​ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) : การเรียนการสอน (๓)


ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) : การเรียนการสอน (๓)


โรงเรียนในรูปแบบของลัทธิพิพัฒนาการนิยมเป็นการมุ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของทุกคนไม่ได้แยกว่า ผู้เรียนต้องเป็นเพียงผู้ต้องในการเรียนหรือผู้สอนเป็นผู้เริ่มต้น แต่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกัน 


ขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยการศึกษาจากประสบการณ์จริงเรียกว่า หากต้องการค้นหาคำตอบในปัญหานั้นๆ ก็ต้องลงพื้นที่จริง แทนที่จะเป็นเสมือนลัทธิทั้งสารัตถนิยม และนิรันตรวาท ที่เป็นการใช้ลักษณะการเก็งความจริงทางเหตุผลเพียงอย่างเดียว ซึ่งมองได้ว่ามีลักษณะการเห็นแก่ตัวอยู่ด้วยว่า เอาแต่ประโยชน์ตนไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวิถีทางแบบประชาธิปไตยเพื่อจะส่งเสริมให้เกิดมีความสัมพันธ์กันทางแนวความคิดและบุคลิกภาพอย่างเสรี ซึ่งสิ่งนี้เองคือลักษณะที่จำเป็นสำหรับแนวคิดของลัทธิพิพัฒนาการที่ถูกต้อง 


ฝ่ายพิพัฒนาการนิยมนั้นเห็นว่า ประชาธิปไตยก็คือการมีความร่วมมือร่วมใจกันอย่างเสรีทางความคิดและการแสดงออก  โดยเข้าใจและยอมรับซึ่่งความแตกต่างในสิ่งที่แต่ละคนเป็น ไม่ตัดสินหรือพิพากษาผู้อื่นเพียงมุมมองของตนเองหรือยึดถือเอาเพียงทัศนะจากสิ่งที่ตนเองยอมรับและชอบใจหรือไม่ชอบใจเท่านั้น



ด้วยเมตตาธรรม

หมายเลขบันทึก: 573005เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2014 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2014 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท