของความเป็นมนุษย์[2]


การฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สนใจตนเอง และเลือกทางของตนเอง ย่อมจะไม่ขัดกับเรื่องความสนใจในบุคคลอื่นแต่อย่างใด เพราะปรัชญานี้ถือเป็นหลักอยู่แล้ว สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเองนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลอื่นด้วย สิ่งที่ตนเองเลือกนั้นย่อมหมายถึงว่า เราเลือกสำหรับคนอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น จึงถือได้ว่าสิ่งไม่ดีสำหรับคนอื่น ย่อมไม่ดีสำหรับตนเองด้วย[3]


แนวคิดของอัตถิภาวนิยมเป็นการมุ่งส่งเสริมมนุษย์ ให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดทางปรัชญาคือ การสอนให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเลือก มีความรับผิดชอบหรือตัดสินใจใดๆ ด้วยตนเอง ยอมรับถึงความสามารถในการตัดสินใจต่อสิ่งต่างๆและทั้งผลอันจะเกิดตามมาด้วยตัวของเขาเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือร้าย...


เมื่อพิจารณาในหลักการเช่นนี้ก็พอจะลงความเห็นได้ว่า การศึกษาตามแนวนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ในระดับสูงกว่า ระดับประถมศึกษาขึ้นไป เพราะอาจด้วยว่า วุฒิภาวะบางอย่างของเด็กเล็กๆ อาจมีไม่มาก..

...แต่อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาที่สนใจเพียงแต่ตอบสนองความต้องการเพียงส่วนตนอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอหรือเกิดประโยชน์อย่างรอบด้าน..หากขาดการเชื่อมโยงหรือสนใจ..ต่อบริบทรอบตัว..อย่างเข้าใจ เพราะบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่า ประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวมอาจเป็นไปได้ไม่พร้อมกัน...บางอย่างอาจได้ประโยชน์เพียงเฉพาะหน้า แต่ประโยชน์บางอย่างต้องอาศัยระยะเวลาที่เพียงพอ หรือมากพอด้วย


เมตตาธรรม.


[1]กีรติ บุญเจือ, ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม, หน้า ๓.

[2]วิชัย ตันศิริ, หลักพื้นฐานทางการศึกษา, หน้า ๑๒.

[3] บรรจง จันทรสา, ปรัชญากับการศึกษา, หน้า ๒๕๓.

หมายเลขบันทึก: 573147เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท