สรุปบทเรียน การดูพระแท้ ทางไลน์ 5 กค 57


เมื่อคืนตั้งใจจะเริ่มเร็วและเลิกเร็ว เพราะไปทำนาทั้งวัน ทำท่าจะง่วงนำทางมาเลย

ขนาดวันนี้ หลบไปทำนา ก็ยังมีคนตามเอาพระกรุบ้านกร่างไปให้อีก 2 องค์ สงสัยพระกรุนี้ ทั้งขอนแก่นจะมีผมเล่นคนเดียว หรือทั้งอีสานก็ไม่แน่ใจ องค์ที่ได้เมื่อวานนี้เม็ดทรายลอยสวยมาก ทำให้ดูง่ายมากๆ

เม็ดทรายลอย ดูง่าย และทำยากที่สุด เพราะ เม็ดทรายมน เหี่ยว และลอยทุกเม็ดจะทำได้ยังไง

ในเนื้อผงก็มี แต่ในเนื้อผงจะผ่านการร่อนแยกขนาด และเม็ดทรายจะจม ถ้าเม็ดโตๆมักจะเก๊

แม้ พระ ลพ ปานก็แยกขนาดเม็ดทราย โตก็เก๊เหมือนกัน ระดับที่ว่าเห็นเป็นเม็ดเมื่อไหร่ก็เก๊เลยครับ

ในกรณี พระดินดิบ ลพ ปาน ให้ดูความเก่าของปูนปิดรูผงยา ก็เหมือนกับการดูเนื้อผงเก่า ถ้าปูนไม่เก่าก็เก๊ชัวร์

ตามหลัก 3+ เลยครับ อาจได้ถึง 3+1 แต่ยังไม่ถึง 3+2

และ เนื้อดินต้องเห็นน้ำว่านงอก ตามหลักที่สอง ที่ว่า ในความนวลมีความฉ่ำ ในความฉ่ำมีความนวล และมีสีเหลืองๆของน้ำว่านหรือตังอิ้วอยู่ด้วย ลดปัญหาการปริแตก

เริ่มคุยจากเนื้อดินหลุดมาเนื้อผงซะแล้ว เลยมีคำถามว่า พระสมเด็จมีกลิ่นหอมๆไหม ที่เป็นไปได้ ถ้าพระแก่น้ำว่าน

ถ้าแก่ตังอิ้ว จะเหม็นหืน ถ้าแก่ปูน อย่างมากก็มีกลิ่นอับๆ การดมกลิ่นช่วยได้สำหรับคนจมูกดีครับ

พระใหม่ๆมักจะมีกลิ่นสารเคมี กลิ่นกาว กลิ่นน้ำยา กลิ่นพลาสติก

ต่อจากนั้น ก็มีคนสงสัยว่ากลิ่นจะอยู่ได้เป็นร้อยๆปีหรือ

ผมก็เลยถามเชิงอุปมาว่า ช่วยเอาปลาร้าไปล้างให้หมดกลิ่นปลาร้าได้ไหมครับ หรือเอาแก๊สไปล้างจนหมดกลิ่นแก๊สได้ไหม หรือลองสมมติว่าไปดมกลิ่นมัมมี่ 3000 ปี จะหมดกลิ่นศพไหม

คือเขาไม่ได้ใส่กลิ่น แต่กลิ่นคือส่วนประกอบของวัสดุเลย กลิ่นจะหายไปได้ยังไง ถ้ากลิ่นหมด วัสดุนั้นก็ต้องหมดแน่นอน

แล้วตังอิ้วหมดไปจากพระสมเด็จหรือยัง น้ำว่านหมดไปจากพระซุ้มกอหรือยัง

ลองไปดมพระเก๊ จะรู้เลย

ต่อจากนั้น ก็มีคำถามว่า เมื่อมวลสารร่อนแล้ว ทำไมจึงเห็นมวลสารขนาดใหญ่ โดยเฉพาะวัดระฆัง ที่มี เกสรดอกไม้ ก้านธูป ก้อนผงพุทธคุณ ที่มีก็เพราะ ผสมทีหลัง "ผงพุทธคุณ" จากเศษพระองค์ก่อนๆ ที่มีเฉพาะวัดระฆัง ที่ทำทีละครก

สมเด็จบางขุนพรหม เกศไชโยจะไม่มี เพราะทำแบบไม่เหลือ ทำทีละมากๆ ตัดเศษออกใส่คืนทันที ไม่รอให้แห้ง

และมีคำถามต่อเนื่องว่า สมเด็จวัดระฆังจะเห็นปูนสุกปูนดิบและตังอิ๊ว ค่อนข้างชัดเจน ส่วนบางขุนพรหมจะเน้นไปทางปูนสุก แต่ทั้ง 2 วัดจะเห็นการพัฒนาการงอกค่อนข้างชัดเจน ส่วนเกศไชโย มีการพัฒนางอก น้อยกว่าทั้ง 2 วัด ทั้งๆที่ระยะเวลาทำองค์พระห่างกันไม่นาน น่าจะเกิดจากอะไรครับ

ที่น่าจะมาจากส่วนประกอบต่างกัน เปลือกหอยคนละแหล่ง หรือคนละชนิด ฝีมือการเตรียมก็ต่างกัน

ของที่ทำปริมาณมากมักจะไม่ค่อยดี ตามประวัติการสร้างวัดระฆังทำทีละน้อยๆๆ จึงมักจะดี แต่ไม่สม่ำเสมอ

แต่ของที่ทำเยอะๆ จะสม่ำเสมอ แต่จะไม่ค่อยดี นี่คือที่มาของความแตกต่างที่น่าจะเป็นครับ

ประเด็นการเรียนเมื่อคืนก็ประมาณนี้ครับ

ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกท่านครับ

คำสำคัญ (Tags): #การดูพระแท้
หมายเลขบันทึก: 571798เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2014 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2014 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ส่วนมากจะคิดกันว่าพระสมเด็จต้องไม่มีกลิ่น คำอธิบายของอาจารย์เป็นอันเข้าใจครับ 

ของคุณมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท