ทำอย่างไรเมื่อหนูน้อยเอ็นข้อหย่อนขึ้นชั้นประถมศึกษา


เด็กปัญหาเอ็นข้อหย่อน สามารถมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ที่โรงเรียน โดยปรับรูปแบบกิจกรรม และการเรียนรู้ของเด็กตามวัย

โรงเรียนทั่วไปเปิดเทอมมาได้เกือบ 2 เดือนกว่าๆ แล้วค่ะ แต่สำหรับเด็กในเครือสาธิตฯ อาจจะเพิ่มเปิดเรียนในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา การเปิดเทอมครั้งนี้มีหลายครอบครัวของหนูน้อยเอ็นข้อหย่อนที่ต้องขึ้นชั้นเรียนในระดับถัดไป โดยเฉพาะจากชั้นอนุบาล ขึ้นไปเรียนในชั้นป.1  ความจริงแล้วการเปลี่ยนระดับชั้นเรียนไม่น่าจะมีปัญหาอะไรสำหรับเด็กทั่วๆ ไป แต่สำหรับหนูน้อยที่มีปัญหาเอ็นข้อหย่อนแล้วบางครอบครัวอาจพบปัญหาที่หนักเอาการพอสมควร และบางครอบครัวที่ไม่ทราบว่าเด็กมีปัญหาเอ็นข้อหย่อนมาก่อน พบว่า ทำไมเด็กนั่งเรียนไม่ได้ ไม่ฟังครู ทำงานไม่เสร็จ จดงานไม่ทัน ตอนอยู่อนุบาลไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการเรียนในระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษานั้นแตกต่างกัน  ดังนี้ 
1. จำนวนชั่วโมงในการนั่งเรียนหนังสือ เด็กอนุบาลจะใช้เวลาในแต่ละช่วงประมาณ 30-45 นาทีต่อกิจกรรม ส่วนมากทำกิจกรรมในช่วงเช้า ช่วงบ่ายเป็นการนอนหลับกลางวัน ยกเว้นโรงเรียนที่เน้นเขียนอ่านอาจจะลดการนอนของเด็กอ.3 ลง  สำหรับชั้นประถมศึกษาแล้วในเวลาในแต่ละชั่วโมงอย่างน้อย 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง แบ่งเป็นการเรียนในช่วงเช้าและบ่าย 

2. รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เด็กอนุบาลจะเป็นการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ร้องเพลง เต้นรำ ทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ศิลปะ และดนตรี สำหรับชั้นประถมศึกษาส่วนมากจะเป็นการเรียนที่โต๊ะ การฟังคุณครู การจดงาน การทำแบบฝึกหัด ในช่วงบ่ายอาจจะมีการเรียนรู้กิจกรรมในชมรมต่างๆ  แต่อย่างไรก็ตาม เด็กประถมก็จะมีการเรียนทั้งวัน ซึ่งมักเป็นกิสิ่งที่ทำให้เด็กต้องใช้มือในการทำกิจกรรมติดต่อกันเป็นเวลานาน
3. ระเบียบกฏเกณฑ์ เด็กอนุบาลมีกฏเกณฑ์ไม่เข็มงวด เป็นไปตามวัย ขยับตัวได้ ลุกได้บ้าง คุณครูยังยืดหยุ่นที่จะช่วยเหลือ หรือกระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมโดยมีคุณครูคอยช่วยเหลืออยู่บ้าง ชั้นประถมศึกษาจะมีกฏที่เข็มงวดมากขึ้น ขยับตัวยุกยิกขณะคุณครูกำลังสอนก็อาจจะเป็นปัญหาทำให้เพื่อนข้างๆ ไม่มีสมาธิ การลุกออกจากที่โดยไม่มีเหตุผล เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ ดังนั้น หากเด็กเมื่อยตัว ขยับ หรือมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเพื่อนคุณครูจึงสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย 

จะเห็นว่าการเรียนที่แตกต่างกันทำให้เด็กที่มีภาวะเอ็นและข้อหย่อนเกิดปัญหาเมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษา หรือขึ้น ป.1 ซึ่งโดยปกติแล้ว จะพบว่า 5-15% ของนักเรียนมีปัญหาภาวะเอ็นข้อหย่อน ผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นในคนเอเซียมากกว่าตะวันตก และมักพบปัญหาในห้องเรียน ดังนี้

- 40% พบว่าเด็กที่มีภาวะเอ็นข้อหย่อนมีปัญหาเกี่ยวกับความทนทานในการเขียนและความเร็วในการเขียน (poor  handwriting speed and endurance )

- ขาดประสิทธิภาพในการรจับดินสอหรือการเคลื่อนย้ายดินสอ

- เด็กมีอาการล้าง่าย 

 ดังนั้น ในห้องเรียนควรทำอย่างไร 
-  เด็กสามารถจัดการความล้า และรู้วิธีที่ถูกต้องจากการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับเอ็นและข้อ ความทนทาน  และสหสัมพันธ์ของมือและนิ้วมือ

- การใช้อุปกรณ์ช่วย pencil grip aid, pencil grasp modification or modified pencil 

- การคงไว้ซึ่งท่าทางที่ถูกต้อง ทั้งการนั่งและการยืน 

- มีช่วเวลาในการพักอย่างสม่ำเสมอ จัดช่วงเวลาให้เหมาะสมในการพักและการเขียน 

- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของเอ็นและข้อมมากเกินไป การยกของหนัก หรือการทำให้ข้อต่อเกิด hyperextension 

- การส่งเสริมให้เด็กว่ายน้ำและปั่นจักรยาน ไม่ควรเน้นการลงน้ำหนักที่ข้อมากจนเกินไป

ถ้าหากเกิดการปวด เมื่อย สามารถพบนักกิจกรรมบำบัดในการประเมินเพิ่มเติม และวางโปรแกรมให้เหมาะสมต่อไปได้ค่ะ

จะเห็นได้ว่า ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่ คุณครูจะตัดสินใจว่าเด็กคนหนึ่งเป็นเด็กขี้เกียจ  สมาธิสั้น ให้ลองพิจารณาดูว่า เด็กน่าจะมีปัญหาเอ็นข้อหย่อนหรือเปล่า เพื่อปรับรูปแบบกิจกรรม และการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ที่โรงเรียนนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 571431เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จริงด้วยครับ

บางทีเด็กบางคนอาจเอ็นข้อหย่อน

ครูจะได้ปรับกิจกรรมได้

ขอบคุณมากๆครับ

สบายดีไหมครับ

หายไปนานมากๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท