"Getting some from Giving things: ให้แล้วได้"


                       สังคมในปัจจุบัน นับวันจะกลายเป็นสังคมเชิงเดียวและสังคมส่วนตัวมากขึ้น โดยเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลสูงขึ้น เน้นเสรีภาพ เน้นสิทธิส่วนบุคคล ถืออภิสิทธิชน ในความเป็นตัวตนมากขึ้น จึงเป็นเหตุไม่ค่อยยอมกัน ไม่ค่อยเคารพกัน ไม่ให้เกียรติกัน เพราะถือว่า สิทธิเท่าเทียมกัน สิ่งที่ตามมาคือ มีความเป็นส่วนตัวสูง ยึดถือกฎหมายเป็นใหญ่ในการปกป้องตนเอง จึงกระทบกระทั่งกันง่าย อ่อนไหวต่ออารมณ์ ความรู้สึกครับ

                        ผู้เขียนเน้นบ่อยๆว่า นี่คือ "อิทธิพลของโพสต์โมเดิน" (PM) ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนความเป็นตัวตนในมนุษยภาวะออกมา เพื่อสะท้อนศักยภาวะ ที่ฝังซ่อนในใจมาตลอด เนื่องจากถูกกดขี่มานานจาก ศาสนา สังคม วัฒนธรรม ชนชั้น กฏกมาย เพศและเชื้อชาติ เมื่อระเบิดอัตภาวะออกมาได้ ก็แสดงออกเต็มที่ ไม่มียั้ง ทำให้สังคมปัจจุบันมีรูปแบบในการสะท้อนภายในออกมาอย่างหลากหลาย

                          สื่อกลางหรือสะพานที่เชื่อมต่อโลกภายในกับภายในคือ เสรีภาพ โซเชี่ยวมิเดีย และกฏหมาย จึงสะท้อนสัญชาตญาณดิบๆ ของมนุษย์ออกมาด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดพฤติกรรมที่เพี้ยนๆ หรือแปลกๆ ในสังคมปัจจุบัน สิ่งที่ไม่เห็นก็เห็น สิ่งไม่เคยมีก็มี ซึ่งอาจเป็นไปตามวิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลง (ทั้งดี ไม่ดี) นั่นเอง

                        ตัวอย่างที่ผู่้คนแสดงพฤติกรรมใหม่ (นวกรรม) ออกมา คือ เด็กๆ ถูกล่อลวงด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต มือถือ สื่อออนไลน์ ทีวี อินเตอร์เน็ต เกม ฯ เรามองว่านี่คือ โลกยุคใหม่ที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของเด็กยุคใหม่ จริงหรือ? รัฐมองเช่นนั้น เพราะสังคมโลกเป็นไปตามกระแสนี้ จึงผลักให้เด็กๆ เป็นไปตามกรอบนี้ แล้วผลเป็นเช่นไรครับ??

                        สำหรับผู้ใหญ่ก็ถูกล่อลวงด้วยคำว่า ราคา ค่าจ้าง ค่าแรงงาน เงินเดือน รายได้ ทุน ฯ จนกลายเป็นว่า ทุกกิจกรรมจะต้องมีฐานเงินทองเป็นผล เป็นเป้าหมาย หากไม่มีสิ่งนี้ ขาดแรงจูงใจทันที เราจึงมักจะพูดเสมอว่า "ทำแล้วท้องแห้ง เหนื่อยแรงเปล่า" เราจึงถูกทุนนิยม เงินทองครอบงำอย่างสิ้นเชิง ดิ้นไม่หลุด นี่คือ โอกาสที่จะลืมตา งาบผลประโยชน์ (หรือ) หรือเป็นผู้จะอดตาย

                      แน่นอนว่า คนในเมือง คนกรุง ตายแน่นอน เพราะสังคมเมืองไม่มีเยื่อใย ใจเอื้อต่อกันแล้ว แต่คนบ้านนอก ชนบทยังคงหาน้ำใจนี้พอได้อยู่บ้าง ซึ่งนี่คือ โมเดลสำหรับคนเมืองที่ควรเอาอย่าง กระนั้น คนชนบทกลับมองเอาเยื่ยงคนกรุงปฏิบัติกันไม่เห็นคุณค่าน้ำใจซะงั้น มองให้ลึกอีกที คนกรุงนั้น มีระบบการคิด การวางแผนชีวิต การจัดการชีวิตได้ละเอียด สุขุมกว่าคนชนบท เพราะมีแหล่งเรียนรู้ มีตัวอย่างให้ศึกษามากมาย แต่กลับตันในแง่พฤิตกรรมด้านน้ำจิต น้ำใจครับ

                       ในขณะคนรุ่นเก่า (๔๐-๖๐ ปี ขึ้นไป) ยังคงโหยหา เรียกร้อง รำพีงรำพันอยู่กับภาพอดีตเก่าๆ ที่สร้างสรรค์จิตใจให้มนุษย์ดีงาม มีน้ำใจต่อกันสมกับคำว่า "(โคลน) คนไทย" จึงเรียกร้องให้ศาสนา ที่สอนจริยธรรม ศีลธรรม คติความเชื่อเดิมๆ มามีบทบาทในสังคมจิตวิวัฒน์มากขึ้น เพราะเชื่อมั่นว่า หลักการศาสนาจะช่วยเยียวยาใจ ให้มนุษย์อ่อนโยนต่อกัน ไม่เหี้ยมโหดต่อกัน ตรงกันข้ามเด็กยุคจี ๔ กลับเรียกร้องให้ใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อสังคมมากขึ้น เพราะเรากำลังจะก้าวไปสู่เอกภาพโลก หรือโลกคือหนึ่งเดียวกัน

                        ยุคใหม่ต้องการความรู้วิทยาศาสตร์ นววัตกรรม เทคโนฯ ใหม่ๆ มาเชื่อมสร้างสังคมให้เจริญขึ้น จึงเกิดการขัดแย้ง (Conflict) กันระหว่างโลกยุคใหม่กับโลกยุคเก่า นี่คือ ลักษณะรูปแบบของโพสต์โมเดินครับ จึงเหมือนสังคมกำลังเดินสวนทางกันระหว่างคนเก่าหันมองอดีต ส่วนคนยุคใหม่มองอนาคตครับ

                         นี่คือ ปรากฏการณ์ที่โลกสัตว์เป็นไปของมันเช่นนี้เสมอ มิใช่เป็นความผิดของใคร ทุกคนเป็นไปตามทางของกาลเวลา พฤติกรรมของคนจึงแปรเปลี่ยนไปตามวิถีโลก ตามกาลและอยู่ที่ เราจะเรียนรู้ ยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เป็นอย่างไร ส่วนสังคมก็ขึ้นอยู่กับผู้นำ หากผู้นำมีความคิดแคบหรือไม่รอบคอบสังคมก็อาจเสี่ยง เหมือนโคลงช้าง มีผู้นำคือ ช้างเพศแม่ที่มีประสบการณ์นำพาฝูงให้พ้นวิกฤติได้ 

                           สิ่งที่สำคัญคือ หลักการ กฏกติกา เครื่องมือในการนำพา ที่จะควบคุมรักษาระเบียบ วินัย กิริยา มารยาท ความคิด อารมณ์ ให้อยู่ในวงจำกัด เพื่อสร้างความสงบสุขให้กับสังคมและตนเอง ความไม่ออกนอกลู่จนเกินไปคือ หลักประกันความปลอดภัยของสังคม หรือการขาดจิตสำนึกในความพอเพียง ความอิสระเกินไป ก็อาจนำพาความเดือดร้อนมาสู่สังคม ญาติและตนเองได้ 

                         เมื่อดีเกรดหลักศีลธรรมว่าอ่อนไป หลักกฏหมายก็อคติ กฏระเบียบเหมือนถูกกีดกัน ผู้คนจึงแสดงในกรอบอัตตาธิปไตย ไม่กลัวเกรงใคร ไม่กลัวความผิด ไม่กลัวความตาย ไม่ยี่หระต่อความทุกข์ร้อนของตนอื่นและตนเอง ประเด็นนี่เองที่ผู้คนในชาติควรตระหนัก มิใช้ให้ใคร ผู้ใดมาบีบบังคับให้ทำ มันเป็นเรื่องพฤติกรรมที่ทำซ้ำซากจนเคยชิน สังคมจึงเหมือนมีกระแสเป็นดังที่เห็น เพราะคนไทยใช้คำว่า "ไท" จนเลยเถิดเกินความพอดีไปแล้ว

                         ฉะนั้น โปรดศึกษาอดีตความเป็นมาของไทยดู เราเคยอิสระมา เราอยากให้ใครมากดขี่ใช่ไหม? การแสดงความเป็นปึกแผ่น ด้วยก้อนความเป็นไทย มิใช่ให้ต่างชาติมาชี้นำ แต่เราควรใช้วุฒิภาวะแห่งเอกภาพของตนที่เย่อหยิ่งมาตลอดสอนตัวเอง  มิฉะนั้น เราเองนั่นแหละจะถูกสอนด้วยการปฏิรูป ปฏิวัติกันเองจนซ้ำซากอยู่เช่นนี้ ไม่รู้จะพัฒนาหรือพัดพาไปถึงไหนอีก 

                         เราคนไทยมีรากฐานมาจากศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่สอนแนวทางให้วางใจ พฤติกรรมต่อคนอื่น สัตว์อื่นด้วยจิตเมตตาธรรม เรียนรู้เพื่อที่จะหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการคิด การกระทำวนๆ เวียนๆ เช่นนี้ จนพ้นวงจรความซ้ำซาก ด้วยวิธีการที่เรียกว่า "ให้อภัย ใจอารีย์ มีศีลและธรรม" แต่หลักการเหล่านี้มีพลวัตรต่อพฤติกรรมของคนในชาติแค่ไหน??

                         อย่างน้อยคุณค่า คุณธรรม ก็สามารถก่อร่างสร้างจิตสาธารณ์ให้เกิดต่อตนเองได้ เป้าหมายของมหาชนคนในชาติคือ ความสุขและความสงบสุชใช่หรือไม่? ถ้าเช่นนั้น เราควรจะหาความสุขจากกันและกัน ให้โอกาสแก่คนด้อยโอกาส คนขอบสังคม คนจน คนทุกข์ยาก ลำบากในสังคม วิธีนั้นคือ "การให้ การเสียสละ การบริการสังคม ลดความเห็นแก่ตน มองคนให้เห็นความเป็นคนในใจตน" เพื่อสะท้อนตนว่าเป็นคนอย่างไร

                      ที่เรารวย เพราะเรามีคนอื่นหยิบยื่นให้มิใช่หรือ? เมื่อเราจน เราอยากให้ใครยื่นมือมาช่วยไหม? ทุกคนมีสมบัติแห่งความทุกข์ วิกฤติ ความทรมารจิตใจ ในวันข้างหน้าเท่าเทียมกัน จงสำเหนียกเถอะว่า สักวันเราจะต้องเผชิญกับมัน ทางที่ดีเราควรเตรียมตัว เตรียมใจ ไม่ประมาทคือ "Giving something to someone for getting something for oneself."  เพื่อสร้างภูมิคุ้มภัยและคุ้มกันตนเองเอาไว้นะจ๊ะ

-----------------------(๔/๗/๕๗)------------------------

คำสำคัญ (Tags): #ให้อภัย
หมายเลขบันทึก: 571670เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2014 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2014 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ใข่แล้วค่ะ .... คนไทย.. สังคมไทยมี....ความเป็นปัจเจกบุคคลสูงขึ้น..เห็นด้วยมากๆๆ ค่ะ





"สุดยอด"ๆๆ...บันทึกนี้   สร้างภูมิคุ้มกัน..ตัวเอง..ไว้นะจ๊ะ..(ท่านพุทธทาส..กล่าวว่า...อย่าเห็นแก่..ตน..)...

ธาตุ ดิน  นั้นทนไฟ..หาก  เปลี่ยนแปลง..ไป..ไฟ..มัน..ร้อน..เลยต้องเปลี่ยน..สี..อ้ะะ...

ขอบคุณดร.หมอเปิ้ลครับ  ....อืมมมมน้ำลายไหลลลลชอบกระท้อนมากครับ

ใช่ครับยาย...เราจึงควรปั้นดินให้เป็นทรัพย์นับตังต์ครับ

ขอบคุณพี่บุษครับ ที่มอบดอกไม้ครับผม

ขอบคุณบทความดีๆ จรรโลงใจค่ะ

น้ำใจของผู้คนในสังคมนับวันจะเหือดแห้งลงไปทุกวัน

ราจะไม่เป็นคนหนึ่งคนนั้นที่ช้ำเติมสังคมด้วยการยินยอมให้ตนเองเป็นคนแล้งน้ำใจไปอีกคน

ด้วยคารวะค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท