SEEN มหาสารคาม _๑๕ : ขับเคลื่อน ปศพพ. สู่โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ (๔) เชื่อมโยง ๔ มิติ และ "๓ เชื่อม"


บันทึกที่ ๑...
บันทึกที่ ๒...
บันทึกที่ ๓...
บันทึกที่ ๔...

ก่อนที่จะแยกกลุ่มทำ Work Shop ผมนำข้อเสนอแนะ "หลักการขับเคลื่อนฯ " ของ รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี ที่ผมเคยเรียบเรียงเป็น "ภาพ" ไว้ที่นี่ (ขยายความไว้ที่นี่ และที่นี่)

ดังที่ได้ "เน้น" แล้วในบันทึกที่ ๒ ว่า ในการขับเคลื่อนฯ ด้วย "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" นั้น จำเป็นจะต้อง ศึกษาเรียนรู้ให้ "รู้จักตนเอง" เสียก่อน  ในทางปฏิบัติสำหรับการขับเคลื่อนฯ ในโรงเรียน คำว่า "ตนเอง" ในที่นี้หมายถึง "โรงเรียน" การพิจารณาให้รู้จัก "ตนเอง" ควรครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ ที่โรงเรียน "มีอยู่" หรือ "เป็นอยู่" เช่น 

  • วัตถุ/เศรษฐกิจ   คือ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ-โสต-ไอซีที ฐานการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ทางกายภาพ / งบประมาณของโรงเรียน สภาพเศรษฐกิจของโรงเรียนและชุมชน ฯลฯ 
  • สังคม คือ อาจจะพิจารณา ๓ ระดับ ๑) เริ่มที่ความ "โลภ โกรธ หลง" ของผู้คนภายในโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะปัจจุบัน เช่น ผู้ปกครอง หรือคณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ ว่า รุนแรงจนส่งผลให้เกิด "ปัญหาสังคม" หรือไม่ กลุ่มบุคคลที่มีน้อย อาจเหมาะสมที่จะเป็นแกนนำ ๒) พิจารณาดูความสมัครสมานสามัคคีของคนในโรงเรียน หรือโรงเรียนกับชุมชน คือ ดูความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ  และ ๓) ดูระดับของการเสียสละ แบ่งปัน หรือ อุดมการณ์ต่อการทำเพื่อส่วนรวมของคนหรือสังคม 
  • วัฒนธรรม คือ พิจารณาดูวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน และจุดเด่นด้านวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น
  • ด้านสิ่งแวดล้อม นอกจะพิจารณาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มีอยู่ของโรงเรียนแล้ว ควรพิจารณาถึง ระดับของความตระหนักต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของคนด้วย รวมถึง "ผลกระทบ" ต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาหรือการกระทำของคน 

และการขับเคลื่อนฯ สู่โรงเรียนนั้น ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์การร่วมประเมินโรงเรียนศูนย์ฯ พบว่า ปัญหาของการขับเคลื่อนส่วนหนึ่ง คือ การมุ่งเพียงถอดบทเรียนใหนักเรียน "ตีความ" เข้าใจในหลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข แต่ไม่ได้เน้นการนำไปใช้จริง โดยเฉพาะการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งต้องพิจารณาถึง หลัก ๔ มิติ และสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ผลลัพธ์ที่ต้อง "ยั่งยืน" และ "พร้อมรับการเปลี่ยนเแปลง" สรุปคือ การขับเคลื่อน ปศพพ. นั้นไม่ใช่เพียงทำความเข้าใจ ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไขเท่านั้น แต่ต้อง ไปถึง ๔ มิติ สู่ความ "ยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง" ด้วย

หลักในการนำ ปศพพ. ไปใช้ในสถานศึกษาที่เสนอโดย ดร.ทิศนา แขมมณี กำหนดไว้ใน ๓ แนวทางหลัก ได้แก่ การขับเคลื่อนฯ ในห้องเรียน คือ ผ่านการเรียนการสอน การขับเคลื่อนฯ ด้วยกิจกรรมส่งเสริมฯ และ การขับเคลื่อนฯ  สู่กิจวัตรประจำวันของนักเรียน หรือลงสู่ชีวิตจริงๆ  ดังรูป

ในการขับเคลื่อนฯ ที่ ร.ร.นาดูนประชาสรรพ์ มีตัวอย่างการถอดบทเรียนกิจกรรมการขับเคลื่อนฯ โดยใช้แนวทางนี้เป็นหลัก ดังภาพด้านล่าง

ผมขอชื่นชมว่า ครูอาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ถอดบทเรียนได้อย่างชัดเจนว่า ได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และได้ฝึกทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตหลากหลายประการ และจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นทักษะการคิดและทักษะการทำงานกลุ่ม  แต่สิ่งที่ยังไม่มั่นใจคือ ห่วงทั้ง ๓ นี้ "เชื่อม" หรือ "ไม่เชื่อม" ตามรูปด้านล่าง

เพราะ ถ้า "ไม่เชื่อมโยงกัน" จะทำให้ทั้งครูอาจารย์และนักเรียนต้องทำงานหนัก มีกิจกรรมมากมาย สิ่งที่เรียนในห้องก็ไม่เสริมความเข้าใจในกิจกรรม และไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตจริงๆ  แต่ถ้า "เชื่อมโยงกัน" ผมมั่นใจว่า จะทำให้ "งานลดลง"  แน่นอน

ขอเสนอให้ ท่านอาจารย์ เขียนบันทึกเพื่ออธิบาย ความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ตามรูปที่ท่านได้ถอดบทเรียนออกมาอย่างดีนั้นแล้ว เพื่อให้เพื่อนผู้กำลังขับเคลื่อนฯ ได้อ่าน เป็น "วิทยาทาน" จะอนุโมทนายิ่งครับ

หมายเลขบันทึก: 571637เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2014 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2014 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท