พระชินราช(ขุนแผน)เคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล : ตำนานพระที่น่าศึกษา


ผมเริ่มศึกษาพระเครื่องอย่างจริงจังก็พระชินราชกรุบ้านกร่าง เป็นกรุแรก

เริ่มตั้งแต่ไปเยี่ยมสถานที่ ศึกษาประวัติศาสตร์ พงศาวดาร พุทธศิลป์ เนื้อ และ มวลสาร

ทำให้ทราบลักษณะของพระดินดิบ ดินดิบผสมว่าน การงอกของน้ำว่าน การกร่อนมนของทราย ร่องทราย และชั้นของเนื้อดินที่พัฒนาการมาหลายร้อยปี

และหลังจากนั้นก็มาติดตามพระชินราชเคลือบของวัดใหญ่ชัยมงคล ที่ศิลปะพัฒนามาจากบ้านกร่าง พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่

ที่พบว่าน่าสนใจมาก ถึงวิธีการเคลือบโดยไม่มีการเผา ย่างมากก็อบความร้อนให้เนื้อแห้ง เนื้อดินยังดิบอยู่เลย

ที่สันลายนิ้วมือจะมีคราบน้ำว่านไหลออกมาจนฉ่ำทุกเส้น เป็นจุดที่ทำเก๊เลียนแบบได้ยากและดูง่ายที่สุด

นอกจากนั้นที่ผิวรอบองค์ยังมีการปิดทองมานาน จนทองงออกสนิมน้ำหมาก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

มีคราบกรุสีเทาๆ เกาะแน่นบนผิวเคลือบอีกทีหนึ่ง

ทุกจุดจะมีสนิมน้ำหมากคลุม ทำให้น่าศึกษามาก

จากลักษณะดังกล่าว น่าจะอนุมานได้ว่า

  • 1.มีการนำดินดิบสีขาวๆ ผสมน้ำว่านมากดพิมพ์
  • 2.ผึ่งให้แห้งพอสมควรแล้วนำชัน หรือยางไม้แข็งๆสีขาวๆอมเหลืองมาเคลือบด้านหน้าเป็นหลัก
  • 3.นำแผ่นทองมาปิดรอบองค์
  • 4.นำไปอบหรือผึ่งให้แห้ง
  • 5.นำไปทำพิธี และบรรจุกรุ

เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี แผ่นทองก็ออกสนิมน้ำหมาก แทรกปนอยู่กับคราบกรุ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ที่ทำให้ดูง่ายมากๆ ในหลักการดูพระดินดิบ เนื้อ 8 ชั้น ภายใต้หลักการ 1234+8

ท่านที่สนใจพระกลุ่มนี้ก็ลองศึกษาดูครับ

หมายเลขบันทึก: 571427เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2014 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท